รายงานพิเศษ ไก สาหร่ายแม่น้ำโขง พืชเศรษฐกิจ และตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ช่วง 3 เดือน สร้างรายได้นับล้านบาท

สาหร่ายแม่น้ำโขง หรือที่คนในท้องถิ่นเรียกว่า ไก เป็นพืชที่นำมาปรุงอาหารทั้ง มือหัก และทานเล่น ของคนในพื้นที่ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และยังเป็นที่นิยมรับประทานของผู้ที่รู้จัก ซึ่งแต่ละปี จะมีการออกหาไก หรือที่เรียกว่า จกไก ในช่วงปลายฤดูหนาว ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ไปจนถึง เดือน เมษายน ในช่วงนี้ชาวบ้านที่อยู่ริมแม่น้ำโขงแทบจะทุกครัวเรือนจะพากันไปเก็บไก หรือจกไก เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่ไม่ต้องลุงทุน และมีเพียงปีละครั้ง

นางฉวีวรรณ พวงสมบัติ ผู้ประกอบอาชีพเกษตรริมแม่น้ำโขงและผลิตไกน้ำโขง กล่าวว่า ในปีนี้ชาวบ้านเก็บไก หรือ จกไก ได้มากกว่า หลายปีที่ผ่านมา เพระแม่น้ำโขงเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่มีน้ำไหลมานอกฤดู เนื่องจาก เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ทำให้ไม่มีการเดินเรือในแม่น้ำโขง และเขื่อนไม่ได้มีการปล่อยน้ำมาในจำนวนมากในช่วงต้นฤดูแล้ง ทำให้แม่น้ำไหลตามธรรมชาติและไม่มีมลพิษ ส่งผลให้ปีนี้มีไกเป็นจำนวนมาก ช่วงนี้เป็นฤดูของไก ที่เจริญเติบโตได้ดี ชาวบ้านมีรายได้มากกว่าหลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าช่วงก่อนฝนตกทางเหนือของแม่น้ำโขง มีน้ำนอง ทำให้ไกก็หลุดไปบ้างแต่ ระยะ 2-3 อาทิตย์นี้ ไก ออกมาใหม่ ถ้าน้ำมามากทำให้ไกหลุดออกไป ถ้าน้ำลดก็จะออกมาอีก ในช่วงนีถือเป็นเวลาทองของคนริมแม่น้ำโขง

รายได้จากการขายไก ในปีนี้พบว่า ราคาไกสดที่เก็บาจากแม่น้ำโขง จะอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 – 100 บาท โดยราคาขึ้นอยู่กับปริมาณในแต่ละช่วง หากช่วงไหนมีมากก็จะอยู่ที่ 80 บาท ช่วงไหนมีน้อยก็จะอยู่ที่ 100 บาท ส่วนไกแปรรูป หรือปรุงแล้วในแบบต่าง เช่น อบแห้งเป็นแผ่น สำหรับกินเล่นเหมือนสาหร่าย ไกตากแห้ง ไกยี สำหรับนำไปประกอบอาหาร จะอยู่ที่ประมาณ กิโลกรัมละ 200 บาท ซึ่งในปีนี้พิเศษมากเพราะมีไกมากกว่าทุกปี ครอบครัวหนึ่งถ้าช่วยกันออไปหาไก 2 คน วันละ 2 เที่ยว เช้า บ่าย จะได้รายได้ประมาณวันละ 7,000 – 8,000 บาท ต่อครัวเรือน บางรายหากมีความชำนาญในช่วงนี้เพียง 3 เดือนจะสร้างรายได้ถึง 1 ล้านบาท

สำหรับตลาดที่รับซื้อไกนั้น พบว่าเป็นที่นิยมในกลุ่มที่มีเชื้อสายชาวไทลื้อ ที่จะสั่งซื้อกันเป็นจำนวนมาก ส่งออกไปยังผู้บริโภคทั่วประเทศ และเคยส่งออกไปยังต่างประเทศด้วย นอกจากชาวไทลื้อแล้ว คนในพื้นที่จังหวัดเชียงรายเอง ก็นิยมรับประทานเช่นกัน จึงถือว่าเป็นของหายากเพราะ 1 ปีมีเพียงครั้งเดียว ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับชาวเกษตรริมน้ำโขง ที่นำมาแปรรูปเป็นสินค้า OTOP สร้างรายได้ส่งลูกหลานเรียนหนังสือ ซึ่งไกจะ

