ถามหาความชัดเจนเล่นสงกรานต์ เที่ยวชุมชนหวังปี๋ใหม่เมือง กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น

กลุ่มผู้ประกอบการ ใน จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยืดเยื้อมายาวนาน และมีมาตรการทางสาธารณสุขในการควบคุม ป้องกันอย่างต่อเนื่อง น่าจะส่งผลต่อการปรับทิศทางบริหารจัดการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ ศบค.ถอดบทเรียนที่ผ่านๆ มา สู่การตัดสินใจ ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรม โครงการที่กระตุ้นเศรษฐกิจ สังคมหลากหลายขึ้น

“ขณะนี้ผู้ค้าขาย ตามแหล่งค้าชุมชน ตลอดจนกิจการที่เกี่ยวเนื่องในภาคบริการ ภาคการท่องเที่ยวเกือบทุกอำเภอ ในเชียงใหม่ แทบไม่มีความมั่นใจ ในแนวทางที่ส่งสัญญานบวกในการจัดงาน จัดกิจกรรมช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือปี๋ใหม่เมืองเลย ว่าความชัดเจน บทสรุปจะออกมาในรูปแบบใดเพราะอีกไม่เกิน 1 สัปดาห์ ก็จะเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชุมชน แหล่งท่องเที่ยว พื้นที่ต่างๆ จะมีกิจกรรม งานประเพณีของท้องถิ่น ทั้งวิถีชุมชนปี๋ใหม่เมือง การแห่ไม้ค้ำ การบวชหรือ ปอย-ปอยส่างลอง-กาดนัด ตลาดชุมชนปี๋ใหม่เมือง เป็นต้น เพราะเมื่อสอบถามผู้บริหาร
ท้องถิ่น ส่วนใหญ่ก็ต้องรอศบค.อนุมัติ ซึ่งระดับอำเภอ ต้องถามไปทางจังหวัด ตามขั้นตอน ท้ายที่สุดก็ต้องรอ ศบค.ชุดใหญ่ฟันธง จนป่านนี้ก็ยังไม่มีบทสรุปว่า ท้องถิ่น ชุมชนต่างๆ จะจัดงานสงกรานต์ได้ระดับไหน เล่นสงกรานต์ ในรูปแบบใด ที่ไม่ผิดกฎกติกาที่ ศบค.กำหนดไว้”

ด้านผู้บริหารท้องถิ่น ในพื้นที่ลำพูน, เชียงใหม่ เปิดใจว่า เห็นด้วยกับแนวทาง การเคลื่อนไหวของสมาคมผู้ประกอบธุรกิจถนนข้าวสาร เปิดเผยว่า กลุ่มเครือข่ายผู้ประกอบการถนนคนเดิน ตามแหล่งท่องเที่ยว ที่เป็นผู้ประกอบการในถนนข้าวสาร ถนนคนเดินในเชียงใหม่ ภูเก็ต และพัทยา เป็นต้น ร่วมกันลงชื่อและจัดทำเอกสารยื่นถึงศูนย์ ศบค. ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในวันที่ 24 มีนาคมนี้ เพื่อขอให้ ศบค.ผ่อนปรนให้พื้นที่ถนนคนเดินสามารถจัดกิจกรรมเล่นน้ำได้เหมือนเทศกาลสงกรานต์ที่เคยกระทำกันมา

นายกเทศมนตรีตำบล หลายแห่งใน อ.ป่าซาง จ.ลำพูน กล่าวว่า ยอมรับ การชลอกิจกรรม การจัดงาน ประเพณี ประจำท้องถิ่น กระทบต่อวิถีชีวิตชุมชนมากเนื่องจากงานเทศกาลต่างๆที่เคยจัดนั้น สร้างรายได้สู่ชุมชนไม่น้อย และการงดจัดงาน ติดต่อกันมาร่วม 3 ปี ทำให้กิจการ ร้านค้าที่ยึดโยงกับเทศกาลสำคัญๆได้รับผลกระทบหนัก ทั้งนี้ผู้ประกอบการ ผ้าพื้นเมือง ใน ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน กล่าวว่า ปกติช่วงปี๋ใหม่เมืองจะเป็นช่วงทำรายได้่ และก่อนเมษษยน
จะมีคำสั่งซื้อ ผ้าพื้นเมือง งานผ้า หลากรูปแบบ ทั้ง เสื้อผ้า ,งานตัดเย็บผลิตภัณฑ์ ที่ใช้รดน้ำดำหัว เป็นของขวัญ ของฝาก ลดน้อยลงกว่าเดิม ติดต่อกันหลายปี อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารท้องถิ่น ใน อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า การจัดงานประเพณี ที่เคยมีแผนปฏิบัติทั้งการจัดเจ้าหน้าที่และจุดคัดกรองก่อนเข้าพื้นที่ แผนการดูแล และ จำกัดจำนวนผู้ร่วมงาน เป็นแนวทางที่ ศบค. อำเภอ รับทราบ และเข้าใจวิถีชุม แต่การตัดสินใจ อนุมัติ จัดงานที่ใหญ่ๆ ต้องมีขั้นตอน ตามรูปแบบที่จังหวัดกำหนด

“การผ่อนปรนจัดกิจกรรมเล่นน้ำ ช่วง 12-15 เมษายน และการจัดถนนคนเดิน จัดเทศกาลเล่นน้ำสาดน้ำและบันเทิงจะเป็นการสร้างบรรยากาศเที่ยวสงกรานต์และดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้ ซึ่งเชียงใหม่ ตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ ที่ มีแหล่งน้ำ จะพบว่ามีผู้คน หนาแน่น หากจะสุ่มเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด เป็นคลัสเตอร์ใหญ่ๆ ก็คงเกิดขึ้นตั้งแต่ มี.ค. แล้ว ไม่ใช่เน้นไปที่ เม.ย.ว่า อาจจะเกิดการแพร่ระบาดหนักเพราะผู็คนส่วนใหญ่ที่ไปเที่ยว ไปพักผ่อน ต่าฃงระมัดระวังป้องกัน อีกทั้งชุมชน มีการจัดชุด อสม. เจ้าหน้าที่,จิตอาสา ร่วมดูแลใกล้ชิด ไม่น่ากังวล”

ร่วมแสดงความคิดเห็น