เผยแนวโน้มการพัฒนานวัตกรรมอาหารใน 5 ปีข้างหน้า

b1 w=27h=10

เผยแนวโน้มการพัฒนานวัตกรรมอาหารใน 5 ปีข้างหน้า ชี้อาหารฟังก์ชั่นหรืออาหารเสริม อาหารอินทรีย์ อาหารทางการแพทย์ และอาหารที่พัฒนาจากนวัตกรรมใหม่ ถือเป็นอาหาร 4 ด้านที่มีทิศทางเติบโต เหมาะสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะคว้าเป็นโอกาสไว้ ย้ำต้องมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยเหลือด้วย เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทยสู่ครัวโลก

เมื่อวันที่ผ่านมา ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส ผู้จัดการฝ่ายยุธศาสตร์นวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และนายไกรเสริม โตทับเที่ยง ฝ่ายการตลาด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายปลากระป๋องปุ้มปุ้ย ได้จัดการเสวนาในหัวข้อ “สถานการณ์ตลาดของอุตสาหกรรมอาหารกับโอกาสของผู้ประกอบการไทย” และ “ทิศทางนวัตกรรมอาหารไทยเชื่อมต่อเทรนด์ของโลก” ณ ห้องลานนาบอลรูม 2 ชั้น 2 โรงแรมแซงกรีล่า จังหวัดเชียงใหม่

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

โดย ดร.สุรอรรถ ศุภจัตุรัส ผู้จัดการฝ่ายยุธศาสตร์นวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ในความหมายของนวัตกรรมนั้นมีอยู่ 3 อย่าง ได้แก่ ความใหม่ การใช้ความรู้ในการคิดสร้างสรรค์ และมีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจสังคม ส่วนในความหมายของนวัตกรรมอาหารคือ อาหารที่มีมาตรฐานตามสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนด โดยสามารถที่จะวางขายได้ภายใต้กฎหมายบังคับ นอกจากนี้การวิจัยจึงได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับนวัตกรรม คือในความหมายของการวิจัยจะเป็นการใช้เงินไปสร้างความรู้ แต่นวัตกรรมนั้นจะเปลี่ยนความรู้ไปเป็นเงินทอง ฉะนั้นทางผู้ประกอบการจึงต้องใช้ความรู้จากกการวิจัยมาเปลี่ยนให้เป็นเงินในทางการค้า ซึ่งในการเชื่อมต่อนวัตกรรมอาหารไทยกับเทรนด์ของตลาดโลกนั้น ทิศทางที่จะกำหนดสินค้านวัตกรรมอาหารในอนาคตมีอยู่ 4 ด้าน อันได้แก่ สินค้าอาหารที่ก่อให้เกิดแรงปรารถนา อาหารสุขภาพ อาหารควบคุมน้ำหนัก และอาหารที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมเมือง เป็นต้น
สำหรับแนวโน้มการพัฒนานวัตกรรมอาหารใน 5 ปีข้างหน้านั้น นับว่ามีอยู่ 4 ด้านที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของนวัตกรรมอาหารไทยเชื่อมต่อเทรนด์ของโลก อันได้แก่ 1.อาหารฟังก์ชั่นหรืออาหารเสริม จะเป็นอาหารที่เกี่ยวข้องกับอาหารบำรุงสมอง ความสวยงามจากภายในสู่ภายนอก สามารถควบคุมน้ำหนักได้ และเป็นอาหารสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น 2.อาหารอินทรีย์ คือ อาหารที่ได้จากผลิตผลทางการเกษตรโดยไม่ใช้วัตถุอันตรายทางสารเคมี 3.อาหารทางการแพทย์ จะเป็นอาหารสำหรับผู้ป่วย และ4.อาหารที่พัฒนาจากนวัตกรรมใหม่ คือ อาหารที่แปลกใหม่ รสชาติอร่อยแตกต่างจากของเดิม

ซึ่งอาหารทั้ง 4 ด้านนี้ ถือได้ว่าเป็นแนวทางที่จะเป็นตัวกำหนดสถานการณ์ตลาดของอุตสาหกรรมอาหารกับโอกาสของผู้ประกอบการไทย และ ทิศทางนวัตกรรมอาหารไทยเชื่อมต่อเทรนด์ของโลก ที่จะช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ของอาหารไทยเข้าสู้กับเทรนด์ของโลกได้ โดยจะต้องมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยเหลือด้วย

