“สุรสีห์”ขึ้นเหนือถกร่วม ประชุมแผนปฏิบัติการ พร้อมยับยั้งพายุลูกเห็บ

B3รองอธิบดีอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตรประชุมร่วมกองทัพอากาศวางแผนปฏิบัติการยับยั้งการเกิดพายุลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนือ ปี 2559 กรมฝนหลวงและการบินเกษตรร่วมกับกองทัพอากาศ จัดเตรียมเครื่องบินอัลฟาเจ็ต จำนวน 2 เครื่อง ขึ้นยิงพลุสารซิลเวอร์ไอโอไดด์ เพื่อสกัดกั้นการเกิดพายุลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนือ

เมื่อวันที่ผ่านมา ณ ท่าอากาศยานทหารกองบิน 41 เชียงใหม่ นายสุรสีห์ กิตติมณฑล รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร และนาวาอากาศเอก เสกสัณน์ ไชยมาตย์ ผู้อำนวยการกองปฏิบัติกิจพิเศษกรมยุทธการทหารอากาศ และนาวาอากาศเอกชาตินนท์ สท้านไผท ผู้บังคับการกองบิน 41 จัดพิธีเปิดการปฏิบัติการฝนหลวงและประชุมหน่วยงานที่เกี่ยงข้องในการปฏิบัติการฝนหลวง ประกอบด้วยนักบิน นักวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและทีมวิจัย

ทั้งนี้เพื่อวางแผนการปฏิบัติขึ้นยิงพลุสาร ซิลเวอร์ไอโอไดด์ เพื่อสกัดกั้นการเกิดพายุลูกเห็บในพื้นที่ภาคเหนือ รวมทั้งยับยั้งและบรรเทาความรุนแรงของพายุลูกเห็บที่อาจจะสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยกรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้วางแผนร่วมกับกองทัพอากาศที่จะขึ้นบินเพื่อปฏิบัติการยิงพลุสาร ซิลเวอร์ไอโอไดด์ เข้าไปยังกลุ่มเมฆเพื่อเร่งให้เมฆก่อตัว และกลั้นเป็นฝน ก่อนที่จะรวมตัวกันเป็นกลุ้มก้อนใหญ่และกลายเป็นพายุลูกเห็บ สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติการ ก่อนการขึ้นบินจะมีการประเมินผลด้วยระบบเรดาห์ที่ควบคุมด้วยโปรแกรม

คอมพิวเตอร์ไตตัน ถือเป็นระบบใหม่ที่ให้คุณภาพและความแม่นยำในการตรวจวัดที่สูงสุดในประเทศไทย ซึ่งติดตั้งแห่งแรกไว้ที่อำเภอ อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยครอบคลุมพื้นที่ดูแล 25 จังหวัดคือ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตรและกำแพงเพชร

โครงการปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งลูกเห็บ เป็นโครงการตามพระราชประสงค์เมื่อปี 2542 ประชาชนได้รับความเสียหายเนื่องจากพายุลูกเห็บ ฝนหลวงต้องมีการปฏิบัติการยับยั้งลูกเห็บ จึงทำให้เกิดโครงการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อยับยั้งลูกเห็บ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ และศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศ กองทัพอากาศ โดยโครงการนี้เริ่มตั้งแต่ปี 2549 จากการร่วมกันพัฒนาพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ และทดสอบทำฝนเมฆเย็นช่วยเหลือเกษตรกรในภาคเหนือและภาคกลาง และดำเนินโครงการความร่วมมือต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

ในการทำโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งลูกเห็บ โดยการปฏิบัติการฝนหลวงเมฆเย็นใช้เครื่องบินโจนตีแบบที่ 7 (Alpha Jet) ของกองทัพอากาศ จำนวน 2 เครื่อง และเพื่อประเมินผลการปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งลูกเห็บ ใช้พลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Agl Flare) จำนวน 500 นัด บินปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงฤดูร้อนระหว่างวันที่ 21 มีนาคม – 20 พฤษภาคม 2559 ณ ฐานปฏิบัติการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ สนามบินกองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณพื้นที่ภาคเหนือในรัศมีการตรวจวัดของสถานีเรดาห์ฝนหลวงอมก๋อย 240 กิโลเมตร โดยเครื่องเรดาห์จะทำการตรวจวัดกฃุ่มฝนทุกๆ 6 นาที และโปรแกรมประยุกต์ TITAN ติดตามกลุ่มฝนไปพร้อมกันโดยอัตโนมัติ

ร่วมแสดงความคิดเห็น