(มีคล) เหลียวหลัง มองหน้า วิถีเกษตรเมือง

เกษตร มช.เสวนา “เหลียวหลัง มองหน้า วิถีเกษตรเมือง” เปิดตลาดให้ชาวบ้านปลูกผักปลอดสารพิษขายสู้ภัยโควิด

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 9 เม.ย. 2565 ที่สถานีวิจัยระบบทรัพยากรเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ตั้งอยู่ในศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่) ผศ.ดร. ดรุณี นาพรหม คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงานการเสวนา “เหลียวหลัง มองหน้า วิถีเกษตรเมือง” ภายใต้โครงการดำเนินงานของโครงการวิจัย การพัฒนาระบบการผลิตผักปลอดสารพิษในนิเวศเกษตรเมืองเชียงใหม่

นายทัพไท หน่อสุวรรณ นักวิทยาศาสตร์เกษตร มช. หัวหน้าโครงการวิจัย นำเสนอผลการดำเนินงานวิจัย “การพัฒนาระบบการผลิตผักปลอดสารพิษในนิเวศเกษตรเมืองเชียงใหม่” กล่าวว่า โครงการวิจัย “การพัฒนาระบบการผลิตผักปลอดสารพิษในนิเวศเกษตรเมืองเชียงใหม่” เป็นโครงการที่ได้รับการสนัยบสนุนงบประมาณจากหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สังกัดสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ส่งเสริมและสร้างผู้ผลิตพืชผักปลอดสารพิษในพื้นที่เทศบาลตำบลแม่เหียะ-สุเทพ 2. พัฒนา รวบรวมและทดสอบระบบการผลิตผักปลอดสารพิษที่สอดคล้องกับนิเวศเกษตรเมือง 3. พัฒนาระบบตลาดเพื่อรองการผลิตและการบริโภคพืชผักปลอดสารพิษของโครงการ

โดยมีโจทย์วิจัย 1.องค์ประกอบและกลไกในการพัฒนาระบบนิเวศเกษตรเมืองในระดับชุมชนเมือง ควรมีการขับเคลื่อนอย่างมีส่วนร่วมอย่างไร 2. ระบบและรูปแบบการผลิตพืชผักปลอดสารพิษที่สอดคล้องกับนิเวศเกษตรเมืองเป็นอย่างไร และมีประสิทธิภาพต้นทุนการผลิตเป็นอย่างไร 3. การพัฒนาการตลาดเพื่อกระจายผลผลิตพืชผักปลอดสารพิษควรดำเนินการอย่างไร

ในการดำเนินงานของโครงการใน 1 ปีที่ผ่านมา เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่จะสร้างต้นแบบชุมชนสีเขียวที่มีแหล่งอาหารปลอดภัยของชุมชน, มีการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน, และการผลิตและการบริโภคพืชอาหารที่ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ทางโครงการได้ดำเนินงานร่วมกับสมาชิกชุมชนมากกว่า 30 ท่าน ที่มีนิเวศของที่อยู่อาศัยแตกต่างกันตั้งแต่ชุมชน หมู่บ้านจัดสรร บ้านสวน และการจัดทำพื้นที่สวนกลางของหมูบ้านจัดสรร ทางโครงการได้ประสานงานและได้รับการสนับสนุนจากทางเทศบาลในการดำเนินงานในพื้นที่เป็นอย่างดี

เนื่องจากสถาณการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทางโครงการสร้างความตระหนักรู้ และสร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชนผ่านกิจกรรมการศึกษาดูงานและอบรมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบออนไลน์ มีองค์ความรู้ 1.) ระบบการผลิตพืชผักปลอดสารพิษของสถานีวิจัยระบบทรัพยากรเกษตร ประกอบด้วย (1) การบริหารจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (2) การจัดการระบบการผลิตพืชผักเพื่อลดอิทธิพลของสภาพอาการ (2.1) การผลิตผักพืชบ้าน (2.2) การผลิตผักปลอดสารพิษในโรงเรือนแบบเปิด (3) การผลิตพืชผักแบบ Orgnoponic (4) แบบจำลองการผลิตพืชผัก
ปลอดสารพิษในเมือง

