โบรกเกอร์ Forex ในไทย (Thaiforexbroker) ผิดกฎหมายไหม

“การเปิดโบรกเกอร์ Forexในประเทศไทย ไม่สามารถทำได้ ผิดกฎหมาย แต่การลงทุนเทรด Forex กับโบรกเกอร์ต่างประเทศ อยู่นอกเหนือความคุ้มครองจากหน่วยงานรัฐในประเทศไทย สามารถทำได้”


เรื่องกฎหมาย Forex ที่นักเทรดต้องรู้

การที่บุคคลทั่วไปในประเทศไทย ยังไม่สามารถเปิดโบรกเกอร์ Forex ได้ กฎหมายไม่รองรับ ถือว่า ผิดกฎหมาย แต่เทรดผ่าน โบรกเกอร์ Broker ที่อยู่ในต่างประเทศนั้น ไม่ได้ผิดกฎหมาย จึงสามารถทำได้โดยชอบธรรม ไม่มีข้อห้ามสำหรับธุรกรรมดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่งนักลงทุนต้องรับความเสี่ยงให้ได้ จึงมีความจำเป็นที่ต้องเลือกลงทุนกับ Broker ที่มีใบอนุญาต เพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือ ในการเลือกโบรกเกอร์ Forex เรียกง่ายๆว่า “ไม่ผิดกฎหมาย และไม่โดนโกง” นั้นเอง

ข้อสังเหตุ
1. กรณีเป็นการให้ความรู้ เสนอข่าวสารที่เป็นประโยชน์
ลักษณะของการสอน หรือการอบรมต่างๆ เพื่อให้เกร็งกำไร สร้างเงิน ในตลาด Forex ได้ และไม่มีการระดมทุนใดๆ ถือว่าเป็นการให้ความรู้ในการลงทุน ย่อมไม่ผิดกฎหมาย

2. กรณีเป็นผู้ชักชวน/ชักจูง/จัดระดมทุน
ลักษณะชักชวนให้นำเงินมาลงทุน ฝากเทรด จะจ่ายผลตอบแทนที่สูงมากกว่าธนาคารไทย จนเกินความเป็นจริง หรือการจัดระดมทุน โดยไม่ได้รับอนุญาตที่ถูกต้องทุกกรณี ถือว่าผิดกฎหมายในประเทศไทย (อ้างอิง: “พรก การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 4 วรรคสอง เกี่ยวกับการระดมทุน”)

3. สิ่งที่ผิดกฎหมายในประเทศไทยอย่างชัดเจน
การระดุมทุน, เปิดโบรกเกอร์ Forex, แชร์ลูกโซ่, การรับประกันผลกำไร เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้และผิดกฎหมาย

ประเด็นกฎหมาย Forex ที่ถูกให้ความสนใจ

1. การอยู่นอกเหนือความคุ้มครองจากหน่วยงานรัฐในประเทศไทยนั้น

คือ ผู้ลงทุนเทรด Forex ผ่าน Broker ในต่างประเทศ แล้วมีการโดนโกงในทุกกรณี ที่จัดว่าเป็นความเสียหายทั้งสิ้น นักลงทุนแต่ละคน จะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งหมดเอง ไม่สามารถร้องเรียนให้กฎหมายในประเทศไทยคุ้มครองได้เลย

แต่หากจะฟ้องร้อง Broker ผู้ฉ้อโกงสามารถทำได้ ซึ่งก็อาจต้องไปเดินเรื่องเอง กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศที่เราลงทุนด้วย และแน่นอนว่า!! ต้องเสียเวลา จะมีความวุ่นวายเกิดขึ้นทันที อีกทั้งยังไม่มีการการันตีว่า จะได้เงินคืนด้วย หากหน่วยงานที่รองรับไม่ได้มาตราฐานสากล ทั้งหมดนั้นเป็นเพราะว่า “นักลงทุนเอง ซึ่งผิดพลาดเรื่องการตรวจเช็คข้อมูลกับหน่วยงานที่รองรับ Broker ที่ไม่ได้มาตรฐาน”

2. ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (พ.ร.บ.ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน)
“จากการศึกษาของ สศค. และธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าใจว่า การลงทุนเพื่อ เก็งกำไรดังกล่าวไม่ได้มีการซื้อ-ขายเงินตราต่างประเทศโดยตรง แต่เป็นเพียงกระบวนการที่เกิดขึ้นในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีแม่ข่ายอยู่ในต่างประเทศ และผลการดำเนินการจะมีการชำระบัญชีของส่วนต่างที่เป็นผลกำไรหรือขาดทุนเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายใดรองรับ ดังนั้น หากนักลงทุนต้องการดำเนินธุรกรรม ในลักษณะดังกล่าว อาจมีความเสี่ยงทั้งจากความเสียหายจากการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนและการผิดนัดชำระเงินคืน” (อ้างอิง: ข้อมูลจากเว็บไซต์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง)


ใบอนุญาต Forex ที่น่าเชื่อถือ

ได้แก่ FCA, CySEC, ASIC, IFSC หน่วยงานที่กำกับดูแล ตรวจสอบการเงิน และการดำเนินธุรกิจ

และคอยช่วยเหลือชดเชยผลประโยชน์ต่างๆ ที่สูญเสียไป ถ้าหากโบรกเกอร์ Forex นั้น หนีหายหรือปิดตัวลง

ข้อสรุป

ถ้าเราเริ่มสงสัยกฎหมาย Forex แล้ว แน่นอนว่า!! เราคงเป็นเทรดเดอร์คนหนึ่งที่กำลังพัฒนา และอยากรวยจากการเทรด แต่คงไม่มั่นใจว่าถ้าลงทุนไปแล้ว จะเอาเงินเก็บที่มีมาทิ้งกับตลาด Forex หรือเปล่า จากข้อมูลข้างบนที่กล่าวมาทั้งหมด คงช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบเองได้ และมั่นใจได้มากขึ้น

การที่บุคคลทั่วไป จะเทรด Forex ผ่านโบรกเกอร์ต่างประเทศ โดยมีจุดประสงค์ เพื่อเก็งกำไรนั้น ทำได้ ไม่ผิดกฎหมายในประเทศไทย แต่ต้องรับความเสี่ยงที่จะถูกโบรกเกอร์ต่างประเทศโกงได้ ดังนั้น ควรเลือกโบรกเกอร์ที่มีความมั่นคง น่าเชื่อถือ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว

ร่วมแสดงความคิดเห็น