ปส.แฉขบวนการลอบส่งยาบ้าข้ามชายแดนไทย ห่วงเยาวชนเสพยาเสพติด พร้อมเร่งส่งบำบัดสุขภาพ

สรุปผล
ศป.ปส.ชน. เปิดแถลงข่าวผลการดำเนินการป้องกันปราบปรามยาเสพติดพื้นที่ชายแดน รอบ 6 เดือน เผยยังมีการแพร่ระบาดและไหลทะลักของยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การจับกุมขบวนการค้ายาเสพติดส่วนใหญ่พบว่ามีการปรับเปลี่ยนวิธีการลักลอบขนส่งยาเสพติดหลากหลายวิธี และมีจำนวนมาก ด้าน ผบ.สั่งเข้มในการตรวจค้นและป้องกันปราบปรามให้เกิดการไหลทะลักเข้าสู่ประเทศให้น้อยที่สุด พร้อมขอความร่วมมือทุกฝ่ายช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่

เมื่อ เวลา 16.00 น. วันที่ 19 มี.ค.59 ที่โรงแรมกรีนเลค รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พล.ต.กษิดิศ หลักกรด ผบ.ศป.ปส.ชน. พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่จากศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ ได้ร่วมกันแถลงข่าวสรุปผลการปฏิบัติงานการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ รอบ 6 เดือน ตั้งแต่ เดือน ตุลาคม 2558 – มีนาคม 2559 โดยได้มีการนำของกลางบางส่วนที่สามารถจับกุมและตรวจยึดได้มาแถลงพร้อมทั้งได้เผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติด และมาตรการแนวทางการดำเนินงานห้วงต่อไป โดยในการแถลงข่าวครั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าวเป็นจำนวนมาก
โดยทาง พล.ต.กษิดิศ หลักกรด ผบ.ศป.ปส.ชน. กล่าวว่า จุดประสงค์หลักของการจัดงานในครั้งนี้เพื่อต้องการที่จะประชาสัมพันธ์หน่วยศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ ในด้านการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องยาเสพติดซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่เกิดมานานในสังคมไทยโดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนของเชียงใหม่และเชียงราย สำหรับผลการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือได้เริ่มต้นดำเนินงานในการปราบปรามยาเสพติดตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งปัจจุบันนี้ยาเสพยังเป็นปัญหาของสังคมไทยโดยมีลักลอบขนยาเสพติดเข้ามาภายในประเทศในแต่ละปีเป็นร้อยล้านกว่าบาท ซึ่งในปี พ.ศ. 2557 จับกุมได้ ประมาณ 2,000,000 เม็ด ปี พ.ศ. 2558 ประมาณ 8,000,000 เม็ด และปี พ.ศ. 2559 ในครึ่งปีนี้จับกุมได้ประมาณ 4,000,000 เม็ดเศษ ฉะนั้นจึงเป็นปัญหาที่สังคมจะต้องร่วมกันแก้ไขและป้องกันปราบปรามปัญหาเรื่องยาเสพติด หากไม่รีบดำเนินการผลลัพธ์ที่ตามมาอาจก่อให้เกิดปัญหาแก่สังคมไทยโดยเฉพาะเด็กเยาวชนซึ่งเป็นรากฐานของประเทศที่จะต้องไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติดเหล่านั้น

ทั้งนี้ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ศป.ปส.ชน” นั้น จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ เป็นหน่วยในโครงสร้างของ ศูนย์อำนวยการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติดชาติ ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ (ศป.ปส.ชน.) ประกอบด้วยคณะทำงาน คณะหนึ่ง จากผู้บังคับหน่วย หน.หน่วยงาน หน.ส่วนราชการ ที่รับผิดชอบ ในการป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติด ในพื้นที่ 3 จังหวัด ชายแดนภาคเหนือ แบ่งออกเป็น คณะทำงานด้านการป้องกัน คณะทำงานด้านการสกัดกั้นปราบปราม และคณะทำงาน ด้านการบำบัดรักษา รวม 3 คณะ จำนวน 105 คน
ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ (ศป.ปส.ชน.) มีหน่วยในอัตรา ประกอบด้วย 3 กองบังคับการควบคุม ศป.ปส.ชน.10 ชุดปฏิบัติการ 5 กองบังคับการควบคุมพื้นที่พิเศษ ขึ้นควบคุมทางยุทธการ และ 1 กองร้อยทหารพราน เป็นหน่วยสนับสนุน ภารกิจหลักของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ (ศป.ปส.ชน.) คือ การอำนวยการ บูรณาการ และการประสานการปฏิบัติ กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการสกัดกั้น ปราบปราม การลักลอบลำเลียง การค้ายาเสพติด การติดตามตรวจสอบเป้าหมายกลุ่มขบวนการค้ายาเสพติดดำเนินการ เพื่อนำไปสู่การสลายโครงสร้างและทำลายกลุ่มขบวนการปฏิบัติงาน การเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้หมดไปอย่างยั่งยืน

