วัดกู่เต้าจัดประเพณีปอยสางลอง-บวชลูกแก้ว พรรพชาถวายในหลวง

บวชลูกแก้ว (2)

เมื่อเวลา 09.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณภายในวัดกู่เต้า ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ได้มีการจัดงานประเพณีปอยสางลอง-บวชลูกแก้ว โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ครั้งที่ 14 ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่น่าน่าสนใจของวัดกู่เต้าที่ได้มีการจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีประชาชนและชาวบ้านในพื้นที่เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้บรรยากาศภายในงานเป็นไปอย่างคึกคัก โดยทางกลุ่มผู้จัดงานได้มีการแห่ลูกแก้ว (คนที่บวช) เข้ามายังบริเวณภายในวัด พร้อมกับขบวนแห่ที่มีดนตรีประกอบสนุกสนาน และได้มีการจัดซุ้มที่พักให้กับลูกแก้ว (คนที่บวช) เป็นโซนๆ ภายในวัด ซึ่งจะมีญาติพี่น้องเป็นผู้ดูแลและคอยรับ นอกจากนี้บางซุ้มได้มีการตกแต่งอย่างยิ่งใหญ่อลังการ ก่อนจะนำนำลูกแก้วเข้าไปในวิหารเพื่อทำพิธีรับศีล และแห่รอบวิหาร 3 รอบ
โดยงานประเพณีบวชลูกแก้ว (ปอยส่างลอง) ซึ่งเป็นประเพณีบวชสามเณรตามแบบล้านนา และไทใหญ่ ที่จัดขึ้นนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บุตรหลานได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และมีความเชื่อว่า ได้กุศลที่ยิ่งใหญ่ แรงกว่าการบวชพระภิกษุ ส่วนปอยส่างลองหรืองานบวชลูกแก้วนั้นเป็นพิธีการเฉลิมฉลองของการบรรพชาสามเณรในซึ่งปกติจะมีการจัดงานอยู่ประมาณสามวัน แต่หากผู้ที่ทำการบวชนั้นมีฐานะดีก็จะมีการฉลองยาวนานเป็น 5 หรือ 7 วันได้ ซึ่งงานดังกล่าวนี้จะนิยมจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม หรือเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงหน้าแล้งที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ว่างเว้นจากการทำนาทำไร่ และเป็นช่วงปิดเทอมภาคฤดูร้อนของเด็กๆ ด้วย โดยประเพณีปอยส่างลองนี้เป็นประเพณีของคนไทยซึ่งมีเชื้อสายเป็นชาวไทใหญ่ ดังนั้นจึงจะพบเห็นประเพณีนี้กันมากในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และในบางส่วนของภาคเหนือ รวมทั้งจังหวัดเชียงใหม่ด้วย

บวชลูกแก้ว (1)
ส่วนในการบรรพชาเป็นสามเณรนั้นก็เพื่อศึกษาพุทธธรรมและเพื่อเป็นการทดแทนคุณบิดามารดา รวมถึงเพื่อให้บุตรหลานได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและมีความเชื่อว่า ได้กุศลแรกกว่าการอุปสมบทพระภิกษุ ซึ่งการจัดงานจะมีสามวันด้วยกัน โดยวันแรกจะนำบรรดาเด็กชายมาเข้าพิธีโกนแต่ไม่โกนคิ้ว (พระพม่าไม่โกนคิ้ว) แต่งหน้าทาปากสวมเสื้อผ้าอาภรณ์สวยงาม และโผกผ้าแบบพม่า ประดับด้วยมวยผมของบรรพบุรุษที่เก็บรักษาไว้ แล้วตกแต่งด้วยดอกไม้ เสร็จแล้วนำเด็กน้อยซึ่งตอนนี้เรียกว่า “ส่างลอย หรือ ลูกแก้ว” ไปขอขมาและรับศีลรับพรตามบ้านญาติผู้ใหญ่ที่นับถือ ส่วนในวันที่สอง จะมีการแห่ส่างลอง หรือ ลูกแก้ว กับขบวนเครื่องไทยทานไปตามถนนสายต่างๆ จะมีผู้มาร่วมขบวนมากมายโดยให้ส่างลอง หรือ ลูกแก้ว ขี่ม้าหรือถ้าไม่มีม้าก็จะขี่คอคน ซึ่งเรียกว่า “พี่เลี้ยง” หรือ “ตะแปส่างลอง” และในวันที่สาม จะแห่ส่างลองไปตามถนนอีกครั้ง จากนั้นก็ไปรวมกันที่วัดเพื่อทำพิธีบวชเป็นสามเณรที่วัดตามคติความเชื่อของทางล้านนา – ไทใหญ่ มีความเชื่อว่าบวชเณรได้กุศลอันยิ่งใหญ่

ร่วมแสดงความคิดเห็น