ปภ.แนะเลือก-ตรวจสอบ-ดูแลยางรถยนต์ถูกวิธี ห่างไกลอุบัติเหตุยางระเบิด

ยางรถยนต์เป็นอุปกรณ์สำคัญในการเดินทาง ซึ่งบ่อยครั้งมักเกิดอุบัติเหตุยางระเบิด ทำให้ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะการเลือกใช้ ตรวจสอบ และดูแลรักษายางรถยนต์อย่างถูกวิธี ดังนี้

การเลือกใช้ยางรถยนต์

  • เลือกยางใช้งานบนถนนเรียบ ยางที่มีดอกยางละเอียด ร่องยางแคบและถี่ จะช่วยยึดเกาะถนนและมีประสิทธิภาพในการรีดน้ำมากขึ้น
  • เลือกใช้ยางให้เหมาะกับสภาพรถ ลักษณะการใช้งาน และสภาพเส้นทาง รวมถึงมีขนาดเดียวกับยางที่ติดตั้งมากับรถ
  • เลือกใช้ยางที่มีรุ่นและขนาดเดียวกันทั้ง 4 เส้น โดยเปลี่ยนยางทุกๆ 2 ปี หรือทุกระยะทาง 50,000 กิโลเมตร
  • เลือกใช้ยางที่มีขนาดพอดีกับเส้นรอบวงของยาง โดยมีขนาดใกล้เคียงกับมาตรฐานเดิม หรือขนาดของล้อแม็ก
  • เลือกยางใช้งานบนถนนขรุขระหรือลุยโคลน ยางที่มีดอกยางขนาดใหญ่ และร่องยางห่าง เพื่อช่วยสกัดโคลน หิน หรือน้ำไม่ให้ไปติดตามดอกยางและร่องยางเติมแรงดันลมยางรถยนต์ถูกต้อง
  • ตรวจสอบแรงดันลมยางอยู่เสมอ หรืออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยใช้เกจ์วัดลมยางที่ได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อน กรณีเดินทางไกลควรเติมลมยางให้มากกว่าปกติ 3-5 ปอนด์
  • เติมแรงดันลมยางตามค่ามาตรฐานขณะที่ยางเย็นตัว จะได้ค่าแรงดันลมยางที่ถูกต้อง หากเติมหลังขับรถหรือขณะที่ยางยังมีความร้อน จะได้ค่าแรงดันลมยางสูงกว่าปกติ
  • กรณีบรรทุกสิ่งของ ให้เติมแรงดันลมยางเพิ่มขึ้น 2-3 ปอนด์ เพื่อป้องกันหน้ายางบิดตัวและสัมผัสกับพื้นถนนมากกว่าปกติ ทำให้ยางเกิดความร้อนหรือเนื้อยางเป็นรอย อาจส่งผลให้ยางระเบิดได้
  • การขับรถช่วงฤดูฝน ให้ปรับลดการเติมแรงดันลมยางลง 2-3 ปอนด์ เพื่อให้หน้ายางสัมผัสพื้นถนนได้มากขึ้น
    จะช่วยป้องกันอุบัติเหตุจากการลื่นไถล

การดูแลรักษายางรถยนต์

  • ตรวจสอบยางให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ทั้งดอกยาง เนื้อยาง และแรงดันลมยาง
  • สลับยางรถยนต์ทุกระยะทาง 10,000 กิโลเมตร จะช่วยลดการสึกหรอ และทำให้หน้ายางเรียบเสมอกันทั้ง 4 เส้น
  • ตรวจสอบระบบช่วงล่างและตั้งศูนย์ถ่วงล้อให้สมดุล เพื่อป้องกันแรงเสียดทานและการลื่นไถล รวมถึงการรองรับน้ำหนักที่ไม่สมดุล ทำให้ยางได้รับความเสียหายได้

ลักษณะยางรถยนต์ที่เสื่อมสภาพ

  • สภาพยาง เนื้อยางแข็งกระด้าง ไม่ยืดหยุ่น มีรอยปริ ปูด บวม หลุดร่อน ร่องยางตื้น ไม่มีดอกยางหรือดอกยางโล้น
  • ลมยาง แรงดันลมยางอ่อนกว่าค่าที่กำหนด ทำให้ต้องเติมลมยางบ่อยครั้ง หรือเติมลมยางไม่เข้า
  • ความผิดปกติของรถ รถมีอาการสั่นควบคุมบังคับทิศทางยากกว่าปกติ โดยเฉพาะขณะเลี้ยวหรือเข้าโค้ง
    สาเหตุทำให้ยางเสื่อมสภาพเร็ว ขับรถด้วยความเร็วสูง บรรทุกน้ำหนักมากเกินไป เบรกหรือเลี้ยวกะทันหัน ออกรถด้วยความเร็วสูง ขับรถบนนเส้นทางขรุขระหรือเป็นหลุมบ่อ ขับรถเบียดขอบทางเท้า จอดรถอยู่กับที่หรือจอดรถกลางแดดเป็นเวลานาน ใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีสารกัดกร่อนเนื้อยาง

ทั้งนี้ การเลือกใช้ยางรถยนต์ให้เหมาะสมกับการใช้งานและสภาพเส้นทาง การหมั่นตรวจสอบและดูแลยางอยู่เสมอ การเติมแรงดันลมยางตามค่ามาตรฐานที่กำหนด จะช่วยยืดอายุการใช้งานของยางและลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุยางระเบิด

ร่วมแสดงความคิดเห็น