เผยมุมมองในการพัฒนานวัตกรรมอาหารจากภาคเอกชน

b1 w=27h=9

เผยมุมมองในการพัฒนานวัตกรรมอาหารจากภาคเอกชน ชี้อุตสาหกรรมอาหารในพื้นที่เป้าหมาย “Thailand Food Valley” จะต้องยกระดับความสามารถในการแข่งขัน เพื่อให้ไทยได้เป็นครัวโลกตามเป้าหมาย เผยการเปิด AEC มีข้อดีสำหรับผู้ประกอบการที่มีความพร้อม แต่ยังเป็นวิกฤตสำหรับผู้ที่ไม่พร้อม จึงต้องมีการสำรวจธุรกิจของตัวเองก่อนว่า”ทำอย่างไรจึงจะลดต้นทุนได้” เพื่อให้ได้ผลที่ดีและป้องกันการขาดทุน

ดร.อภิวัฒน์ วังวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มโนราห์อุตสาหกรรม จำกัด และประธานอุตสาหกรรม จ.สมุทรสาคร ได้รับเชิญให้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “การพัฒนานวัตกรรมอาหารจากมุมมองของภาคเอกชน” ในงานอบรม TFV” เพื่อสร้างแรงจูงใจในการประกอบธุรกิจด้านอุตสาหกรรมอาหารให้กับผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอาหารในภาคเหนือ ณ โรงแรมแซงกรีล่า จ.เชียงใหม่

ดร.อภิวัฒน์ วังวิวัฒน์
ดร.อภิวัฒน์ วังวิวัฒน์

โดยดร.อภิวัฒน์ วังวิวัฒน์ กล่าวว่า การเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารพื้นที่เป้าหมายไทย TFV นั้น จะต้องยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรมอาหาร และที่สำคัญที่สุดคือ การบริหารจัดการและการโฆษณา ซึ่งสินค้าจะเกิดขึ้นได้และสามารถเติบโตได้เร็วขึ้นอยู่ที่การโฆษณา นอกจากนี้ยังมองว่าการผลิตอาหารมีข้อดีตรงที่ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรก็ตามแต่คนก็ยังต้องการบริโภคอยู่ตลอดเวลา ส่วนตัวนั้นมองว่าการขายสำคัญกว่าการผลิต แต่ประเทศไทยไม่ถนัดในเรื่องการขาย ประเทศที่ถนัดในเรื่องการขายคือประเทศสิงคโปร์ เพราะประเทศไทยไม่ได้เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เหมือนอย่างสิงคโปร์สิงคโปร์ ฉะนั้นการดูแลแลทรัพยากรมนุษย์จึงว่าถือเป็นเรื่องที่สำคัญ และต้องพัฒนาในสิ่งที่ตัวเองชอบและถนัดจึงจะประสบความสำเร็จ

ดร.อภิวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเองก็มีข้อดีสำหรับคนที่มีความพร้อม แต่ยังเป็นวิกฤตสำหรับคนที่ไม่พร้อม ซึ่งบริษัทมโนราห์อุตสาหกรรมเองก็มีความพร้อมที่จะรับมือกับ AEC แล้ว เพราะใช้เวลาถึง 5 ปี ในการพัฒนาทรัพยากร พัฒนาระบบการตลาด พัฒนาระบบบรรจุภัณฑ์ต่างๆ รวมไปถึงระบบโลจิสติกส์ ระบบห้องน้ำ และโรงอาหารต่างที่จะมีการใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้งหมด สิ่งเหล่านี้เป็นการลดต้นทุนลง 50 เปอร์เซ็น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อีกอย่างหนึ่ง และต่อไปคือการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ถ้าต้องการที่จะพัฒนาสินค้าให้ไปสู่ต่างประเทศได้นั้นต้องมีบรรจุภัณฑ์ที่มีรูปลักษณ์ที่ดี ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นเทคโนโลยีในการเก็บอาหารไว้ใช้นานๆทั้งสิ้น ทั้งยังต้องมีการพัฒนาผลิตสินค้าให้หลากหลาย เนื่องจากห่วงโซ่อุปทานแต่ละช่วงเวลาไม่เหมือนกัน เช่น บางฤดูกาลไม่สามารถหาอาหารทะเล มาทำข้าวเกรียบกุ้งได้ ช่วงนั้นจะไม่มีการผลิตอาหารทะเลก็ต้องหันมาผลิตอย่างอื่นแทน เช่น ข้าวเกรียบเผือก เป็นต้น ถ้าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ขายดีเกษตรกรก็อยู่ดีกินดีตามไปด้วย เพราะบริษัทจะเน้นการแปรรูปทางการเกษตร TFV ถือเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการทั้งหลาย เพราะต้องมีการแปรรูปจากการทำการเกษตร ประเทศไทยมีเอกลักษณ์ที่พิเศษคือเป็นครัวของ เพราะมีการทำเกษตรที่เป็นที่ขึ้นชื่อของโลก เพราะฉะนั้นไทยแลนด์ฟู้ดวัลเลย์ก็ควรจะต้องมีการยกระดับให้เป็นครัวของโลกให้ได้ด้วยเช่นกัน

“ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องรู้ห่วงโซ่อุปทานให้ได้ ต้องมีการสำรวจธุรกิจของตัวเองว่าทำอย่างไรจึงจะลดต้นทุนได้ ในอนาคตจะมีการขึ้นค่าแรงอีก ถ้ามีการบริหารจัดการที่ไม่ดีอาจจะทำให้ธุรกิจไปไม่รอดได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นในการทำธุรกิจ ซึ่งเรามี AEC แล้ว จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการ สำหรับกลยุทธ์ทางการตลาดนั้น อย่างแรกเลยจะต้องทำให้ไม่เหมือนคนอื่นต้องมีความแตกต่างจากคนอื่นโดยสิ้นเชิง ต้องทำธุรกิจจากเล็กไปหาใหญ่แบบค่อยเป็นค่อยไป ต้องมองว่าการค้าขายเป็นเรื่องสนุก ข้อที่สองคือการส่งมอบสินค้าบริการที่ดีและต้องถูกกว่าที่อื่น เพื่อลดต้นทุน ข้อที่สามคือโฟกัสว่าสินค้าตัวนี้จะนำไปขายที่ไหน นี้คือการบริหารจัดการเพื่อลดทุนการผลิตทั้งสิ้น” ดร.อภิวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย

ร่วมแสดงความคิดเห็น