หลายปีที่ผ่านมากระแสน้ำ ขึ้น-ลง ไม่เป็นไปตามปกติ และมีความรุนแรงขึ้นจากการที่ไม่มีแก่งหินเป็นเขื่อนตามธรรมชาติทำให้ไกไม่สามารถขึ้นได้ ส่งผลให้ขาดรายได้ไปถึง กว่า 80 เปอร์เซนต์ ทำให้ชาวเกษตรริมโขงกว่า ขาดรายได้และไม่มีอาชีพ แม้ว่าจะมีไกจากแหล่งน้ำอื่นในประเทศลาวส่งเข้ามา แต่ผู้บริโภคก็ไม่กล้าที่จะซื้อมาบริโภค เพราะมีกระแสว่าแม่น้ำในประเทศลาวปนเปื้อนสารพิษ จากสารเคมีที่ใช้ปลูกไกจำนวนมากในลาว จึงทำให้ไกจากลาวไม่ได้รับความนิยมเท่าไกจากแม่น้ำโขงปัจจัยการเกิดไก ในปีนี้ที่มีมากกว่าทุกๆปี เพราะในปีนี้ไม่ค่อยมีเรือสินค้าวิ่ง ซึ่งเครื่องยนต์เรืออาจจะมีน้ำมันรั่วไหลออกมาก ทั้งน้ำมันหล่อลื่น และน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้เกิดมลพิษ ซึ่งไก จะอ่อนไหวกับมลพิษมาก จะไม่เจริญเติบโตในน้ำที่มีมลพิษ ถือเป็นอีกตัวชี้วัดคุณภาพน้ำในแม่น้ำโขง


นายจีระศักดิ์ อินทะยศ เจ้าหน้าที่โฮงเฮียนแม่น้ำโขง กล่าวว่า ไกเป็นแหล่งรายได้สำคัญของชาวบ้าน ที่สร้างรายได้โดยไม่ต้องลงทุนอะไร ทางด้านวัฒนธรรม ไก ถือเป็นอาหารที่แสดงถึงวัฒนธรรมของคนที่ผูกพันกับธรรมชาติ ในด้านการท่องเที่ยว อาหารจากไก เป็นอัตลักษณ์ และวัฒนธรรมของวิถีชีวิตคนแม่น้ำโขง และเมืองเชียงของ เมื่อมีนักท่องเที่ยวมาสัมผัส และลิ้มรสแล้วก็จะไปเป็นของฝาก ซึ่งเชียงของเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญพื้นที่หนึ่งของภารเหนือ ทำให้คนเชียงของมีรายได้จากไก ทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่หลังจากที่มีการก่อสร้างเขื่อน และการเปลี่ยนแปลงในแม่น้ำโขง ทำให้น้ำ ขึ้น – ลง ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ ประกอบกับมีเรือพานิชขยาดใหญ่เข้ามาในแม่น้ำโขง ทำให้เกิดการขึ้นลงที่ไม่เป็นปกติ และ สารเคมีปนเปื้อนจากการเกษตรริมแม่น้ำโขง ทำให้อุณหภูมิน้ำเปลี่ยนแปลงผิดปกติ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของแม่น้ำโขงโดยตรง ทำให้ไก ซึ่งอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อม ต้องเกิดในน้ำที่ใส และสะอาด ทำให้หายากมากขึ้น

ด้านนายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา นายกสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต กล่าว่า ไกถือเป็นความมั่นคงทางอาหาร และเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ ซึ่งระบบนิเวศโดยรวมหากเกิดการเปลี่ยนแปลงมีผลต่อไก ในช่วงฤดูแล้งจนถึงต้นฤดูฝน ไกเติบโตได้เพราะน้ำใส แสงแดดลอดผ่านถึงโขดหินในแม่น้ำโขงที่ประมาณ 40 เซนติเมตร โดยไกจะเกาะกับหิน ในช่วงปกติ น้ำจะใส ไกเติบโตได้ดี ปัจจุบัน น้ำขึ้นลง ผิดปกติ ไกไม่สามารถเจริญเติบโตได้ เพราะน้ำผันผวนทุกวัน ในปัจจุบันหากจะเจริญเติบโตได้ก็ขึ้นอยู่กับเขื่อนที่ไม่มีการเปลี่ยนระดับน้ำใน 1 อาทติย์อาจจะให้เกิดได้แต่ก็ไม่สมบูรณ์ เท่าระดับน้ำที่ไหลตามธรรมชาติ การที่ไกลดลงไม่เพียงทำให้ผลกระทบต่อรายได้ของประชาชน เท่านั้นยังกระทบต่อปลากินพืช เพราะเป็นอาหารของปาลากินพืชขนาดใหญ่เช่นปลาบึก ที่มีไกเป็นอาหารหลัก ทำให้ไม่สามารถหาอาหารได้ทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐาน ส่งผลให้ปลาในแม่น้ำโขงลดลงด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น