รมว.กษ. พร้อมคณะติดตามผลการดำเนินงานผลผลิตสารสกัดจากกระท่อม ส่งเสริมปลูกพืชกระท่อมในเชียงใหม่

รมว.กษ. พร้อมคณะติดตามผลการดำเนินงานผลผลิตสารสกัดจากกระท่อม ส่งเสริมปลูกพืชกระท่อมในเชียงใหม่ และลงพื้นที่ติดตามเกษตรกรแปลงใหญ่ ผลักดันเกษตรกรรุ่นใหม่เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)

เมื่อเวลา 10.00 น. ของ​วันที่​ 20 มีนาคม​ 2565 ที่​ศูนย์​วิทยา​ศาสตร์​และเทคโนโลยี (ภาค​เหนือ)​ มหาวิทยาลัย​เชียงใหม่​ ต.แม่เหียะ อ.เมือง​ จ.เชียงใหม่​ ดร.เฉลิม​ชัย​ ศรี​อ่อน รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​เกษตร​และสหกรณ์​ พร้อมคณะที่ได้เดินทางมาตรวจ​เยี่ยม​และประชุมติดตาม​ผลการดำเนินงาน​ผลผลิต​สารสกัดจากกระท่อม​ ร่วมกับสมาคม​พืชกระท่อม​แห่งประเทศไ​ทย โดยการประชุม​มีทั้งการสรุปรายงานผลการดำเนินการ​ นอกจากนี้ ดร.เฉลิม​ชัย ศรีอ่อน ได้ให้นโยบาย​แนวทางการพัฒนาแก่สมาคมพืชกระท่อม​แห่ง​ประเทศไ​ทย

ดร.เฉลิม​ชัย​ ศรี​อ่อน​ กล่าวว่า ในวันนี้มาลงพื้น​ที่​เพื่อมองถึงศักยภาพ​ของเกษตรกร​ในพื้นที่ภาคเหนือ​ โดยเฉพาะ​จังหวัด​เชียงใหม่​ ที่เกษตรกรมีความรู้ความสามารถ​ในการทำการเกษตร​อยู่แล้ว จึงเหมาะที่จะนำพืชกระท่อม​มาเป็นพืชเศรษฐกิจ​ใหม่ โดยจากฟังการสรุป​จากที่ประชุม​ มองแล้วมีศักยาภาพสาทารถทำได้ ทั้งการเป็นต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ นอกจากนี้จะติดตามผลการทำงานในโครงการ สมาร์ทฟาร์ม​เมอร์​ เพื่อพัฒนา​ศักยภาพ​ให้กับเกษตร​กรในพื้นที่​ เชื่อว่าองค์ความรู้ทั้งหมดจะมาประยุกต์​รวมกัน ทำให้การเกษตร​ของประเทศไทย​พัฒนาขึ้นไปอีกขั้น แฃะสร้างมูลค่าเพิ่ม​ให้กับประเทศ​

ต่อมา ดร.เฉลิม​ชัย​ ศรี​อ่อน รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​เกษตร​และสหกรณ์​ พร้อมคณะได้เดินทางลงพื้นที่พบปะกลุ่มเกษตรกรและกิจกรรมแปลงใหญ่ พร้อมผลักดันเกษตรกรรุ่นใหม่เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ณ เทอมวลัยฟาร์ม ต.หนองตอง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ โดยมี ว่าที่ ร.ต.บำรุงเกียรติ วินัยพานิช นายอำเภอหางดง นายสุดชาย พรหมมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1 นายจรินทร์ คงศรีเจริญ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ นายภูวเมศฐ์ อัศวมงคลพงษ์ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทานโครงการชลประทานเชียงใหม่ นายพร้มพงศ์ บริพันธ์ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1 โครงการชลประทานเชียงใหม่ และเกษตรกรในพื้นที่ให้การต้อนรับ จากนั้นได้เดินทางไปยังศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านป่าลาน (กลุ่มแปลงใหญ่ลำไย) เพื่อเปิดศูนย์เรียนรู้ฯ อย่างเป็นทางการ

ดร.เฉลิม​ชัย​ ศรี​อ่อน รัฐมนตรี​ว่าการ​กระทรวง​เกษตร​และสหกรณ์​ กล่าวว่า การผลักดันเกษตรกรรุ่นใหม่เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) ผู้ประกอบการเกษตร และกิจกรรมแปลงใหญ่ เป็นแนวทางต่อยอดเพื่อพัฒนาเกษตรกรเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตร ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันภายใต้แนวทางการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทย ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ 15 นโยบายหลัก โดยครอบคลุมถึงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร อาทิ เช่น นโยบายการสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันเกษตรกร และเศรษฐกิจฐานราก และนโยบายการส่งเสริมสถาบันเกษตรกรผู้ประกอบการ และ Start Up เป็นต้น

ด้าน นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า การเดินทางพบปะกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ลำไยในวันนี้ เพื่อให้กำลังใจและเยี่ยมชมการดำเนินกิจกรรม พร้อมมอบนโยบายแนวทางขับเคลื่อนโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านป่าลาน (กลุ่มแปลงใหญ่ลำไย) หมู่ที่ 4 ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้เข้าร่วมโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในนาม ห้างหุ้นส่วนจำกัดแปลงใหญ่ลำไยคุณภาพหนองตอง มีสมาชิก 154 ราย พื้นที่ปลูก 985 ไร่ ซึ่งทางกลุ่มได้นำงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการยกระดับแปลงใหญ่ฯ จำนวน 2.8 ล้านบาท มาใช้สร้างอาคารคัดบรรจุผลผลิต อาคารรับซื้อผลผลิต และจัดซื้ออุปกรณ์ที่จำเป้น ซึ่งช่วยให้การทำงานของกลุ่มมีความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด มีเป้าหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตให้กับกลุ่มแปลงใหญ่ที่มีศักยภาพ และมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสม และยกระดับการผลิตไปสู่สินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากงบประมาณที่กลุ่มแปลงใหญ่จะได้รับการสนับสนุนตามที่เสนอขอแล้ว กรมส่งเสริมการเกษตรยังได้สนับสนุนองค์ความรู้ด้านการพัฒนาศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งในการบริหารธุรกิจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงพัมนาคุณภาพผลผลิตให้มีมาตรฐาน และมีระบบตลาดที่แน่นอน

นางสาวรัตฑณา จันทร์คำ ประธานกลุ่มแปลงใหย่ลำไยตำบลหนองตอง กล่าวว่า จากที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนเพื่อจัดซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือที่จะเป็นจากโครงการยกระดับแปลงใหญ่ฯ ส่งผลให้ที่ผ่านมา ทางกลุ่มสามารถช่วยเกษตรกรผู้ปลูกลำไยให้ผ่านช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้เป็นอย่างดี สามารถรวบรวมและกระจายผลผลิตสดออกสู่ตลาด มูลค่าไม่ต่ำกว่า 16 ล้านบาทต่อปี และมีรายได้ที่แน่นอน

ร่วมแสดงความคิดเห็น