ตารางออมเงินดิจิทัล ไม่ให้พลาดทุกการเก็บออม

จากสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันที่ไม่แน่นอน ทำให้หลายคนเริ่มตระหนักแล้วว่า การบริหารจัดการเงินออม เป็นเรื่องสำคัญที่คนทุกช่วงวัยต้องคำนึงถึงและปฏิบัติตาม ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัยเรียน หรือวัยทำงาน เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ในท้ายที่สุดของทุกปัญหา ทุกการใช้ชีวิต เรายังมีเงินออมเหลือพอที่จะใช้จ่ายได้อย่างไม่ยากลำบากเกินไป ทำให้หลายคนมีสูตรการออมเงิน หรือตารางออมเงินที่แตกต่างกันไปตามความสะดวก มีอะไรบ้างนั้น ลองมาดูกัน

สูตรเก็บเงินยอดฮิต

  • เก็บออมเป็นสัดส่วนคร่าว ๆ สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ เช่น แบ่งเป็น ค่าใช้จ่าย 50% ใช้ตามใจ 30% และเก็บออม 20%
  • เก็บออมอย่างครอบคลุมทุกการบริหารจัดการ เช่น แบ่งเป็น ค่าใช้จ่าย 55% ใช้ตามใจ 30% และเก็บออมระยะยาว 10% ลงทุน 10% พัฒนาตัวเอง 10% บริจาคทำบุญ 5%

ตารางออมเงิน  

สำหรับผู้ที่ลงรายละเอียดการใช้จ่ายตามจริงเป็นรายเดือน ซึ่งทำให้เห็นตัวเลขการเก็บออมที่เป็นจริงอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยมีตัวแปรการคิดคำนวนในตารางออมเงิน ดังนี้

  • รายได้ ระบุวันที่เงินเข้า มาจากแหล่งใดบ้าง เช่น เงินเดือน ค่าขายของออนไลน์ ค่าจ้างงานฟรีแลนซ์ จำนวนเท่าไหร่ รวมเป็นเงินได้ต่อเดือน (สมมุติเป็น A)
  • รายจ่าย ระบุวันที่เงินออก เป็นค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง อาจแบ่งหมวดหมู่ไม่ให้ปะปน เช่น ค่าใช้จ่ายประจำบ้าน อาทิ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ตไวไฟ ค่ารถและค่าเดินทาง อาทิ ค่าทางด่วน ค่าน้ำมัน ค่าที่จอดรถ ค่ากินดื่ม อาทิ ค่าหมูกะทะ ค่าชานมไข่มุก ค่าบันเทิง อาทิ ค่าสมาชิกวีไอพีแอปดูซีรีส์ มีกี่แอปใส่ให้ครบในตารางออมเงิน เป็นจำนวนเท่าไหร่ รวมเป็นค่าใช้จ่ายต่อเดือน (สมมุติเป็น B)
  • จากนั้น นำ (A)รายได้ – (B)รายจ่าย = เงินเหลือต่อเดือน (สมมุติเป็น C)
  • ตั้งเป้าหมายการเก็บเงินต่อเดือน เป็นเงินกี่บาท เพื่ออะไร (สมมุติเป็น D)
  • จากนั้นนำ (C)เงินเหลือต่อเดือน – (D)เงินเก็บ = เงินที่ใช้ได้ในเดือนนั้น (สมมุติเป็น E)
  • อาจลงลึกให้เห็นเป็นรูปธรรมด้วยการ แยกย่อยว่า เงินที่ใช้ได้จริงต่อเดือนนั้น ถ้าคิดเป็นรายอาทิตย์ ใช้ได้อาทิตย์ละเท่าไหร่ โดยเอา (E)เงินที่ใช้ได้ ÷ จำนวนอาทิตย์ = เงินที่ใช้ได้ต่ออาทิตย์ 

            ตัวอย่างการคำนวนตามตารางออมเงิน เช่น 

  • (A)รายได้ = 40,000 บาท (B)รายจ่าย = 20,000 บาท ดังนั้น (C)เงินเหลือต่อเดือน  (40,000 – 20,000) = 20,000 บาท
  • (D)เป้าหมายเงินเก็บ = 4,000 บาท ดังนั้น (E)เงินที่ใช้ได้จริงต่อเดือน (20,000 – 4,000) = 16,000 บาท
  • หากคำนวนเป็นรายอาทิตย์ ดังนั้นจะมีเงินที่ใช้ได้จริงอาทิตย์ละ (16,000 ÷ 4) = 4,000 บาท เป็นต้น

บางคนเมื่อได้เป็นตัวเลขเงินออมที่แน่ชัดต่อเดือนแล้ว อาจใช้วิธีแยกบัญชี แยกธนาคารสำหรับเงินออมออกจากกันอย่างชัดเจน แต่เมื่อถึงเวลาเกิดเหตุฉุกเฉินเงินไม่พอใช้ตามแผนที่ตั้งไว้ ต้องเสียเวลาไปโอนเงินออกมาจากธนาคารอื่น 

จะดีกว่าไหมถ้ามีแอปพลิเคชันที่มีตารางออมเงินชัดเจน สามารถบริหารจัดการออมเงิน การใช้จ่าย รวมไว้ในแอปฯ เดียว ให้คุณสามารถเห็นตัวเลขอย่างชัดเจนโดยไม่ต้องเข้าแอปฯ หลายธนาคาร ซึ่งปัจจุบันมีแอปพลิเคชันสำหรับบริหารจัดการเงิน ที่มีฟีเจอร์สามารถวัดผลได้ ให้คุณทำได้ตามเป้าหมายอย่างไม่พลาดทุกการเก็บออม  

ร่วมแสดงความคิดเห็น