วิกฤตขยะเมืองน่าห่วง อึ้ง! เชียงใหม่ แหล่งกำจัดขยะไม่ถูกต้องเพียบ

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า สถานการณ์ขยะมูลฝอยติดเชื้อ ปี 2564 มีปริมาณ 90,009.23 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 87 ส่วนของเสียอัน ตรายจากชุมชนมีประมาณ 669,518 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ส่วนใหญ่เป็นซากผลิต ภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 435,187 ตัน สถานการณ์ขยะมูลฝอยในปี 2564 เกิดขึ้น 24.98 ล้านตัน ลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 1 มีการคัดแยกขยะที่ต้นทาง และนำกลับไปใช้ประโยชน์ 8.61 ล้านตัน สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ปริมาณขยะลดลง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่ในขณะเดียวกันการสั่งอาหารผ่านระบบบริการส่งอาหารด่วน ส่งผลให้ปริมาณพลาสติกใช้ครั้งเดียวเพิ่มขึ้น เช่น กล่องโฟม กล่องพลาสติกใส่อาหาร
สำหรับแนวทางการจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน จะมีการเพิ่มจุดรับของเสียอันตรายชุมชนในชุมชน และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการบริหารจัดการของเสียอันตรายจากชุมชน

ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูล ปริมาณขยะมูลฝอย(ตัน/วัน) ใน จ.เชียงใหม่ ล่าสุด พบว่าขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นมี 1,434.40 ขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ 309.10 ขยะที่ถูกกำจัดถูกต้อง 596 ขยะ ที่ถูกกำจัดไม่ถูกต้องประมาณวันละกว่า 529 ตัน/วัน ซึ่งเชียงใหม่จะมีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกต้อง 96 แห่ง จะเป็นรูปแบบการเทกองทั้งหมด และในจำนวนนี้มีสถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้องเพียง 3 แห่ง

จากจำนวนปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น 0.52 ล้านตัน ที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ 0.11 ล้านตัน กำจัดถูกต้อง 0.22ล้านตัน ปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกกำจัดไม่ถูกต้อง 0.19 ล้านตัน
” ปริมาณขยะทั่วประเทศ ต่อปีเฉลี่ย 24-26 ล้านตัน ถูกนำมาใช้ใหม่เพียง 8-9 ล้านตัน ที่กำจัดถูกต้องราวๆ 9 ล้านตัน ไม่ถูกต้องประมาณ 7-8 ล้านตัน โดยจะเป็นการเทกองรวม ฝังกลบ ส่วนขยะที่ตกค้างจะมีประมาณ 4-5 ล้านตัน/ปี สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง มี 355 แห่ง ที่ไม่ถูกต้อง 1891 แห่ง เตาเผาไม่มีระบบบำบัดมลพิษอากาศ 74 แห่ง การเทกอง 84 แห่ง เผากำจัดกลางแจ้ง 50 แห่ง สถานีขนถ่าย 28 แห่ง “
ในส่วนของ จ.เชียงใหม่ พบว่า สถานที่กำจัดขยะ ส่วนใหญ่จะเป็น บ่อ เทกอง ฝังกลบ มีขนาดแตกต่างกันไป บางท้องถิ่น มีมากกว่า 1 แห่ง เช่น ทต.แม่หอพระ มีทั้งที่บ้านป่าเลา หมู่ 1 ไร่ บ้านหัวฝาย หมู่ 3 หมู่ 5 หมู่ 8 หมู่ 9 ที่ละ ประมาณ 2 ไร่ อบต.สะลวงหมู่ 2 บ้านสะลวงใน หมู่ 3 บ้านสะลวงนอก มีประมาณ 1-2 งาน เป็นต้น ถ้ามีพื้นที่ขนาดใหญ่ก็จะเป็นของ ทต.เวียงฝาง หมู่ 13 ต.เวียงฝาง อ.ฝาง 150 ไร่ ใช้การฝังกลบบ่อขยะ อบจ.เชียงใหม่ บ้านป่าตึงน้อย หมู่ 1 ต.ป่าป้อง อ.ดอยสะเก็ด เนื้อที่ 1 ไร่ ใช้การฝังกลบ กระบวนการ
จัดการขยะถูกต้องตามเงื่อนไขกรมควบคุมมลพิษ ผู้บริหารท้องถิ่น ใน จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า การจัดการขยะครัวเรือน จะมีการจัดเก็บค่าใช้จ่าย บ้านละ 40-80 บาทต่อเดือน
ถ้าเป็น อาคาร, โรงงาน,หอพัก ก็จะมีอัตราก้าวหน้า โดยจัดเก็บตามรอบ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และต้องบรรจุถุงดำเท่านั้นจึงจะจัดเก็บ กรณีเป็นอุป
กรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หลอดไฟ ขยะอันตรายจะมีจุดรับในชุมชน
นอกจากนั้น บาง อปท. จะมีการจำหน่ายถุงดำ 5-8 บาท/ถุง เพื่อบรรจุขยะ และต้องนำมาวางจุดกำหนดหน้าบ้าน เพื่อให้รถขนขยะที่ อปท.จ้างเหมา เอกชนจัดเก็บได้สะดวก กรณีการนำขยะไปทิ้งตามที่รกร้าง ที่ดินเอกชน รวมถึงแอบเผา ก็ยังพบเห็นต่อเนื่อง และการลักลอบนำขยะมาทิ้งตามรายทาง ถนนสายหลักๆด้วย เช่น สายวงแหวน แต่ละรอบในเชียงใหม่

ร่วมแสดงความคิดเห็น