ปภ.แนะตรวจสอบรถ – แก้ไขเหตุฉุกเฉิน

ปภ.แนะตรวจสอบรถ – แก้ไขเหตุฉุกเฉิน…ขับรถช่วงฤดูร้อนปลอดภัย

การขับรถท่ามกลางแสงแดดแรงจัดในช่วงฤดูร้อน ประกอบกับสภาพอากาศร้อนจัด ส่งผลให้อุปกรณ์ประจำรถเสื่อมสภาพได้ง่ายกว่าปกติ จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย

โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะการตรวจสอบสภาพรถและการแก้ไขเหตุฉุกฉินในการขับรถช่วงฤดูร้อน ดังนี้
ระบบระบายความร้อน

  • หมั่นตรวจสอบหม้อน้ำ ท่อยาง และปั๊มน้ำ ไม่ให้มีรอยรั่ว พัดลมหม้อน้ำไม่แตกหักหรือเสื่อมสภาพ
  • เติมน้ำในหม้อน้ำให้อยู่ในระดับที่กำหนด และสังเกตเข็มวัดระดับความร้อนบนหน้าปัดรถยนต์ เพื่อป้องกันความร้อนขึ้นสูง ทำให้เครื่องยนต์ร้อนจัดและเสียหายยางรถยนต์
  • ตรวจสอบยางให้อยู่ในสภาพปลอดภัย เพราะอุณหภูมิผิวถนนที่สูงกว่าปกติ ทำให้ยางบวมและเสี่ยงต่อการระเบิด
  • เติมลมยางให้มากกว่าปกติ จะช่วยป้องกันการบิดตัวของแก้มยาง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดยางระเบิด

    แบตเตอรี่
  • ตรวจสอบแบตเตอรี่ให้เก็บประจุไฟฟ้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ไม่มีรอยแตกร้าว ขั้วแบตเตอรี่ไม่สกปรก เพื่อให้พัดลมหม้อน้ำสามารถระบายความร้อนได้เต็มที่
  • หลังจากสตาร์ทรถไม่ควรออกรถในทันที ควรรอสักพัก เพื่อให้เครื่องยนต์คลายความร้อนลง จึงค่อยออกรถ

เหตุฉุกเฉินที่มักเกิดในช่วงสภาพอากาศร้อน
กรณีเครื่องยนต์ร้อนจัด

  • จอดรถบริเวณที่ปลอดภัย และปิดเครื่องปรับอากาศ
  • ดับเครื่องยนต์ เมื่อรอบเครื่องคงที่
  • เปิดกระโปรงหน้ารถ เพื่อระบายความร้อนของเครื่องยนต์
  • ห้ามเปิดหม้อน้ำ ในขณะที่เครื่องยนต์ร้อนจัด
  • รอจนเครื่องยนต์เย็น จึงเติมน้ำเปล่าหรือน้ำหล่อเย็น

    กรณียางระเบิด ให้ปฏิบัติ ดังนี้
  • จับพวงมาลัยให้มั่น ค่อย ๆ ถอดคันเร่ง และบังคับรถให้อยู่ในช่องทาง
  • เหยียบย้ำเบรกเบา ๆ แบบถี่ ๆ และลดระดับเกียร์ เพื่อชะลอความเร็วของรถ
  • กรณีรถแฉลบ ให้บังคับพวงมาลัยกลับมาทางตรงในทิศทางตรงกันข้ามกับยางที่ระเบิด
  • ห้ามเหยียบเบรกหรือดึงเบรกมือ เพราะทำให้รถเสียหลักพลิกคว่ำได้
  • ห้ามเหยียบคลัตช์ เพราะทำให้บังคับรถยากขึ้น

นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการจอดรถตากแดดเป็นเวลานาน เพราะทำให้อุปกรณ์ประจำรถที่มียางเป็นส่วนประกอบ อาทิ ขอบประตู ขอบหน้าต่างที่ปัดน้ำฝน เสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ

ร่วมแสดงความคิดเห็น