ปภ.แนะข้อควรปฎิบัติรับมือภัยพิบัติ

ภัยพิบัติมีแนวโน้มเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติล่วงหน้า จะช่วยให้ดำเนินชีวิตท่ามกลางสถานการณ์ภัยได้อย่างปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงขอแนะข้อควรปฏิบัติในการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ ดังนี้

เตรียมพร้อมถุงยังชีพ

  • อาหารและน้ำดื่ม อาทิ อาหารกระป๋องสำเร็จรูป ข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่มสะอาด
  • ยารักษาโรคและชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น อาทิ พลาสเตอร์ปิดแผล ยาล้างแผล ผ้าก๊อช ยารักษาโรค
  • สิ่งของเครื่องใช้ประจำวัน อาทิ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน
  • สิ่งของจำเป็นในช่วงเกิดภัย อาทิ ไฟฉาย วิทยุ เทียนไข ถ่านไฟฉาย เชือก นกหวีด ถุงพลาสติก มีดพับ
  • เอกสารสำคัญ อาทิ บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน สูติบัตร บัตรประจำตัวผู้ป่วย กรมธรรม์ประกันชีวิต
    นอกจากนี้ การจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ในถุงยังชีพ ให้เตรียมสำหรับคนในครอบครัวอย่างน้อย 3 – 5 วัน รวมถึง
    ควรตรวจสอบวันหมดอายุของเครื่องอุปโภคบริโภคในถุงยังชีพอย่างน้อยทุก 6 เดือน หากเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้ใช้ถุงยังชีพ
    ได้ทันทีและปลอดภัย

เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ

  • เตรียมสิ่งของที่จำเป็นไว้ก่อนเกิดภัย อาทิ เครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ไฟฉาย
  • เรียนรู้หลักปฏิบัติรับมือภัยแต่ละประเภท วิธีอพยพหนีภัย เส้นทางปลอดภัย และร่วมฝึกซ้อมอพยพหนีภัย
  • ตรวจสอบบ้านเรือนให้ปลอดภัย โดยเฉพาะโครงสร้าง ประตู หน้าต่าง ให้มั่นคงแข็งแรง พร้อมตัดแต่งกิ่งไม้รอบบ้าน
  • ติดตามข้อมูลความเสี่ยงภัย สภาพอากาศ ปริมาณน้ำฝน และหมั่นสังเกตความผิดปกติทางธรรมชาติ
  • จดจำหมายเลขแจ้งเหตุฉุกเฉิน อาทิ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สายด่วน 1784 เจ็บป่วยฉุกเฉินสายด่วน 1669 แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย สายด่วน 191

รู้รับ-ปรับตัวเมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย

  • ติดตามข้อมูลสถานการณ์ภัยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประกาศแจ้งเตือนและพยากรณ์อากาศ รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานอย่างเคร่งครัด
  • กรณีต้องอพยพ ให้ออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยโดยใช้เส้นทางที่ปลอดภัย พร้อมช่วยเหลือเด็กและคนชราเป็นลำดับแรก

ทั้งนี้ การเตรียมพร้อมรับมืออุทกภัยและเรียนรู้การปฏิบัติตนเมื่อเกิด สถานการณ์ภัยอย่างถูกวิธี จะช่วยให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปลอดภัย

ร่วมแสดงความคิดเห็น