ฝึกซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข

กรมควบคุมโรค จัดประชุมเชิงปฏิบัติการฝึกซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่มีความรุนแรงสูงในระดับประเทศ

วันที่ 31 พ.ค. 65 นายแพทย์เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการฝึกซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่มีความรุนแรงสูงในระดับประเทศ เพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมฟอร์จูน ริเวอร์วิว เชียงของ อ.เชียงของ จ.เชียงราย

การประชุมเชิงปฏิบัติการฝึกซ้อมแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่มีความรุนแรงสูงในระดับประเทศ ครั้งนี้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้ดำเนินการตามนโยบายในการพัฒนาระบบควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประเทศให้ได้มาตรฐานสากล สามารถ
ตรวจจับเหตุการณ์ผิดปกติได้รวดเร็วและตอบโต้ได้ทันที ภายใต้ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค (DDC’s EOC) และทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (Situation AwarenessTeam: SAT) ที่ทำกาวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ข้อมูลการระบาดของโรคและภัยสุขภาพแบบ Real Time



โดยดำเนินการร่วมกับเครือข่ายการปฏิบัติงานด้านการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (Public Health Emergency Management: PHEM) ระดับพื้นที่ โดยกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาระบบและกสไกในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านกำลังคน (Staff) ด้านวัสดุอุปกรณ์ สิ่งของ เวชภัณฑ์ (Stuf) และด้านการพัฒนาระบบศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (System) ซึ่งการฝึกข้อมแผน เป็นการพัฒนาระบบศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Systen) ที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมและซักซ้อมความเข้าใจระหว่างบุคลากรด้านสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกระทรวงกลาโหม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ในการตอบโต้สถานการณ์และบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ

การจัดประชุมฯ ครั้งนี้ เพื่อเตรียมความพร้อม ซักซ้อมความเข้าใจของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขที่มีความรุนแรงสูงในระดับประเทศ ตลอดจนเป็นการพัฒนาเครือข่ายในการบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยสามารถนำผลที่ได้จากการประชุมไปใช้พัฒนาการดำเนินงานเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มยิ่งขึ้น

การจัดประชุมฯ ดังกล่าว ใช้เวลา 3 วัน รูปแบบการจัดประชุม ประกอบด้วย
การบรรยายเรื่อง การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและทิศทางการรับมือโรค และภัยสุขภาพภายใต้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การแบ่งกลุ่มฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ (Table Top Exercise) กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีสถานการณ์แทรกซ้อนคือโรคไข้หวัดนก และกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีสถานการณ์แทรกซ้อนคือภัยจากสารเคมี และร่วมฝึกซ้อมแผนชนิดการฝึกปฏิบัติการเฉพาะด้าน (Drill Exercise) กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีสถานการณ์แทรกซ้อน คือ ภัยจากสารเคมี โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 109 คน 26 หน่วยงาน จากจังหวัดเชียงราย จังหวัดนครพนม และจังหวัดสมุทรปราการ

ร่วมแสดงความคิดเห็น