เกษตรกรทุกข์ปุ๋ยแพง ผลผลิตถูก ต้นทุนเพิ่ม อ้างวิกฤติสงคราม-โควิดพุ่ง

กลุ่มชาวสวน ในพื้นที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า ผลผลิตในฤดูกาลที่ผ่านมา โดยเฉพาะชาวสวนส้มขนาดกลาง ทยอยไป ปลูกพืชไร่อื่นๆทดแทน เพราะแบกรับต้นทุนที่เพิ่มสูงต่อเนื่องไม่ไหว เฉพาะปุ๋ยทั่วไปสูตรเสมอ 15-15-15 ราคาตันละร่วม 20,967 บาทใน ปัจจุบัน ราคาต้นปีที่แล้ว อยู่ที่ หมื่นเศษๆ14,000-15,000 บาทเท่านั้น ” ไม่นับรวมสารบำรุง เร่งดอกออกผล และสารกำจัดศัตรูพืช ตลอดจนค่าแรงคนงาน ค่าดูแลสวน พอส้มออกมา ราคาหน้าสวน
กก.ละไม่ถึง 10 บาท ถ้าส้มไม่คัดเกรด เฉลี่ย 3-8 บาท ส่วนพวกรับไปขาย ได้ราคา 25-30 บาท คนต้นน้ำ ดูแลพืชไร่ ขาดทุนต่อเนื่อง ส่วนที่ เปิดสวนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีการแปรรูปผลผลิต เหลือดรอด ในพื้นที่ไม่กี่ราย ”

เจ้าของสวนส้ม ใน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ รายหนึ่ง กล่าวว่า ช่วงปุ๋ยขยับราคานั้น มีการเตรียมรับมือล่วงหน้า โดยการผสมผสานใช้ปุ่ยขี้วัว ขี้ไก่ จากฟาร์มปศุสัตว์ ที่ เป็นคู่ค้ากันมานานหลายรุ่น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ทางคู่ค้าแจ้งให้ทราบล่วงหน้าว่า ราคามูลสัตว์ อาจ ปรับราคาเพราะ ต้นทุนการเลี้ยงสูง จากราคาอาหาร สัตว์ ที่ ขาดแคลน เป็นผลมาจากการนำเข้าของโรงงาน มีน้อย เพราะต้นทาง ได้รับผลกระทบจากสงคราม ขณะนี้เกษตรกร ปลูกพืชไร่ อ.ป่าซาง ลำพูน เปิดเผยว่า ราคาปุ๋ย ที่ เพิ่มสูงต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตมาก

เนื่องจากช่วงต้นปีที่ผ่านมา เปรียบเทียบราคาปุ๋ยแต่ละสูตร ในช่วงเวลาเดียวกัน ราคาขยับเพิ่ม ไม่มีลง เช่น สูตร15-15-15 ทางร้านแจ้งราคาส่งที่ 14,567 บาท/ตัน พอปลายปี ขยับมาที่ 20,317 บาท เดือนมค. พุ่งอีก 5-6 ร้อยบาท ถ้าคิดเกณฑ์ ราคาทั่วไปเป็นกระสอบๆ( 50 กก) ละ 450-1,700บาทแล้วแต่ยี่ห้อและรูปแบบการซื้อขายด้วย


“บางสหกรณ์ บางกลุ่มเกษตร มีกิจกรรม โครงการ แบบเกษตรพันธะสัญญา ที่พวกฝ่ายการตลาดเสนอ สมาชิก กลุ่มเกษตรในพื้นที่ ทั้งเมล็ดพันธุ์, สินค้า ราคาขายสด ปล่อยเครดิต ลองสอบถามชาวไร่ ชาวสวน จะทราบว่า ผลตอบแทนที่ได้ มีทั้งขาดทุน และพอเหลือกำไรบ้าง ช่วงสถานการณ์โควิด และมากล่าวอ้างวิกฤติสงคราม เป็นปัจจัยส่งผลให้ ราคา ปุ๋ย ,อาหารสัตว์, เคมีภัณฑ์ รวมถึงค่าขนส่ง ค่าแรง จ้างเหมาปรับตัวแบบนี้ เกษตรกรคงทุกข์หนัก ลำบากกว่าเดิม”

ที่มาข่าวสอบถาม กรรมการบริหาร สหกรณ์ หลายแห่งในพื้นที่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ เกี่ยวกับราคาปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ ระบุว่า โควต้าปุ๋ย ที่สหกรณ์ แต่ละแห่งได้รับจัดสรรมา จะมีราคาถูกกว่าท้องตลาด 20-40 บาท ซึ่งโควต้าที่ได้ แตกต่างกันไป ตามจำนวนสมาชิกของ สหกรณ์ ซึ่งนอกเหนือจากต้นทุนค่าปุ๋ยแล้ว อย่าลืมว่า ต้นทุนผันแปรอื่นๆ ยังมีอีก ไม่ว่าจะเป็น ค่าเช่าพื้นที่ ค่ารถไถพรวน ค่าแรงงาน ดังนั้นภาพที่ปรากฎตามสื่อสังคม ตั้งแต่ชาวสวนส้ม นำผลผลิต ไปเททิ้ง โดยอ้างว่าเป็น สวนแห่งหนึ่งในพื้นที่เชียงใหม่ หรือ ราคาผลผลิตไม่คุ้มทุนการปลูก เช่น หอมแดง ตอนนี้ 4-5 โล ร้อยแล้ว ปรากฎการณ์ เหล่านี้ เกิดขึ้น ทุกฤดูกาล อยากฝากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งหาทาง รับมือ แก้ไขด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น