ด้านนายไกรเสริม โตทับเที่ยง ฝ่ายการตลาด บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายปลากระป๋องปุ้มปุ้ย กล่าวว่า ในช่วงรุ่นแรกปลากระป๋องตราปุ้มปุ้ยเป็นปลากระป๋องชนิดเดียวที่มีกระดาษห่อด้วยเหตุผลบางประการ โดยประการที่หนึ่งคือ มีการกระจายสินค้าของปุ้มปุ้ยอยู่ทั่วไปทุกร้านค้า และร้านค้าในสมัยก่อนไม่ได้ดีเหมือนร้านค้าสมัยใหม่ จึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญของความปลอดภัยทางด้านอาหารเป็นหลัก เหตุที่ใช้กระดาษห่อกระป๋องนั้นเนื่องจากต้องการป้องกันฝุ่นจับ โดนน้ำ และกันสนิมได้ เพิ่มความปลอดภัยทางด้านอาหารจึงจำเป็นต้องใช้กระดาษห่อกระป๋องถึงแม้ว่าจะมีต้นทุนสูงกว่า ในประเด็นที่สองคือ สมัยโบราณครั้งก่อนเทคโนโลยีในการผลิตกระป๋องจะมีสองส่วนและสามส่วน โดยแบบสามส่วนจะมีส่วนหัวกระป๋อง ตัวกระป๋อง และส่วนล่างสุด แต่เมื่อวางสินค้าต่อกันแล้วจะเกิดการล่วงหล่นและทำให้กระป๋องบุกเสียหายได้ง่าย หลังจากนั้นจึงมีการพัฒนาห่อกระดาษเพื่อให้วางซ้อนกันได้โดยไม่ล่วงหล่น จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของปลากระป๋องปุ้มปุ้ยในปัจจุบัน ซึ่งปลากระป๋องปุ้มปุ้ยเป็นปลาที่ทำมาจากปลาซาดีนเจ้าแรกของประเทศไทย และเป็นปลาตัวใหญ่เนื้อแน่นคัดพิเศษ นับว่าเป็นจุดขายของปลากระป๋องปุ้มปุ้ย ดังนั้นในการคิดค้นรูปแบบผลิตภัณฑ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อผลิตออกมาแล้วต้องสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง

นายไกรเสริม กล่าวต่อว่า ในด้านจุดเปลี่ยนทางการตลาดที่ทำให้ปลากระป๋องตราปุ้มปุ้ยเป็นหนึ่งในตอนนี้คือ การมุ่งเน้นทางด้านการตลาดเป็นหลัก การพัฒนาสินค้า การเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และตอบสนองของความต้องการของการตลาดได้ โดยมองความต้องการของผู้บริโภค และพัฒนารสชาติของปลากระป๋องใหม่ๆให้แตกต่างจากเดิม ฉะนั้นกลไกทางการตลาดจึงเป็นปัจจัยสำคัญเพื่อเปิดช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าในการขายให้กับผู้ประกอบการอีกต่อหนึ่ง สิ่งเหล่านี้จึงเป็นตัวกำหนดทิศทางของการตลาดของผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องปุ้มปุ้ย

ทั้งนี้มุมมองของการตลาดในปัจจุบันหลายคนอาจจะมองว่ามีแต่แบรนด์ใหญ่ๆที่อยู่รอดได้ ส่วนธุรกิจใหม่ๆจะสามารถเติบโตได้หรือไม่นั้น หากลองย้อนหลังกับไปในสิบปีถ้าเป็นธุรกิที่ใหญ่โตจะอยู่รอดได้ แต่ในปัจจุบันนี้ต้องสนใจเรื่องเทรนด์ของสินค้าเป็นหลัก โดยเฉพาะทางด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ ถ้าหากทำการตลาดดีเพียงใดแต่การสื่อสารไปไม่ถึงผู้บริโภคก็ไม่มีผล สินค้าใหม่สามารถยืนอยู่ได้เพราะสื่อออนไลน์ในการเผยแพร่สินค้าให้เป็นที่รู้จักของคนในสังคมยุคใหม่ นายไกรเสริม กล่าวส่งท้าย

ร่วมแสดงความคิดเห็น