(มีคลิป) ทนายฝ่ายภรรยาพ่อเลี้ยงปางช้างแถลงโต้ ปมพินัยกรรมพันล้านปางช้างแม่สา

เรื่องราวทางคดีพนัยกรรมการจัดการมรดกของปางช้างแม่สา ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 3 ปี หลังจากที่พ่อเลี้ยงชูชาติ กัลป์มาพิจิตร ผู้ก่อตั้งปางช้างแม่สาได้เสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และฝ่ายลูกสาว คือนางอัญชลี กัลมาพิจิตร มีการใช้สื่อสร้างกระแสดราม่าเกี่ยวกับการบริหารงานปางช้างฯ หลายครั้ง ว่าขาดทุนในการบริหาร เนื่องจากปมจัดการพนัยกรรมมรดกนับพันล้านบาท ที่ยังคงฟ้องร้องในชั้นศาลฏีกา ล่าสุดทนายฝ่ายภรรยาใหม่ ที่มีชื่อเป็นผู้จัดการมรดกออกมาพูดในเรื่องดังกล่าวตอบโต้

ขณะที่ล่าสุดวันนี้ (23 มี.ค.65) นายอัคคพาคย์ อินทรประพงศ์ ทนายความส่วนตัว และที่ปรึกษาทางกฎหมาย ของนางฐิติรัตน์ กัลมาพิจิตร ภรรยาของนายชูชาติ กัลมาพิจิตร ได้นัดสื่อแถลงข้อเท็จจริงในการจัดการเรื่องทรัพย์สินตามพินัยกรรมของนายชูชาติฯ ผู้ก่อตั้งเจ้าของ และอดีตผู้บริหารปางช้างแม่สาผู้ล่วงลับ รวมทั้งสถานการณ์ความคืบหน้า กรณีความขัดแย้งในการบริหารปางช้างแม่สา ซึ่งกำลังเกิดข้อพิพาท

นายอัคคพาคย์ฯ ทนาย กล่าวว่า ปัญหาเกิดขึ้นจาก นางอัญชลี กัลป์มาพิจิตร ลูกสาวของนายชูชาติฯ ได้เปิดเผยกับสื่อว่าฝ่ายนางฐิติรัตน์ ไม่ดำเนินการเรื่องจัดการมรดกให้เรียบร้อย ทำให้ปางช้างฯ มีปัญหาเรื่องการเงินขาดสภาพคล่องในการบริหารงาน ซึ่งพบว่าไม่เป็นความจริงดังที่กล่าวมา เนื่องจากผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ที่ทำไว้เมื่อ 11 กันยายน 2561 (เสียชีวิต 21 มกราคม 62) คือ นางฐิติรัตน์ กัลมาพิจิตร เป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว

โดยหุ้นในปางช้างมีทั้งหมด 50,000 หุ้น นายชูชาติถือไว้ 18,000 หุ้น และตกเป็นของนายเชิดศักดิ์ บุตรชาย 10,000 หุ้น และอีก 8,000 หุ้นให้กับนางฐิติรัตน์และนายพิจิตร บุตรชาย ซึ่งหุ้นของนายชูชาติไม่ได้ระบุว่าให้ตกอยู่กับนางอัญชลี กัลมาพิจิตร นอกจากนี้ยังมีหุ้นในบริษัท รินลดารีสอร์ท และบริษัท น้ำดื่มเอเล่ ที่ก่อตั้งอีกและมอบให้กับบุตรชายทั้งสองคน ส่วนนางอัญชลีไม่มีหุ้นใดๆในบริษัท เนื่องจากถูกนายชูชาติสั่งถอนหุ้นในปางช้าง 5,000 หุ้น เมื่อปี 61 เนื่องจากมีปัญหาในการบริหารงาน และออกไปตั้งปางช้างชื่อว่า ปางช้างเอเล่

นายอัคคพาคย์ฯ ยังกล่าวว่า ตั้งแต่นายชูชาติเสียชีวิตลง นางอัญชลี ได้พยายามหาทางเข้าบริหารปางช้างโดยใช้หุ้นในส่วนของน้องชาย จนเข้าไปบริหารทั้งสามบริษัทได้สำเร็จเพียงผู้เดียว จากนั้นมีการไล่พนักงานที่ทำงานกับฝ่ายนางฐิติรัตน์ ออกจากงานไปนับ 10 ชีวิต รวมทั้งมีการระงับการจ่ายเงินเดือนให้กับนางฐิติรัตน์ ในฐานะกรรมการบริษัทโดยตำแหน่ง เดือนละ 180,000 บาท รวมจนถึงขณะนี้ค้างจ่ายมากว่า 5-6 ล้านบาทแล้ว และมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานในปางช้างหลายอย่าง จนขาดทุนและมีช้างล้มต่อเนื่อง

นอกจากนี้มีการฟ้องร้องกันไปมากว่า 15-16 คดี บางคดีมีการปราณีประนอมยอมความ และมีค้างที่ศาลอีก 4-5 คดี โดยเฉพาะคดีสำคัญคือนางอัญชลีฟ้องคดีการจัดการเรื่องทรัพย์สินตามพินัยกรรม ซึ่งอยู่ระหว่างชั้นศาลฎีกา

นายอัคคพาคย์ฯ กล่าวเสริมอีกว่า ปัญหาคือนางอัญชลีฟ้อง เพราะต้องการเป็นผู้จัดการมรดกเอง แต่พฤติกรรมนางอัญชลีตั้งแต่คุณพ่อคือนายชูชาติล้มป่วยตั้งแต่เมื่อปี 59 นางอัญชลีไม่เคยไปเยี่ยมเยือนแม้แต่ครั้งเดียว แม้แต่วันทำพิธีศพก็ยังไม่ปรากฏตัวไปแสดงความเสียใจ อีกทั้งขณะนี้ร่างของนายชูชาติที่จะเก็บไว้จนครบ 5 ปี นางอัญชลีก็ยังไม่เคยไปเคารพศพ แบบนี้ถือว่ารักพ่อแบบไหน การออกมาคุยกับสื่อฯ ต้องการให้สังคมรับรู้ความจริงในเรื่องดังกล่าว และจะรอการตัดสินของศาลฎีกา ซึ่งทางฝั่งนางนฐิติรัตน์ ก็ต้องการให้เรื่องนี้จบลงด้วยดี

ร่วมแสดงความคิดเห็น