(มีคลิป) น่านติดตามการปรับปรุงศาลากลางเก่า

เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2565 ที่ห้องประชุมเจ้าฟ้าถัตวรปัญโญ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดน่าน นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมติดตามความก้าวหน้า การใช้ประโยชน์อาคารศาลากลางจังหวัดน่าน หลังจาก มูลนิธิรักษ์ป่าน่านฯ เป็นผู้ดำเนินงาน ในการปรับปรุงอาคารศาลากลางฯหลังเก่า เป็นหอศิลปะ วัฒนธรรมและศูนย์การเรียนรู้ที่ทันสมัย และสามารถใช้เป็นต้นแบบที่ดี สำหรับโครงการประเภทเดียวกันได้อีกด้วย ในการจัดทำหอศิลปะวัฒน ธรรมเมืองน่านและศูนย์การเรียนรู้ดังกล่าว ให้สะท้อนถึงความเป็นอัตลักษณ์ของชาวจังหวัดน่าน รวมทั้งให้ความสำคัญกับการเก็บรักษาศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่าไว้ เนื่องจากเป็นอาคารที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย เป็นอาคารสถานที่ของทางราชการ และรัฐบาล ไทยสร้างเป็นไว้แห่งแรก และเป็นอาคารที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินทรงพระสุหร่าย และทรงเจิมแผ่นดวงเมือง เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2512 โดยมี นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ดร.วันดีกุญชรยาคง จุลเจริญ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย วิบูรณ์ แววบัณฑิต ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน และผู้แทนมูลนิธิรักษ์ป่าน่านฯ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม

ซึ่งการปรับปรุงอาคารศาลากลางน่านหลังเก่า กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ประสานประธานมูลนิธิรักษ์ป่าน่านฯ เพื่อทำหนังสือแสดงเจตจำนงถึงจังหวัดน่าน ที่มูลนิธิฯต้องการจะเป็นผู้จัดสร้างหอศิลปวัฒนธรรมดังกล่าว รวมทั้งเป็นผู้จัดหางบประมารเพื่อการบำรุงรักษาอาคารดังกล่าวด้วย ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณของทางราชการได้เป็นจำนวนมาก และการก่อสร้างอาคารดังกล่าว ยังต้องคงเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนชาวจังหวัดน่าน และภาครัฐเหมือนเดิม ในส่วนของการดำเนินการศึกษาแบบแปลนหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และจัดทำแบบร่างเบื้องต้น สำหรับงานตกแต่งภายในเฉพาะพื้นทรงใช้ ชั้น 2 อาคารศาลากลางจังหวัดน่าน(หลังเดิม) ตามคำขอของวังหวัดน่าน และแนวทาง.ในการใช้ประโยชน์อาคารศาลากลางจังหวัดน่านหลังเก่า และพื้นที่โดยรอบเพื่อเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน และแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน เพื่อเป็นหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก “ศูนย์การเรียนรู้ที่มีชีวิตด้านศิลปะ วัฒน ธรรม ประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอด องค์ความรู้และบรรยากาศของเมืองเก่าน่าน”

ทั้งนี้ จังหวัดน่าน เป็นเมืองที่มีคุณค่าความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ต่อเนื่องมายาวนาน เชื่อกันว่าเป็นเมืองคู่แฝดกับเมืองหลวงพระบางของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งปัจจุบันได้รับการประกาศจาก UNESCO ให้เป็นเมืองมรดกโลกด้านวัฒนธรรม แต่เมืองน่านก็มิได้มีความวิจิตรอลังกาของสถาปัตยกรรมที่ด้อยไปกว่าเมืองหลวงพระบางแต่อย่างใด ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก ที่สืบทอดประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนเป็นศูนย์การศึกษา ค้นคว้า วิจัย รวบรวมวิทยากรด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออกทุกแขนง ในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต (Living Museum) เมืองเก่าน่าน

ร่วมแสดงความคิดเห็น