โดยเป้าหมายและพื้นที่รับผิดชอบในปี 2559 ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ (ศป.ปส.ชน.) รับผิดชอบเป้าหมายยาเสพติด จำนวน 288 เป้าหมาย หมู่บ้านเป้าหมาย 95 หมู่บ้าน ในพื้นที่ปฏิบัติการ 3 จังหวัด 14 อำเภอชายแดน และ 7 อำเภอติดต่อตอนในของจังหวัดแม่ฮ่องสอน, จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย

ผลการปฏิบัติงานด้านการข่าวการตรวจสอบบุคคลเป้าหมายยาเสพติด มีการตรวจสอบบุคคลเป้าหมาย จำนวน 288 เป้าหมายแล้ว พบตัวสามารถเฝ้าตรวจติดตามได้ 260 เป้าหมาย เป้าหมายที่ย้ายอยู่ต้องโทษหนีและตายจำนวน 28 เป้าหมาย การจัดทำสนามรบด้านการข่าวยาเสพติด IPB ได้ดำเนินการในหมู่บ้าน เป้าหมายหลักจำนวน 44 เป้าหมายเรียบร้อยแล้วดำเนินการในหมู่บ้าน เป้าหมายรองแล้วจำนวน 9 หมู่บ้าน รวม 53 หมู่บ้าน และจะดำเนินการต่อให้ครบทั้ง 95 หมู่บ้านเป้าหมายต่อไป การปฏิบัติงานด้านการข่าวอื่นๆ เช่น การลาดตระเวน/เฝ้าตรวจทางการข่าว การประชุมแบบบูรณาการ ด้านการข่าว กับหน่วยงานภาคีในพื้นที่การรวบรวมใช้และกระจายข่าวสาร ข่าวกรอง ด้านยาเสพติด ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดมา คิดเป็นจำนวนครั้งได้ 774 ครั้ง

