รองอธิบดีฝนหลวง ประชุมเตรียมปฏิบัติการยับยั้งลูกเห็บ ในเขต 15 จังหวัดภาคเหนือ

เตรียมพร้อม (1)

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 24 มี.ค.59 ที่บริเวณห้องประชุมท่าอากาศยานทหาร กองบิน 41 นายสุรสีห์ กิตติมณฑล รองอธิการบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร นาวาอากาศเอกชาตินนท์ สท้านไผท ผู้บังคับกองบิน 41 ได้ร่วมกันประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการฝนหลวงประกอบด้วยนักบิน นักวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและทีมวิจัย ในการวางแผนการปฏิบัติการขึ้นยิงพลุสาร ซิลเวอร์ไอโอไดด์ เพื่อสัดกั้นการเกิดพายุลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนือ รวมทั้งยับยั้งและบรรเทาความรุนแรงของพายุลูกเห็บที่อาจสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้วางแผนร่วมกับกองทัพอากาศที่จะขึ้นบินเพื่อปฏิบัติการยิงพลุสาร ซิลเวอร์ไอโอไดด์ เข้าไปยังกลุ่มเมฆเพื่อเร่งให้เมฆก่อตัว และกลั่นเป็นฝน ก่อนที่จะไปรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนใหญ่และกลายเป็นพายุลูกเห็บ ในห้วงภัยแล้งนี้

สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติการ ก่อนการขึ้นบินจะมีการประเมินผลด้วยระบบเรดาห์ที่ควบคุมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไตตัน ซึ่งขณะนี้ถือเป็นระบบใหม่ที่ให้คุณภาพและความแม่นยำในการตรวจวัดที่สูงสุดในประเทศไทย ซึ่งติดตั้งแห่งแรกไว้ที่ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ สามารถที่จะมองเห็นผลึกน้ำแข็งภายในเมฆได้ ต่างจากระบบเดิมที่มักจะแยกน้ำกับผลึกน้ำแข็งไม่ออก หลังจากตรวจดูแนวโน้มความรุนแรงและโอกาสของการกลั่นตัวของเมฆที่จะเกิดเป็นพายุลูกเห็บแล้ว เจ้าหน้าที่จะนำมาบันทึกของบนแผนที่และส่งเครื่องบินไปปฏิบัติการ โดยครอบคลุมพื้นที่ดูแล 15 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปางลำพูน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตรและกำแพงเพชร

เตรียมพร้อม (2)

โดยทาง นายสุรสีห์ กิตติมณฑล รองอธิการบดีฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า ในการเดินทางประชุมติดตามการดำเนินการในวันนี้ซึ่งมีแนวโน้มว่า ในระหว่างวันที่ 25 – 27 มี.ค.59 มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดพายุฤดูร้อน ดังนั้นจึงได้มีการจัดประชุมติดตามในเรื่องของปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อยับยั้งพายุลูกเห็บประจำปี 2559 โดยภายใต้ความร่วมมือระหว่างกองทัพอากาศและ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร และในขณะนี้ก็ได้มีการเตรียมความพร้อมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเครื่องบิน Alpha Jet ของกองทัพอากาศที่สนับสนุนทางกรมฝนหลวงในการนำมาใช้งานในเรื่องของพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ ที่จะต้องนำมาใช้ในการปฏิบัติการ ซึ่งทางกองทัพอากาศก็เป็นผู้พัฒนาในเรื่องของพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ เรื่อยมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 และเป็นการทำงานร่วมกันจึงคาดว่าจะทำให้การดำเนินการในครั้งนี้มีประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น

ขณะเดียวกันในการดำเนินการครั้งนี้จะมีพื้นที่คลอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งภาคเหนือ เนื่องจากเครื่องบิน Alpha Jet มีรัศมีในการบินค่อนข้างที่จะมีประสิทธิภาพและมีความรวดเร็ว ส่วนการติดตามข้อมูลในเรื่องของตัวสภาพเมฆนั้นได้มีการใช้ระบบ ไทรทัน ที่ติดตั้งอยู่ที่เรดาร์ ของอำเภออมก๋อย ดังนั้นในการที่จะติดตามข้อมูลสภาพเมฆ ประอกบกับการทำงานร่วมกันระหว่างภาคอากาศกับภาคพื้น ในการที่จะส่งสัญญาณ รายงานสภาพเมฆ จึงคาดว่าในการปฏิบัติการในปีนี้ก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากประสบการณ์ของปีที่แล้วซึ่งจะได้นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์ถึงจุดอ่อนและดำเนินการแก้ไข ซึ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นแน่นอน

เตรียมพร้อม (3)

รองอธิการบดีฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในส่วนของการปฏิบัติการฝนหลวงสามารถใช้เป็นเครื่องมือที่จะลดความเสียหายทางเศรษฐกิจ เนื่องจากลูกเห็บจะเกิดเฉพาะเมฆฝนฟ้าคะนองจึงนำไปสู่การใช้เทคนิคทำฝนเมฆเย็น ขั้นตอนที่ 5 โจมตี ดังนั้นเม็ดน้ำแข็งเหนือระดับเยือกแข็งจะละลายกลายเป็นฝน ทำให้ลดความเสียหายที่เกิดจากพายุลูกเห็บได้ การปฏิบัติการฝนหลวงเมฆเย็น นักบินจะทำการยิงพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ที่ระดับความสูงเหนือระดับเยือกแข็ง และสำหรับการปฏิบัติการประจำวันจะประชุมร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือเพื่อวิเคราะห์สภาพอากาศและประเมินพื้นที่เสี่ยงภัย ได้แก่ แผนที่อากาศผิวพื้น ภาพถ่ายดาวเทียม ดัชนีตัวชี้วัดอากาศผลตรวจอากาศชั้นบน จากนั้นนักวิชาการและนักบินร่วมกันวางแผนการปฏิบัติการฝนหลวงจาก Remote TITAN เพื่อกำหนดกลุ่มเมฆเป้าหมายตามเกณฑ์การปฏิบัติการฝนหลวงเมฆเย็น

อย่างไรก็ตามโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิบัติการฝนหลวงยับนั้งลูกเห็บโดยการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆเย็นใช้เครื่องบินโจมตีแบบที่ 7 (Alpha Jet) ของกองทัพอากาศ จำนวน 2 เครื่อง และเพื่อประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งลูกเห็บ ใช้พลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ จำนวน 500 นัด บินปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงฤดูร้อนระหว่างวันที่ 21 มี.ค. – 20 พ.ค.59 ณ ฐานปฏิบัติการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ สนามบินกองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณพื้นที่ภาคเหนือในรัศมีการตรวจวัดของสถานีเรดาร์ฝนหลวงอมก๋อย 240 กิโลเมตร โดยเครื่องเรดาร์จะทำการตรวจวัดกลุ่มฝนทุกๆ 6 นาที และโปรแกรมประยุกต์ TITAN ติดตามกลุ่มฝนไปพร้อมกันโดยอัตโนมัติ

ร่วมแสดงความคิดเห็น