2.) การผลิตและการดูแลรักษาต้นกล้าพืชผักปลอดสารพิษครบวงจร 3.) การดำเนินงานของตลาดเกษตรปลอดพิษอาหารปลอดภัย 4.) การผลิตปุ๋ยและวัสดุปลูกของสถานีจัดเตรียมและใช้ประโยชน์ชัวมวลเพื่อการเกษตร 5.) การจัดการขยะชีวมวลจากเทศบาลของศูนย์บริหารจัดการขยะชีวมวลครบวงจรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มีการจัดตั้งกลุ่ม LINE Application เพื่อใช้ในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านเทคนิคการปลูก ดูแลรักษา การจัดหาจัดซื้อปัจจัยการผลิตและผลผลิตของตนเองกับสมาชิกของโครงการ และคณะผู้วิจัยในการสนับสนุนการผลิตพืชผักของชุมชน โครงการได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตและพัฒนารูปแบบการผลิตที่เหมาะสมกับที่อยูอาศัย ตามขนาดและศักยภาพของสมาชิกที่ประเมินร่วมกันกับคณะผู้วิจัย โดยสมาชิกได้ใช้พื้นที่วางในบริเวณบ้านในการปลูกหรือผลิตพืชผักตามจุดประสงค์ของตนเองที่หลากลายตั้งแต่ การพัฒนาพื้นสวนกลางของหมู่บ้านจัดสรรเพื่อการนันทนาการ เพื่อการบริโภคภายในครัวเรือนและแบ่งปั่นเพื่อนบ้าน การผลิตที่เหลือจากการบริโภคเพื่อขายเป็นพื้นปลูกที่ ซึ่งร่วมพัฒนาขึ้นจากองค์ความรู้ของโครงการทั้งสิ้น 1,650 ตารางเมตร ในรูปแบบ แปลงปลูก บล็อกปลูก กระถาง ถุงปลูก เปล บนชั้นวาง โต๊ะปลูก ภายใต้โครงหลังคา โรงเรือน และแปลงเปิด อีกทั้งยังจัดสรรโอกาสให้สมาชิกได้เรียนรู้การผลิตแบบไฮโดรโปรนิคจากสมาชิกโครงการที่มีประสบการณ์ทางโครงการยังได้ประสานงาน เพื่อรับรองการตกค้างของสารเคมีในผลผลิตด้วยกระบวนการ AGtrace ของคณะเกษตรศาสตร์และรับรองกระบวนการผลิตของสมาชิกด้วยมาตราฐาน GAP ผ่านสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1

ในการพัฒนารูปแบบธุรกิจชุมชน ทางโครงการได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความเข้าในจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ของกลุ่มตนเอง และการสังเคราะห์ความคิดเห็นในการกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายภายใต้แนวคิด 6W1H ในการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายของชุมชน ทางโครงการได้จัดทำ LINE Appli “ผักใกล้ฉัน ” เพื่อเป็นสื่อกลางอย่างอิสระ ระหว่างผู้ผลิตขนาดเล็กหลายหลายราย กับผู้บริโภคที่ต้องการค้นหาผลผลิตผักสดที่อยู่ใกล้กับตนเองในรัศมีที่กำหนด

มีการจัดตั้ง Facebook และ LOGO ของกลุ่มเพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์กลุ่มและเป็นช่องทางในการซื้อขายผลผลิตจากกลุ่มในโอกาสขอขอบคุณสมาชิกชุมชนที่ให้ความร่วมมือในกิจกรรมเป็นอย่างดีขอขอบคุณทางเทศบาลที่เห็นความสำคัญของโครงการ และช่วยประสานงานในพื้นที่ ขอขอบคุณองค์กรภาคีเครือข่ายที่ส่วนช่วยให้กิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์ขอขอบคุณคณะผู้วิจัยที่ร่วมดำเนินการจนเสร็จสมบูรณ์ โดยเฉพาะคุณฐากูร ปัญญาใส เป็นแม่งานในการจัดงานในวันนี้และขอขอบคุณ แหล่งทุนวิจัย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ ที่สนับสนุนงบประมาณ จนเกิดกิจกรรมดีดีในพื้นที่สุดท้ายนี้ขอส่งต่อให้เวทีให้กับกิจกรรมเสวนา “เหลียวหลัง มองหน้า วิถีเกษตรเมือง” ในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยในวันนี้ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสวงหาแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นผ่านการพัฒนานิเวศเกษตรเมืองอย่างมีส่วนร่วม ขอบคุณครับ นายทัพไท หน่อสุวรรณ นักวิทยาศาสตร์เกษตร มช. หัวหน้าโครงการวิจัย