ด้านผลการปฏิบัติงานด้านยุทธการ ประกอบด้วยงานหลัก 2 งาน คือ งานการสลายโครงสร้างกลุ่มขบวนการค้ายาเสพติด และงานการสกัดกั้น ปราบปรามยาเสพติด มีผลการปฏิบัติในรอบ 6 เดือน ดังนี้ งานการสลายโครงสร้างสามารถพิสูจน์ทราบจัดระเบียบข้อมูลเป้าหมายได้ 260 เป้าหมาย คิดเป็นร้อยล่ะ 100 เป้าหมายอยู่ในขั้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 164 เป้าหมาย เป้าหมายที่สามารถสลายโครงสร้างกลุ่มขบวนการได้ จำนวน 75 เป้าหมาย เป้าหมายที่สามารถทำลายได้ จำนวน 21 เป้าหมาย งานการสกัดกั้นปราบปรามปฏิการลาดตระเวนพื้นที่และเส้นทาง จำนวน 647 ครั้ง ดำเนินการตั้งจุดตรวจ/จุดสกัดกั้นเพื่อสกัดกั้น จำนวน 1,255 ครั้ง ปฏิบัติการจู่โจมปิดล้อม ตรวจค้นเป้าหมาย จำนวน 99 ครั้ง ปฏิบัติการเปิดยุทธการร่วมกับ กกล.รักษาความเงียบสงบเรียบร้อย, จนท.ตำรวจ,จนท. ปปส. และฝ่ายปกครอง จำนวน 5 ครั้ง และผลการจับกุมคดียาเสพติดในรอบ 6 เดือน ดังนี้ จำนวนคดี 271 คดี ผู้ต้องหาและของกลางที่ยึดได้ ผู้ต้องหา จำนวน 394 คน เสียชีวิต จำนวน 6 คน ยาบ้า จำนวน 4,877,869 เม็ด ไอซ์ จำนวน 41,406 กรัม เฮโรอีน จำนวน 15,250 กรัม ฝิ่น จำนวน 23,792 กรัม ยึดทรัพย์ เงินสด จำนวน 1,753,603 บาท รถยนต์ จำนวน 4 คัน รถจักรยานยนต์ จำนวน 12 คัน อาวุธ จำนวน 39 กระบอก
ส่วนผลการปฏิบัติการที่สำคัญของศูนย์การปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ (ศป.ปส.ชน.) โดย กองร้อยทหารพรานที่ 3106 ดำเนินการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด เส้นทางถนนสายดอยหลวง-เชียงแสน อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย เมื่อ 7ต.ค. 2558 สามารถจับกุมการลักลอบลำเลียงยาบ้าจำนวน 700,000 เม็ด ผู้ต้องหา 1 คน พร้อมรถยนต์ 1 คัน ศูนย์การปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ (ศป.ปส.ชน.) โดยกองบังคับการควบคุมที่ 2 และชุดปฏิบัติการ ศป.ปส.ชน. ที่ 7 ตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด จากงานด้านการข่าวบริเวณถนน บ้านสันเกร็ดทอง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เมื่อ 17 ธ.ค. 2558 สามารถจับกุมการลักลอบลำเลียงยาบ้า จำนวน 184,000 เม็ด ผู้ต้องหา 1 คน รถจักรยานยนต์ 1 คัน ศูนย์การปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ (ศป.ปส.ชน.) โดยส่วนบังคับใช้กฎหมาย บก.ศป.ปส.ชน. ปฏิบัติการลาดตระเวนพิสูจน์ทราบพื้นที่ต้องสงสัยจากงานด้านการข่าว บริเวณป่าข้างทาง บ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อ 7 พ.ย. 2558 สามารถตรวจยึดยาบ้า จำนวน 50 มัด 100,000 เม็ด ศูนย์การปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ (ศป.ปส.ชน.) โดยกองบังคับการ ควบคุมพื้นที่พิเศษ ดอยวาวี ปฏิบัติการล่าตระเวเส้นทาง บนถนนบ้านดอยช้าง-บ้านดอยล้าน อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เมื่อ 8 ธ.ค. 2558 สามารถตรวจค้น จับกุ้ม ยึดยาบ้า จำนวน 20,000 เม็ด เฮโรอีน 735 กรัม ศูนย์การปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ (ศป.ปส.ชน.) โดย ชป.ศป.ปส.ชน.ที่ 2 บก.ควบคุมที่ 1 ปฏิบัติการลาดตระเวนเส้นทางบริเวณฝายแม่นะ ต,แม่แม่นะ อ.เชียงดาว เมื่อ 2 มี.ค 2559 จากงานด้านการข่าวสามารถซุ่มจับกุมการลักลอบลำเลียงยาบ้า จำนวน 8,000 เม็ด ฝิ่นดิบ จำนวน 9 กิโลกรัม ศูนย์การปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ (ศป.ปส.ชน.) โดย บก.ควบคุมที่ 2 และ ชป.ศป.ปส.ชน. ที่ 7 ร่วมกับ ฉก.ม. 2 กกล.ผาเมือง ปฏิบัติการซุ่มโจมตีขบวนการลักลอบลำเลียงยาเสพติด จากงานด้านการข่าว เมื่อ 10 มี.ค. 2559 ในพื้นที่ ต.สันเกร็ดทอง อ.แม่สาย ได้ยาบ้าจำนวน 200,000 เม็ด ฝ่ายตรงข้ามเสียชีวิต 1 คน ควบคุมตัวได้ 4 คน การปิดยุทธการร่วมเพื่อกวาดล้าง ทำลายแหล่งพักยาเสพติดได้ปฏิบัติการร่วม จำนวน 5 ครั้ง โดย ศูนย์การปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ (ศป.ปส.ชน.) ร่วมกับ กองกำลังผาเมือง, กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย, จนท. ปปส. ภาค 5, ตำรวจภูธรภาค 5 และฝ่ายปกครองในพื้นที่ดำเนินการต่อหมู่บ้านเป้าหมาย บ้านหนองเขียว, บ้านป่าหนา, บ้านห้วยคุ, บ้านจะพือ และบ้านแผ่นดินทอง

สำหรับโครงการระหว่างประเทศที่มีความคืบหน้าไปมากอีกโครงการหนึ่ง ในด้านปราบปรามยาเสพติดระหว่างประเทศ ได้แก่ โครงการ SAFE MEKONG หรือปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านการข่าวสำหรับประเทศสมาชิก ได้แก่ ประเทศจีน ลาว เมียนมา และไทย กำลังขยายไปสู่ความร่วมมือ 6 ประเทศ รวมกัมพูชา และเวียดนามนั้น

