พม.ลำปาง จับมือตำรวจภูธรในพื้นที่ เร่งวางแผนแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อนทั่วเมือง และมั่วสุมยามดึก

วันที่ 1 มีนาคม 2565 เวลา 13.30 น. นาย ณรงค์ฤทธิ์ นุปิง ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดลำปาง พร้อมกำลังสายตรวจสถานีตำรวจภูธรเมืองลำปาง ลงพื้นที่บ้านท้ายเขื่อนอำเภอเมืองลำปาง ซึ่งเป็นบ้านร้าง มีชายเร่ร่อนอยู่ 2 คน คนที่ 1 ชื่อ นายพล มีภูมิลำเนา ตำบล น้ำใจ้ อำเภอแม่ทะ มีปัญหาครอบครัวไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ จึงได้สอบถาม ทราบว่าเตรียมตัวจะไปทำงานเป็นลูกจ้างเลี้ยงลูกเป็ด จังหวัดนครสวรรค์

ในวันที่ 11 มีนาคม 2565 เดินทางโดยรถไฟ ส่วนอีกราย ชื่อน่าย เอก ภูมิลำเนาชาวอำเภอเกาะคา ชอบเดินเร่ร่อนขออาหารขอเงินชาวบ้านไปวันๆ ทางเจ้าหน้าที่ได้ว่ากล่าวตักเตือน และวางแผนนำส่งกลับบ้านในวันถัดไป ในเวลาต่อมาได้ร่วมไปตรวจสอบกรณี คนเร่ร่อนเสียชีวิตที่อาคารสโมสรข้าราชการ พร้อมทีมสหวิชาชีพทุกส่วนราชการ เทศบาลนครลำปางเทศกิจกรณีข่าวกลุ่มชายเร่ร่อน มั่วสุมภายในอาคารสโมสรข้าราชการจังหวัดเก่า (ข้างสวนสาธารณะเขลางค์ฯ) หน่วยงานได้รับเเจ้งจากประชาชนว่ามีชายเร่ร่อน อาศัยอยู่ในอาคารสโมสรจังหวัดเก่า (ข้างสวนสาธารณะเขลางค์) สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในสโมสรฯ และเวลาต่อมา ลงพื้นที่สอบข้อเท็จจริงร่วมกับเจ้าหน้าที่เทศบาลฯ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่เทศกิจ

จากการลงพื้นที่พบเป็นชายเป็นบุคคลในจังหวัดลำปาง และบุคคลกลุ่มคนเร่ร่อนส่วนใหญ่มีปัญหาภายในครอบครัว และป่วยจิตเวช จึงออกมาเร่ร่อนใช้ชีวิตอิสระชอบดื่มเหล้าในพื้นที่สาธารณะในช่วงที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ จึงให้คำปรึกษา ตักเตือน และขอความร่วมมืองดการรวมกลุ่มมั่วสุม และส่งกลับภูมิลำเนา แต่ยังหลบการจับกุมเจ้าหน้าที่ เพื่อไม่ให้มาเร่ร่อนที่สโมสรฯอีก เพื่อแก้ปัญหากลุ่มคนเร่ร่อน/คนขอทานในระยะยาว ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งเทศบาลนครลำปาง และหน่วยงาน ประกอบด้วย เทศบาลนครลำปาง,สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง/สถานีตำรวจภูธรจังหวัดลำปางและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องทุกส่วนราชการ ได้ร่วมวางแผนการดำเนินการช่วยเหลือ โดยสรุปผลการหารือประเด็นสำคัญดังนี้

1.เทศบาลนครลำปางจะได้รวบรวมเอกสารสัญญาเช่าอาคาร และขออนุญาตต่างๆเร่งประสานส่งหนังสือเจ้าของบริษัทโดยด่วน เข้ามาดำเนินแก้ไขอาคารสโมสรฯ โดยทางศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ได้ประสานตำรวจภูธรอำเภอเมืองเร่งเฝ้าระวังอาคารสโมสร 24 ชม. และติดตามลงพื้นที่ติดต่อญาติ เพื่อให้กลับไปอยู่กับครอบครัว ในกรณีถ้าไม่ประสงค์กลับบ้านคืนสู่ครอบครัวได้ จะได้วางแผนเข้าสู่กระบวนการคุ้มครองช่วยเหลือ และวางแผนจัดหางานอาชีพทำประสานครอบครัวและประสานส่งต่อ เพื่อแก้ไขปัญหาคนเร่ร่อนคนขอทานหมุนเวียนในพื้นที่สาธารณะ และเพื่อความปลอดภัยของประชาชนต่อไป

ร่วมแสดงความคิดเห็น