พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคค

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือกฎหมาย PDPA ที่ย่อมาจาก Personal Data Protection Act จะเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิ.ย. 2565 กฎหมาย PDPA นี้ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร อีเมล ไอดีไลน์ บัญชีผู้ใช้ของเว็บไซต์ ลายนิ้วมือ ประวัติสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถระบุถึงตัวเจ้าของข้อมูลนั้นได้ อาจเป็นได้ทั้งข้อมูลในรูปแบบเอกสาร กระดาษ หนังสือ หรือจัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับกฎหมายฉบับใหม่ PDPA ดังนี้

  1. “ข้อมูลส่วนบุคคล” คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมแต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมเฉพาะ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขประจำตัว ข้อมูลสุขภาพ ฯลฯ (มาตรา 6)
  2. “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ต้องเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งเอาไว้ก่อหรือในขณะเก็บรวบรวม (ห้ามใช้นอกเหนือวัถตุประสงค์) (มาตรา 21 )
  3. “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเราเท่าที่จำเป็น ภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 22 ) ใช้ข้อมูลของเราให้น้อยที่สุด
  4. ความยินยอม เป็นฐานการประมวลผลฐานหนึ่งเท่านั้น “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” มีหน้าที่ในการกำหนดฐานการประมวลผลให้สอดคล้องกับลักษณะการประมวลผลและความสัมพันธ์ระหว่าง “ผู้ควบคุมข้อมูล” กับ “เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” (ตามมาตร 24 หรือ มาตรา 26)

5.ในการขอความยินยอม “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” จะต้องคำนึงอย่างที่สุดในความเป็นอิสระของ “เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” (ต้องไม่มีสภาพบังคับในการให้/ไม่ให้) (มาตรา 19 วรรคสี่)

  1. “เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” มีสิทธิต่าง ๆ ดังนี้

สิทธิในการถอนความยินยอม ในกรณีที่ได้ให้ความยินยอมไว้ (มาตรา 19 วรรคห้า)
สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบรายละเอียด (Privacy Notice) (มาตรา 23)
สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 30)
สิทธิขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 31)
สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 32)
สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ (มาตรา 34)
สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 34)
สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 35)

  1. กฎหมาย PDPA ให้กับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะมีสัญชาติใดก็ตาม (มาตรา 5)

8.ในกรณีที่เหตุการละเมิด “ข้อมูลส่วนบุคคล” มีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของ “เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” กฎหมายกำหนดให้ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” มีหน้าที่ แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ พร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้า (มาตรา 37(4))

9.”ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” มีหน้าที่จัดทำบันทึกรายการกิจกรรม เพื่อให้สำนักงานสามารถตรวจสอบได้ โดยจะบันทึกเป็นหนังสือหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

  1. “เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” มีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม PDPA หรือ ประกาศฯ ที่ออกตาม PDPA ทั้งนี้ กระบวนการร้องเรียนเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการฯ ประกาศกำหนด (มาตรา 73)

ไขข้อสงสัย การบันทึก และแชร์ภาพบุคคล ถือว่าผิด PDPA หรือไม่? เว็บไซต์ pdpa.pro ให้ข้อมูลไว้ว่า การถ่ายภาพ หรือ การบันทึกภาพเคลื่อนไหวนั้นสามารถแบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ไว้ด้วยกัน

1.การถ่ายภาพเพื่อประโยชน์ส่วนตน เช่น การโพสต์มีเดียลง Social Platform ของตนเพื่อแบ่งปันกับคนรู้จัก ที่ไม่ได้มีจุดประสงค์ถ่ายภาพเพื่อสร้างผลกำไรทางการค้า จัดอยู่ในข้อยกเว้นของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ แต่ก็ควรระวังไว้ว่าหากภาพดังกล่าวสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น หรือสังคม รวมทั้งเจตนา ท่าทาง ข้อความบรรยายของรูปผู้ใช้ หรือแม้แต่คอมเม้นต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม อาจจะเสี่ยงโดนฟ้องละเมิดได้

  1. การถ่ายภาพเพื่อสร้างรายได้ ได้แก่ การรับจ้างถ่ายภาพงานแต่ง งานรับปริญญา หรือทำ Content ใน Youtube ต่างๆ ซึ่งต่างจากข้อแรก เพราะในกรณีที่ได้รับผลตอบแทน ผู้ปฏิบัติควรทำตามขอบเขตความจำเป็นของสัญญา/ความยินยอม ถ้าเกิดผู้ที่เป็นช่างภาพอยากอัพโหลดผลงานที่ตนเป็นคนถ่าย แล้วบังเอิญไม่ได้อยู่ในสัญญาที่ระบุไว้กับผู้ที่ถูกถ่าย คนที่เป็นช่างภาพนั้นต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพก่อนนำไปใช้เท่านั้น ส่วนการถ่ายภาพบรรยกาศของงานที่ติดผู้มาร่วมงานเป็นฉากหลัง เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ทุกคนควรรู้อยู่แล้วว่ามีโอกาสที่จะถูกถ่ายรูป ก็ควรจะระบุให้ได้ว่าประโยชน์ของภาพถ่ายนี้คืออะไร และคำนึงถึงผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพของบุคคลอื่น ๆ ด้วย ว่าภาพถ่ายเหล่านั้นไม่ได้มีความเสี่ยง หรือไม่เหมาะสมต่อผู้ที่โดนถูกถ่าย ส่วนการทำ Content วิดีโอลง Youtube Platform ก็ไม่ถือว่าอยู่ใต้การบังคับของ PDPA ถ้าเหตุผลเป็นไปตามสิ่งที่ได้กล่าวมาข้างต้น
  2. งานสื่อมวลชน หรือ งานนิทรรศกรรมถาพถ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพข่าว หรือ งานศิลปะกรรม จะไม่ได้อยู่ใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมเหล่านี้ต้องทำตามจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ และมีความสามารถเพียงพอที่จะดูแลความปลอดภัยของข้อมูลได้

4.การถ่ายภาพของเจ้าหน้าที่รัฐ/ตำรวจที่พยายามหาหลักฐานในการสืบสวน กรณีดังกล่าวสามารถทำได้ตามข้อกำหนดและขอบเขตของกฎหมาย และผู้ที่ครอบครองข้อมูลนั้นสมควรอย่างยิ่งที่จะระวังไม่ให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูลถึงบุคคลที่สาม เพราะข้อมูลส่วนมากเป็นข้องมูลจำพวก Sentitive และ Confidential

ที่มา : https://pdpa.pro/blogs/pdpa-and-photography / https://pdpa.pro/blogs/in-summary-what-is-pdpa

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/069/T_0052.PDF

ร่วมแสดงความคิดเห็น