เยือนชมวิสาหกิจชุมชนสุรากลั่นสักทองแพร่

เยือน ต.สะเอียบชมวิสาหกิจชุมชนสุรากลั่นสักทองแพร่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวานนี้วันที่ 28 พฤษภาคม 2566 นางพรรณี แสงสันต์ เลขานุการนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล อดีตรมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ลงพื้นที่ อ.สอง หลายแห่ง ที่ไม่พลาดโอกาสที่จะต้องไปให้ได้ คือ วิสาหกิจชุมสุรากลั่นสักทอง เลขที่ 3/1 หมู่ 1 ต.สะเอียบ อ.สอง จ.แพร่

ที่นี่ได้พบกับ หญิงแกร่ง แห่งบ้านดอนชัย ต.สะเอียบ นามว่า ป้าสาย กัญญาภัค ออมแก้ว ด้วยวัย 68 ปี รูปก็งาม นามก็เพราะ ผู้หญิงเก่ง แห่งสะเอียบ ดินแดนที่ชาวบ้านอยู่ร่วมกันด้วยความรักความสามัคคี ท่ามกลางขุนเขาและความร่มรื่นของป่าไม้และลำธาร เมื่อมีโอกาสไปเที่ยวสะเอียบอีกครั้ง ได้รับรอยยิ้มการทักทายด้วยความยินดี ที่เป็นมิตรจากพี่ป้าน้าอา คนหนุ่มคนสาว ด้วยความคุ้นเคยกันมายาวนานว่ากันว่า สุดยอดของสุรา ที่สุดคือจาก สะเอียบ ซึ่ง เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านมาเป็น 100-200 ปี ตามเรื่องที่พ่อเฒ่า ในสะเอียบเล่าให้ฟัง จนถึง ในขณะนี้ ชาวบ้านสะเอียบ หลายๆ ครอบครัวมีอาชีพ ในการทำเหล้า สมัยก่อนก็ทำแบบผิดกฎหมายบ้าง ถูกกฏหมายบ้างโดนจับกันมามากแล้ว

ป้าสาย กัญญาภัค ออมแก้ว เล่าอีกว่า จนถึงในปี พ.ศ. 2544 ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีนโยบายส่งเสริมให้มีการผลิตสุราเสรี เพื่อเป็นการพัฒนาผลผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน โดยความร่วมมือของชุมชนในตำบลสะเอียบและหลายๆ หน่วยงาน จนกระทั่งทุกวันนี้ในสะเอียบ มีเกือบ 20 กว่า กลุ่มที่เป็นเครื่อข่ายในการ แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

โดยมีภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีมาอย่างยาวนาน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาให้เป็นสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย มีการเสียภาษี ติดอากรแสตมป์ ทุกขวดทุกชนิด สร้างรายได้ให้แก่ชาวสะเอียบ จนสามารถส่งเสียลูกหลานได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีมีงานทำและบางคนก็กลับมาพัฒนาบ้านเกิดช่วยพ่อแม่ จนวันนี้มีโรงกลั่นชุมนุมสุราสักทองแพร่ ซึ่งใหญ่โต มีกำลังผลิต หลายแบรนด์หลายรสชาติ ส่งไปขายยังต่างจังหวัดและเป็นที่ชื่นชอบของคนที่ดื่มสุรา (ได้ชิมโซจู แล้วยังติดใจในรสชาติ อร่อยกว่า เจ้าตำรับ) จนเดี๋ยวนี้ได้จัดตั้งโดยการรวมตัวของคนในสะเอียบ เป็นวิสาหกิจชุมชนสุราสักทองแพร่

นางพรรณี แสงสันต์ เลขานุการนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ซึ่ลงพื้นที่วิสาหกิจชุมชนสุรากลั่นสักทอง กล่าวกับผู้สื่อข่าวขอชื่นชม ในความเข้มแข็งของสมาชิกเครื่อข่าย ชาวสะเอียบ ทุกท่าน??ในจังหวัดแพร่ ยังมีอีกหลายโรงานและ หลายพื้นที่ ที่ผลิตสุราจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ไว้ไปที่ไหนอีก จะขอเล่าให้ฟัง

ท้ายนี้ ป้าสาย กัญญาภัค ออมแก้ว เผยว่าเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 ณ บริเวณโคกหนองนาโมเดล ของตนเอง บ้านดอนชัย หมู่ที่ 1 ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ที่ได้เข้าร่วมโครงการของรัฐบาลตามโครงการโคกหนองนาโมเดล ได้มีการถวายศาลาหลังใหญ่ให้เป็นที่ประดิษฐานของตะเคียนเงินและตะเตียนทองไว้ตรงจุดที่มีจุดปล่อยบั้งไฟขึ้นในสมัยก่อนที่ได้เป็นหมู่บ้านปงสนุก ตำบลปง อำเภอปง จังหวัดน่าน

และในสมัยปีพุทธศักราช 2482 ได้เกิดน้ำบ่าไหลหลากท่วมบ้านเรือนของชาวบ้านในสมัยนั้นตั้งแต่ยามค่อนคืนจนบ้านเรือนวัดวาในสมัยนั้นได้ถูกลำน้ำแม่สะกึ๋นพัดพาเสียหายและมีผู้คนที่หลับนอนไม่รู้เรื่องถูกน้ำพัดพาเสียชีวิตจำนวน 10 กว่าชีวิตและสูญหายไปกับสายน้ำก็หลายรายจนเป็นโศกวินาศกรรมครั้งใหญ่ในสมัยก่อน การถวายศาลาเพื่อเป็นสิ่งสิริมงคลและเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านที่จะได้ศึกษารากเหง้าของหมู่บ้านและความเป็นมาของต้นตะเคียน ผ่านไปสะเอียบแวะวิสากิจชุมชนสุรากลั่นสักทองและขอพรตะเคียนเงินตะเคียนทอง

ร่วมแสดงความคิดเห็น