สถิติ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคพลังงานโลกพุ่ง!

“New high in global energy emission, despite record wind and solar addition”

รายงานการวิเคราะห์จาก  International Energy Agency (IEA)  พบว่า ภาคพลังงานมีปริมาณในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มสูงขึ้น จากระดับการปล่อยก๊าซในปี 2020 มากถึง 2.1 gT ซึ่งเป็นสถิติสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 

IEA รายงานว่า จากการวิเคราะห์ภาวะความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าของโลกที่สูงขึ้น รวมไปถึงปริมาณการใช้ถ่านหินของจีน ทำให้สถิติการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2021 ของภาคพลังงานพุ่งสูงขึ้นเป็นอย่างมาก 

แม้ว่าจะมีสถิติการลดลงของพลังงานประเภทที่ก่อก๊าซเรือนกระจก และการเพิ่มขึ้นของพลังงานไฟฟ้าที่ไม่ก่อก๊าซเรือนกระจก ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็ยังเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากความต้องการพลังงานไฟฟ้าจากหลากหลายประเทศทั่วโลก

โดยมีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในปี 2021 ปริมาณมากกว่า 8,000 TWh ที่ส่งจ่ายเข้าระบบ ซึ่งนับเป็นสถิติที่มากที่สุด โดยมากกว่าปริมาณของปี 2020 ถึง 500TWh โดยปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากลม และแสงอาทิตย์ เพิ่มขึ้นถึง 270 TWh และ 170 TWh ตามลำดับ ในขณะที่ไฟฟ้าพลังงานน้ำนั้นลดลงไป 15 TWh จากปัญหาภัยแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในสหรัฐอเมริกา และบราซิล แต่ก็ไม่สามารถทัดทานต่อการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจของจีนที่ส่งผลให้มีการใช้พลังงานอย่างเข้มข้น

ในปี 2021 ภายหลังจากที่สามารถควบคุมการระบาดได้ จีนมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น 10% คิดเป็นปริมาณพลังงาน 700TWh ซึ่ง IEA ได้เปรียบเทียบว่าเท่ากับความต้องการพลังงานรวมของทวีปแอฟริกา ส่งผลให้ปริมาณการปล่อย CO2 ของจีนเพิ่มขึ้น 750 ล้านตันในช่วงเวลาระหว่างปี 2019 ถึงปี 2021

โดยปริมาณเพิ่มขึ้นนี้สูงกว่าปริมาณทั้งหมดที่โลกสามารถลดลงได้จากช่วงเวลาเดียวกัน และเฉพาะปี 2021 IEA รายงานว่า การปล่อย CO2 ของจีนเพิ่มขึ้นสูงกว่า 11.9 billion tonnes โดยคิดเป็นสัดส่วนการปล่อยสูงถึง 33% ของการปล่อยทั้งโลกรวมกัน

ทำให้สถิติในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2021 การปล่อยจากถ่านหิน คิดเป็นสัดส่วน 40% ของการปล่อย CO2 ที่เพิ่มขึ้นในภาคพลังงานจากทั้งโลก และยังนับว่าเป็นการปล่อยจากถ่านหินสูงถึง 15.3 Gt ซึ่งสูงกว่าสถิติเดิมเมื่อปี 2014 ถึงเกือบ 200 Mt 

#NextNormalใช้ชีวิตอย่างชาญฉลาดคืนธรรมชาติสู่สมดุล

#องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก 

.

ขอขอบคุณข้อมูลจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ร่วมแสดงความคิดเห็น