“จิรายุ” นำ กมธ.กิจการศาลฯ ลงพื้นที่ติดตามเรื่อง กฟภ. ในพื้นที่ชายแดนและชุมชนชาวเขา ภูมิลำเนาอยู่ในเขตป่าสงวน

“จิรายุ” นำคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและกองทุน สภาผู้แหนราษฎร ติดตามเรื่อง กฟภ. ในพื้นที่ชายแดนและชุมชนชาวเขา ภูมิลำเนาอยู่ในเขตป่าสงวน และส่งเสริม พัฒนา การท่องเที่ยว

เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2565 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุนสภาผู้แหนราษฎร พร้อมคณะกรรมาธิการฯ ได้เดินทางมาประชุมและตรวจราชการที่ อ.อุ้มผาง จ.ตาก โดยมีนายสวนิต สุริยกุล ณ อยุธยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก พร้อมส่วนราชการ ภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 100 ปีที่ว่าการอำเภออุ้มผาง

ในที่ประชุมเสนอเรื่อง “พิจารณาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่อำภออุ้มผางของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และติดตามความคืบหน้าการให้บริการของการไฟฟ้ส่วนภูมิภาค ในพื้นที่ชายแดนและชุมชนชาวเขา (ปกาเกอะญอ) ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตป่าสงวน และอุทยานแห่งชาติ จังหวัดตาก” ทั้งนี้เพื่อพิจารณาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด- 19 ในเขตพื้นที่ อ.อุ้มผาง พื้นที่ชายแดนและชุมชนชาวเขา ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตป่าสงวนและอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งการติดตามผลความคืบหน้าของการขยายเขตไฟฟ้าในเขตพื้นที่ อ.แม่ระมาด และ อ.ทำสองยาง จ.ตาก

ที่ประชุม มีตัวแทนพี่น้องเยาวชน บ้านแม่กลองน้อยและแม่กลองใหญ่ ต.โมรโกร อ.อุ้มผาง จ.ตาก ขอการสนับสนุนผลักดันไฟฟ้าที่บ้านแม่กลองน้อย แม่กลองใหญ่ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน และขอแสงสว่างภายในหมู่บ้าน ยังมีผู้นำท้องถิ่น ได้นำเสนอการก่อสร้างถนนสายอุ้มผางคลองลาน ผ่านคณะกรรมาธิการไปยังรัฐบาล

นายภูมิรวิชญ์ โชติธนวัฒน์ชัย ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์อุ้มผาง เปิดเผยว่า เนื่องจากเกิดการล๊อคดาวเมื่องอุ้มผาง จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เมื่อปี พ.ศ.2563-2564 ประมาณ 2 ปี ทำให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจท่องเที่ยวได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก ประกอบกับได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ เมื่อวันที่ 26 ก.ย.2564 ทำให้ผู้ประกอบการนำเที่ยว 13 ราย ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมเป็นอย่างมาก ยังไม่ได้ร่วมถึงร้านค้าอาหาร บ้านเรือนของประชาชนที่ถูกน้ำท่วมเป็นบริเวณกว้างจนถึงปัจจุบัน

บางรายต้องหยุดกิจการเพราะสูญเสียอาคารสถานที่มาก บางรายได้ฟื้นฟู ได้เป็นบางส่วนเท่านั้น ดังนั้นในนามชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและอนุรักษ์อุ้มผาง จึงมีความประสงค์ขอความอนุเคราะห์จากคณะกรรมการฯ พิจารณาให้ อ.อุ้มผาง เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวพิเศษได้ทั้งปี โดยมุ่งเน้นสร้างความยั่งยืน ดูแลครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งการจัดการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ การอนุรักษ์ทรัพยากรคุณภาพสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งทางสังคมและเศรษฐกิจ อันจะช่วยให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ กระจายเม็ดเงินสู่ชุมชนต่างๆในอำเภออุ้มผาง

นางสาวธมลวรรณ เจริญวงศ์พิสิฐ ผอ.ททท.สนง.ตาก นำเสนอผลการดำเนินงานของ ททท.สนง.ตาก ข้อการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่ อ.อุ้มผาง ในมิติด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งในพื้นที่ มีบริษัทนำเที่ยวที่ผ่านมาตรฐาน SHA Amazing Thailand Safety & Health Administration จานวน 22 ราย

การดำเนินการ 2564–ปัจจุบัน กระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่และสอดแทรกกิจกรรม “การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism)” ให้ครอบคลุมหลากหลายมิติมากขึ้น ทั้งด้าน สังคม วัฒนธรรม และ สิ่งแวดล้อม ผ่าน “ปฏิญญาอุ้มผาง” กิจกรรม Travel good Big green ผ่านกิจกรรมย่อยที่ตอบโจทย์มิติอื่นๆ มี กิจกรรมเพาะต้นกล้าคืนชีวิตให้ลำน้ำแม่กลอง ฟื้นฟูแหล่งต้นน้ำ น้ำตกทีลอซู กิจกรรมส่งรักให้น้อง กิจกรรมยาเหลือใช้ต่อลมหายใจชีวิต” กิจกรรม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ” การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบตาม“ปฏิญญาอุ้มผาง”

ทุกปัญหา นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ประธานคณะกรรมาธิการกิจการศาลฯ และคณะรับเรื่อง เพื่อพิจารณาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเขตพื้นที่ อ.อุ้มผาง ดังกล่าว และยังติดตามผลความคืบหน้า ของการขยายเขตไฟฟ้าในเขตพื้นที่ อ.แม่ระมาด และ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก เพื่อนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาส่งต่อรัฐบาลต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น