สืบสาน “ไตลื้อบ้านถิ่น”

เติมความรู้ให้เด็กและเยาวชนบ้านถิ่น สืบสานตำนานชาติพันธุ์ไตลื้อ
……..เมื่อวันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม 2565 ดน
สึประวีณ์ อ่อนจันทร์ ผอ.ศูนย์วิทยบริการจ.แพร่ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ เผยว่า ศูนย์วิทยบริการจังหวัดแพร่ มหาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ร่วมกับ เทศบาลตำบลบ้านถิ่น ร่วมกับ โรงเรียนผู้สูงอายุบ้านถิ่นม่วนใจ๋
ได้พัฒนาการท่องเที่ยวบ้านถิ่น จัดโครงการอบรมสร้าง “นักเล่าเรื่องชุมชน : ตำนานกลุ่มชาติพันธุ์ไตลื้อบ้านถิ่น”
…….การจัดอบรมมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1. เพื่อให้เด็กและเยาวชนรู้จักชุมชนไตลื้อของตนเอง สามารถบอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาชุมชนไตลื้อ และสถานที่สำคัญของชุมชนได้
  2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนรักและภูมิใจในรากเหง้า ภูมิปัญญาไตลื้อและเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน
  3. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นไตลื้อ
  4. เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถเป็นตัวแทนของชุมชนในการต้อนรับนักท่องเที่ยวและผู้คนต่างถิ่นที่มาเยี่ยมเยียนในโอกาสต่างๆ ได้

โครงการอบรมสร้าง “นักเล่าเรื่องชุมชน : ตำนานกลุ่มชาติพันธุ์ไตลื้อบ้านถิ่น” มีเด็กและเยาวชน และผู้สนใจ เข้าร่วมโครงการฯ ทั้งสิ้น 50 คน กำหนดจัดอบรมจำนวน 2 วัน ได้แก่ วันที่ 14–15 พฤษภาคม 2565 ทั้งนี้ในกิจกรรมมีการให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการพูด และการถ่ายทอดเรื่องราวในชุมชนให้นักท่องเที่ยวได้รับรู้ เรียนรู้อย่างเข้าใจ จนเกิดแรงบันดาลใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเชื่อ ภูมิปัญญา ตำนาน เรื่องราวในอดีต ทั้งประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชุมชนไตลื้อ การเล่าถึงบรรยากาศสิ่งแวดล้อมของชุมชน และเกร็ดความรู้ที่มีอยู่ในชุมชนให้นักท่องเที่ยวพัง
……..ดร.สุประวีณ์ อ่อนจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยบริการจังหวัดแพร่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ กล่าวว่า รูปแบบการอบรมครั้งนี้เป็นการรับฟังบรรยายสลับกับทดลองปฏิบัติในสถานที่จริง เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพและความสามารถของเด็กและเยาวชนที่เข้ารับการอบรม เช่น จัดการอารมณ์ของตนเอง การเข้าถึงพฤติกรรมกลุ่มนักท่องเที่ยว โดยการอ่านภาษากายเบื้องต้น และการทำงานเป็นทีม ซึ่งจะทำให้ชุมชนได้เรียนรู้ว่าควรพัฒนาการเล่าเรื่องอย่างไร โดยเฉพาะการเรียงลำดับของเรื่องราว นอกจากนี้ ยังได้ลงพื้นที่สำรวจตามเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนไตลื้อบ้านถิ่น เพื่อให้ผู้ผ่านการอบรมเป็นนักสื่อความหมาย หรือนักเล่าเรื่องได้ฝึกปฏิบัติจริง เพื่อจะได้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้ต่อไป ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งชุมชนและนักท่องเที่ยวให้ได้มากที่สุด

ร่วมแสดงความคิดเห็น