การแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง

คุณภาพอากาศที่ดีขึ้น กับการแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ ในปี 2565

ตามที่ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มอบหมายให้ กองทัพภาคที่ 3 จัดตั้ง กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้า (บก.คฟป.ทภ.3 สน.) ณ กองพลทหารราบที่ 7 อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ รวมถึง ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์แก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองระดับจังหวัด ขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละออง ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ให้เป็นผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมนั้น

โดยผลการดำเนินการในปี 2565 ที่ผ่านมา ในภาพรวมมีสถานการณ์ดีขึ้นกว่าปี 2564 โดยประเมินจากการรวบรวมข้อมูลตัวชี้วัดที่รัฐบาลได้กำหนด ได้แก่

  1. ค่าเฉลี่ยจำนวนวันที่ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานของ 17 จังหวัดภาคเหนือ ห้วงตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 – 30 เมษายน 2565 พบว่าในปี 2565 ลดลงจากปี 256464 คิดเป็นร้อยละ 60.77 โดยมีเพียงจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่เกินเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดเพียง 7 วัน
  2. จำนวนจุดความร้อนสะสมในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ในปีนี้ เกิดขึ้น จำนวน 26,360 จุด เมื่อเทียบกับปี 2564 (63,876 จุด) ลดลง 37,516 จุด คิดเป็นร้อยละ 58.73 ซึ่งมีเพียง 2 จังหวัดที่มีค่าจุดความร้อนเกินเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด ได้แก่ จังหวัดน่าน จำนวน 283 จุด และจังหวัดพิจิตร จำนวน 58 จุด โดยการปฏิบัติสำคัญ ที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการสถานการณ์ไฟป่าอย่างเป็นระบบนั้น ได้บูรณาการกับทุกภาคส่วน ทั้งกำลังทางภาคพื้นดิน และกำลังทางอากาศ โดยเมื่อตรวจพบจุดความร้อนหรือพื้นที่เกิดไฟป่า จะแจ้งข้อมูล พิกัด เป้าหมาย เพื่อบูรณาการกำลังทางภาคพื้นเข้าปฏิบัติต่อที่หมายทันที หากไม่สามารถควบคุมได้และการเข้าถึงยากลำบาก จะส่งอากาศยานเข้าปฏิบัติการทิ้งน้ำดับไฟ จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย หลังจากนั้นจะใช้โดรนจิตอาสาประเมินผลการปฏิบัติ พร้อมจัดชุดเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่าซ้ำ หากสภาพอากาศเอื้ออำนวยจะเข้าปฏิบัติการทำฝนเทียม เพื่อสร้างความชุ่มชื้นในพื้นที่ และจำกัดความเสียหายให้กระทบกับประชาชนและทรัพยากรธรรมชาติให้น้อยที่สุด โดยในปี 2565 ได้มีการใช้อากาศยานสนับสนุนภารกิจ ดังนี้ 1. กองทัพบก สนับสนุนสนับสนุน อากาศยาน รวมจำนวน 5 ลำ : เฮลิคอปเตอร์ MI-17 จำนวน 1 ลำ, เครื่องบินลาดตระเวน Cessna 182 จำนวน 1 ลำ และอากาศยานไร้คนขับ UAV แบบ HERMES450 จำนวน 3 ลำ 2. กองทัพอากาศ สนับสนุน อากาศยาน รวมจำนวน 4 ลำ : เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง EC-725 จำนวน 1 ลำ, อากาศยานไร้คนขับ UAV แบบ U-1 จำนวน 1 ลำ, เครื่องบินลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ DA-42 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบินลำเลียง BT- 67 จำนวน 1 ลำ
  3. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุน เฮลิคอปเตอร์ AS-350 B2 จำนวน 1 ลำ
  4. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุน เฮลิคอปเตอร์ KA-32 จำนวน 1 ลำ
  5. กรมฝนหลวงและการบินเกษตร สนับสนุนอากาศยาน รวมจำนวน 8 ลำ : เฮลิคอปเตอร์ Bell 407 จำนวน 1 ลำ, เฮลิคอปเตอร์ AS-350 B2 จำนวน 1 ลำ, เครื่องบินปฏิบัติการทำฝนหลวง CASA จำนวน 2 ลำ, CARAVAN จำนวน 3 ลำ และเครื่องบิน Alpha Jet จำนวน 1 ลำ

อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน จะประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนและถาวรได้นั้น ต้องเกิดจากความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการแก้ไขปัญหา โดยจะต้องประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน เกิดจิตสำนึกมีความรักและหวงแหนป่าไม้ในบ้านเกิด รวมถึงให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนต้องมีการวางแผนในให้เป็นระบบแบบแผนตามลำดับขั้นตอนได้อย่างมั่นคงและทันท่วงที

คณะบรรณาธิการข่าว กองทัพภาคที่ 3
5 พฤษภาคม 2565

ร่วมแสดงความคิดเห็น