ข่าวจริง! ผู้ที่เข้าไปหาของป่า ต้องเสียค่าบำรุงฯ

วันที่ 27 พ.ค. 65 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับการยืนยันว่าเป็นข่าวจริง เพิ่มเติม 1 กรณีคือ

กรณีที่มีข้อมูลปรากฏในสื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่องผู้ที่เข้าไปหาของป่า ต้องเสียค่าบำรุงรักษาป่า ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลจริง

ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลจริง ซึ่งได้มีการอ้างอิงมาจากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่าพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484  

  1. กรณีเป็นของป่าหวงห้าม ไม่ว่าจะในเขตป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้  พ.ศ. 2484 หรือ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติป่า สงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 จะต้องดำาเนินการขออนุญาตและเสียค่าภาคหลวง ค่าบำารุงรักษาป่า
  2. กรณีเป็นของป่าที่มิใช่ของป่าหวงห้าม ในเขตป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 สามารถเก็บหาได้ มิต้องเสียค่าภาคหลวง ค่าบำารุงรักษาป่า
  3. กรณีเป็นของป่าที่มิใช่ของป่าหวงห้าม ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 จะต้องดำาเนินการขออนุญาตและเสียค่าภาคหลวง ค่าบำารุงรักษาป่า 
    เว้นแต่จะเป็นการเก็บหาเพื่อใช้สอยหรือบริโภคในครัวเรือนของตน จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาต ตามข้อ 2 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 1,107 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ ว่าด้วยการเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง จากกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถติดตามได้ที่ https://www.forest.go.th/ หรือโทร. 02-5614292-3

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : ผู้ที่เข้าไปหาของป่า ต้องเสียค่าบำรุงรักษาป่า เว้นแต่จะเป็นการเก็บหาเพื่อใช้สอยหรือบริโภคในครัวเรือนของตน จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาต ตามข้อ 2 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 1,107 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ ว่าด้วยการเก็บหาของป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ

รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติกล่าวเพิ่มเติมว่า การผลิตข่าวปลอม สร้างข่าวบิดเบือน ทำให้ประเทศชาติเสียหาย ประชาชนสับสน เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14(2),(5) มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมทั้งกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่ผลิตข่าวปลอมและผู้ที่เผยแพร่ทุกรายอย่างเด็ดขาดจริงจังและต่อเนื่องต่อไป
ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนพบข้อมูลการกระทำผิด สามารถแจ้งเบาะแสข่าวผ่าน
5 ช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com, เฟซบุ๊ก ANTI-FAKE NEWS CENTER, ทวิตเตอร์ @AFNCThailand, ไลน์ @antifakenewscenter, ช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87 และสายด่วน 1599 ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ”

ร่วมแสดงความคิดเห็น