แผนดันโรงเรียนไปสังกัดท้องถิ่น ยังไม่เคลียร์

ชูแผนดันโรงเรียนไปสังกัดท้องถิ่น ผู้บริหารอปท. ติงแค่เรื่องโอน รพ.สต. ยังไม่เคลียร์ไม่จบ

ผู้บริหารท้องถิ่น ในจ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า กรณี คณะอนุกรรมการบริหารภารกิจถ่ายโอนด้านการศึกษาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ก.ก.ถ.) เสนอเรื่องการ ถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ อปท.อีกครั้ง หลังจากเงียบหายไปนาน

” จริงๆแล้ว โครงการนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ มีการหารือ เสนอแนวทางมาร่วม 10 ปี ช่วงปี 2549-57 มีการถ่ายโอนสถานศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ไปสังกัด อปท.กว่า 485 โรงเรียน ซึ่ง ระดับ อบจ. มี โรงเรียน กำกับดูแล แตกต่างกันไปตามศักยภาพ ในส่วนเทศบาลและ อบต. ก็จะ มีโรงเรียน ในระดับประถม และศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.)

ทั้งนี้ นักวิชาการศึกษา ในสังกัด อปท.ใน จ.เชียงใหม่ หลายแห่ง ระบุว่ากระแสการถ่ายโอนภารกิจการศึกษาหรือถ่ายโอนย้ายโรงเรียนไปสังกัดท้องถิ่น หรือ อปท.กลุ่มครูประถมศึกษาส่วนใหญ่ต้องโอนไปอยู่กับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ครูมัธยมศึกษาไปสังกัด อบจ. มีการประท้วงต่อต้านกันมาแล้ว

แม้ว่าปัจจุบัน จะมีแนวทางที่ก.ก.ถ.เสนอให้ สำนักงบประมาณ พิจารณา การจ่ายทั้งเงินเดือน ค่าจ้าง สิทธิประโยชน์ ครบเต็มจำนวน พ่วง เงินบำเหน็จบำนาญให้บุคลากรการศึกษา ที่จะโอนย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ ใน อปท. ก็ยังเชื่อมั่นว่ากลุ่มบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียน ในสังกัดศธ. ส่วนใหญ่คงประสงค์อยู่ที่เดิมมากกว่า เพราะเส้นทางก้าวหน้าชัดเจน

” ในระดับ อบจ. ที่กำลังมีหนังสือทาบทามกลุ่มที่ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาตามภารกิจที่ถ่ายโอน เฉพาะ ใน จ.เชียงใหม่นั้นมีสถานศึกษากว่า 1,241 แห่ง สังกัด อปท. 69 แห่ง อบจ.เชียงใหม่ 4 แห่ง เทศบาลนครฯ 11 แห่ง นอกนั้นก็จะเป็น ศพด.ในการดูแลของเทศบาล และอบต.ที่ทราบกันดีว่า งบประมาณที่ได้ก็จำกัด แทบไม่เพียงพอ”

ภารกิจการถ่ายโอนการศึกษาให้ไปอยู่อปท. ถ้าประเมินผลสัมฤทธฺ์ ในการจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.)แล้ว เกือบทุกแห่งประสบผลสำเร็จ การจะขยายผลไปยังระดับ ประถม-มัธยม ต้องยอมรับว่าในอดีตมีแนวคิดให้ท้องถิ่นเป็นผู้จัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาทั้งหมดขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย ต่อมาโอนไปให้กระทรวงศึกษาธิการมีการจัดตั้งสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติขึ้นดูแล

” เมื่อจะมีแนวทาง โอนย้าย ตามความสมัครใจ ไปสังกัด อปท. ซึ่งแน่นอนว่า ระดับ อบต. ไม่ค่อยมีงบประมาณ ถ้าจะโอนย้ายไปสังกัด อบจ. ประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ จังหวัดใหญ่ๆ อาจมีงบเพียงพอ ในขณะที่จังหวัดเล็กๆ ลำพังแค่เรื่องภารกิจ รับโอน รพ.สต. ที่กระทบไปยังเม็ดเงิน งบประมาณที่จำกัด คงยากจะบรรลุเป้าหมาย การถ่ายโอนภารกิจตามที่ตั้งธงไว้ ควรจะดำเนินการ ในภารกิจที่ มีงบพร้อม บุคลากรเพียงพอ โยกไป อปท.ให้เกิดการกระจายงาน

เนื่องจากภารกิจที่ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ. ) แบกรับ กับงบประมาณที่จัดสรร อุดหนุน ให้ อปท. ทั้งหมดในงบปีนี้มีเพียง 709,866 ล้านบาท ลดลงไปจากเดิม7หมื่นกว่าล้าน และ ปีนี้รายได้จากการที่อปท.จัดเก็บภาษี ลดลงไปมาก จัดเก็บรวมแล้วมีราวๆ 6 หมื่นกว่าล้านบาท รายได้ที่รัฐจัดเก็บให้206,733 ล้านบาท รายได้ที่รัฐฯแบ่งให้ 1 แสนกว่าล้านบาท

บรรดาภารกิจที่จะมีการถ่ายโอนตามแผนที่กำหนดขั้นตอนไว้ คงต้องทบทวน หารือกันให้รอบคอบ ล่าสุด ภารกิจไฟป่า ก็ ถ่ายโอนมา ไหนจะเรื่อง รพ.สต. ให้ อบจ.ดูแล ตามสมัครใจ และมาเร่งเสนอแผน ดึงดูดใจ โรงเรียน สถานศึกษา มาสังกัด อปท.อีก หากเป็น อปท.ในจังหวัดใหญ่ๆ มีงบประมาณมาก คงบริหารจัดการได้ตามเป้าประสงค์ อบต.ในพื้นที่มีรายได้จากภาษีต่างๆมากมาย จากที่เคยใช้จ่ายไปกับการติดตั้งเสาไฟประติมากรรม รูปทรงแปลกๆ งบหลายร้อยล้านบาท ในขณะที่ อบต. ตามพื้นที่ชายขอบ กว่าจะได้ถนนหนทางสภาพพอใช้สักเส้นทาง ยากลำบาก ยิ่งเข้าสู่ฤดูฝน เส้นทาง เละเทะ ยากต่อการสัญจร การ
ถัวเฉลี่ยงบพัฒนาในมิติพื้นฐาน ของท้องถิ่น ของจังหวัด ควรจัดลำดับ ความสำคัญ ไม่ต้องมา สาละวนกับแนวทาง แผนงานที่ กลายเป็นปมปัญหาในพื้นที่

แค่ถายโอนรพ.สต. บุคลากรทางสาธารณสุข ส่วนหนึ่ง ยังคัดค้าน ถ้าเรื่องถ่ายโอนโรงเรียนไปสังกัด อปท.คงเป็นประเด็น ขัดแย้งกันอีก

ร่วมแสดงความคิดเห็น