ปัจจุบันมีการประสานการปฎิบัติ ในการรวบรวมข้อมูลยาเสพติดของแต่ละประเทศ และระหว่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ เป็นเวที ในการระดมสมอง เพื่อนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และประสานข้อมูลในทางลับ เพื่อสกัดกั้น จับกุม นักค้ายาเสพติด ที่ลักลอบลำเลียงขนยาเสพติดผ่านประเทศสมาชิก รวมทั้งการสกัดกั้น สารเคมี สารตั้งต้นเพื่อนำไปสู่ การทำลายแหล่งผลิต ต้นตอ ของขบวนการให้ได้ในที่สุด ผลงานที่เห็นรูปธรรม ในห้วงเวลา ได้แก่ การจับกุมยาเสพติด ที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก ยาบ้าจำนวน 6.3 ล้านเม็ด ในห้วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และล่าสุด เมื่อ 3-5 มีนาคม ที่ผ่านมา ชุดปฎิบัติการ CCDAC กรุงย่างกุ้ง ร่วมกับ เมืองมัณฑะเลย์ ปฏิบัติการจับกุม ขยายผล ได้ยาเสพติด ยาบ้ากว่า 6 ล้านเม็ด ไอซ์ 70 กิโลกรัม เฮโรอีน 15 กิโลกรัม ฝิ่น 13 กิโลกรัม สารแอมโมเนียมคลอไรน์ 1000 กิโลกรัม ซึ่งถ้าหลุดเข้ามาได้จะสร้างความหายนะให้กับคนไทยและประเทศไทยเป็นอย่างมาก

ด้านผลการปฎิบัติงานด้านกิจการพลเรือนศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ (ศป.ปส.ชน.) ได้ดำเนินการด้านงานพลเรือนโดยใช้หลักการว่า ประชาชนเป็นศูนย์กลางราชการเป็นส่วนสนับสนุนตามนโยบาย ประชารัฐเน้นการมีส่วนร่วม ของพี่น้องประชาชน ในทุกขั้นตอน เข้าดำเนินการในพื้นที่ 95 หมู่บ้านเป้าหมาย มีผลการดำเนินงานหลักๆ 4 ด้าน กล่าวคือ งานด้านการป้องกัน ได้จัดกิจกรรม ในรูปแบบต่างๆได้แก่ กิจกรรมเสาธง 5 นาที โครงการร่วมฝึกวินัย ลูกเสือ เนตรนารี โครงการฝึกอบรม เยาวชนต้นกล้า ต้านภัยยาเสพติด โครงการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด โดยดำเนินการไปแล้วจำนวน 207 ครั้ง มีเป้าหมายอยู่ที่ตัวเยาวชน และโรงเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น ในพื้นที่ปฎิบัติการ

โดยงานด้านบำบัดรักษา ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม ของชุมชน หมู่บ้าน ทำการบำบัดผู้เสพ ผู้ติด แบบที่เหมาะสม กับบุคคล และสภาพแวดล้อมการติดตามผลหลังการบำบัด อย่างเป็นรูปธรรมเน้นผู้เสพ ผู้ติด ในหมู่บ้านเป้าหมาย มีโครงการที่สำคัญคือ โครงการแก้ไขปัญหา ผู้เสพ ผู้ติด โดยชุมชน และโครงการติดตาม ผู้ผ่านการบำบัดที่เป็นรูปธรรม ดำเนินการแล้ว จำนวน 117 ครั้ง

ส่วนงานการเสริมสร้างชุมชนเข็มแข็ง ศป.ปส.ชน.ให้ความเข้มแข็งของชุมชน หมู่บ้านและตัวชาวบ้านเป็นหลัก โดยการชักชวน ให้ชาวบ้านได้คิดวิเคราะห์ถึงปัญหาและทางออก ของชุมชนเองประกอบกับการ ร่วมเรียนรู้ตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปด้วยกัน โดยกำหนดโครงการไว้ 3 โครงการ ได้ การเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง การฝึกราษฎรอาสา และการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจุบันได้ดำเนินการแล้วนวน 436 ครั้ง จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แล้ว จำนวน 3 ศูนย์ในปีนี้ศูนย์ปฎิบัติการป้องกันปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ (ศป.ปส.ชน. ) กำหนดเป้าหมาย การดำเนินการไว้ จำนวน 13 หมู่บ้าน ที่จะพัฒนาไปสู่ การเป็นหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดิน

ร่วมแสดงความคิดเห็น