‘โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล’ เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

ท้องฟ้าสีหม่น มีเมฆฝนมาปกคลุม สายฝนเริ่มลงเม็ด บรรยากาศอีมครึม มันชวนให้คุณ ‘SAD’ หรือเปล่า

SAD หรือ ‘โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล’ เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย …อารมณ์จึงแปรปวน 

อากาศเริ่มชื้น ความหนาวเย็นเริ่มคืบคลาน เราหลบตัวใต้ร่มเงาคา บ่อยครั้งที่ละอองฝนสัมผัสตัวเรา มันชวนให้รู้สึกเศร้าไม่น้อย

Seasonal Affective Disorder (SAD) คือ โรคซึมเศร้า เมื่อมีการเปลี่ยนผ่านของฤดูกาล เป็นรูปแบบหนึ่งของภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ โดยมักเกิดกับคนในประเทศที่มีฤดูหนาว หรืออากาศหนาวที่ยาวนาน และจะมีอาการเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันของทุกปี 

อาการที่เห็นได้ชัดก็คือ มีภาวะซึมเศร้า รู้สึกหดหู่ รู้สึกหมดกำลังในการทำงาน ความสนใจในสิ่งที่ชอบลดลง   ไม่มีเรี่ยวแรง อยากนอนเฉยๆ อยู่บนเตียงตลอดเวลา ซึ่งภาวะ SAD นี้นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ยังส่งผลให้การเรียน การงาน รวมถึงความสัมพันธ์กับคนรอบตัวมีปัญหาด้วย

เรากำลัง SAD หรือเปล่านะ?

? รู้สึกหมดหวัง ไร้ค่า หรือมีอารมณ์ซึมเศร้าต่อเนื่องเป็นเวลานาน

? หมดความสนใจในสิ่งที่ตนเองเคยสนใจ

? อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง หมดความกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ

? อยากนอนตลอดเวลา หรือมีปัญหาในการนอนหลับ เช่น นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท เป็นต้น

? มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป เช่น รับประทานอาหารมากเกินไป หรืออยากรับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลมากกว่าปกติ เป็นต้น

? ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดได้นาน

? เก็บตัว ไม่ต้องการออกไปพบปะผู้อื่น

? หมกมุ่นกับเรื่องความตาย หรือคิดฆ่าตัวตาย

แนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (SAD)  

หากรู้สึกว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับตนเอง หรือมีคนบอกว่าเราเปลี่ยนไป โดยเฉพาะอาการด้านอารมณ์ ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและปรึกษาแนวทางในการรักษาที่ถูกต้อง ในส่วนของการรักษานั้น มีตั้งแต่การพูดคุยปรึกษา การปรับพฤติกรรม การใช้แสงในการบำบัด รวมไปถึงการใช้ยา ซึ่งเป็นยาที่เกี่ยวข้องกับการรักษาภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ยาในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) ทั้งนี้วิธีการรักษานั้นขึ้นกับอาการที่แสดงออก

ร่วมแสดงความคิดเห็น