ช่วงการเสวนา “เหลียวหลัง มองหน้า วิถีเกษตรเมือง” มีนายสมบุญ เทพอยู่ รองนายกเทศมนตรีเมืองแม่เหียะ, นางพนาไพร คุ้มสดวก ผอ.กองสวัสดิการสังคม เทศบาลตำบลสุเทพ, นายดี จันทคลักษณ์ อดีตกำนันตำบลแม่เหียะ ประธานวิสาหกิจชุมชนผลิตอาหารสัตว์(ส่งในท์ซาฟารี) และนายวิน อินต๊ะแก้ว ตัวแทนผู้ผลิตพืชผักปลอดสารพิษเขตเทศบาลตำบลสุเทพ และ นส.ลักขณา ศรีหงส์ ตัวแทนเครือข่ายเชียงใหม่ เขียว สวย หอม ส่วนผู้ดำเนินการเสวนาโดย ดร.พนมศักดิ์ พรหมบุรมย์ นักวิชาการเกษตร ชำนาญการ คณะเกษตรศาสตร์ มช.

การเสวนา “เหลียวหลัง มองหน้า วิถีเกษตรเมือง” ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การจัดงาน 1. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของโครงการวิจัยฯ 2. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นผ่านการพัฒนานิเวศเกษตรเมือง 3. เผยแพร่องค์ความรู้การผลิตผักปลอดสารพิษในนิเวศเกษตรเมืองร่วมกับภาคีเครือข่าย นอกจากกิจกรรมการเสวนา ภายในงานยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วยการเยี่ยมชมและเลือกซื้อผลผักปลอดสารพิษสดๆ

ในงานยังมีกิจกรรมเปิดตลาดขายผักผลไม้ ผู้ร่วมงานเยี่ยมชมและเลือกซื้อผลผลิตผักปลอดสารพิษสดๆจากแปลงสาธิตของสถานีวิจัยระบบทรัพยากร และตลาดเครือข่ายอาหารปลอดภัย และการจัดนิทรรศการโดยหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และของคณะเกษตรศาสตร์ อาทิ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ หน่วยตรวจสอบย้อนกลับสินค้าอาหารปลอดภัย ศูนย์วิจัยสาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ โครงการพัฒนาฟาร์มมหาวิทยาลัยผลิตอาหารปลอดภัย การจัดนิทรรศการโดยองค์กรพัฒนาเอกชนและองค์กรภาครัฐ อาทิ เครื่อข่ายเชียงใหม่เขียว สวย หอ สำนักงานที่ดินเขต 6 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดเชียงใหม่

สำหรับผู้สนใจปลูกพืชปลอดภัย ติดต่อสอบถามได้ที่ นายฐากูร ปัญญาใส นักวิทยาศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มช. โทร. 097-629887 หรือติดตามชาวบ้านที่ปลูกผักปลอดภัย ติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/smilegreenroad หรือโทร 084-6098320 ผักยิ้มแม่เหียะ หรือ MAE-HIA GREEN ROAD ที่นี้มีสินค้าผลผลิตจากผักปลอดสารพิษ แลผลผลิตแปรรูปต่างๆจากวิสาหกิจชุมชนผลิตอาหารสัตว์ ดีดี ฟาร์ม เบอร์ 083-575-1993 หรือที่สวนผักปลอดสารจากชุมชนสุเทพ Suthep CM Clean Food for Life ผักปลอดสารจากชุมชนเกษตรนิเวศในเมือง หรือสอบถามได้ที่เบอร์ 063-8876701 (สวนป้าพรรณ)

ร่วมแสดงความคิดเห็น