ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้ศก.ไทยอยู่ในช่วงฟื้นตัว ภาคเหนือยังดีได้อานิสงส์ท่องเที่ยวช่วย ขณะที่หลายภาคธุรกิจยังซบเซา

 

เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 28 มี.ค. 2559 ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง”แนวโน้มเศรษฐกิจไทย:โอกาสและความท้าทายของภาครัฐและเอกชน ณ ห้องประชุม อาคารอเนกประสงค์ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคเหนือ ว่า ผมขอเล่าถึงมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจไทยของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็น ทั้งโอกาสและความท้าทายต่อภาครัฐและภาคเอกชน จำเป็นต้องวางกลยุทธ์รับมืออย่างรอบด้าน และทันท่วงที

ดร.วิรไท สันติประภพ
ดร.วิรไท สันติประภพ

 

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2559 จากการประเมินล่าสุดของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว แต่เป็นการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปและไม่กระจายตัวไปภาคเศรษฐกิจต่างๆ อย่างทั่วถึง จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ประกอบการในบางอุตสาหกรรม เช่น การท่องเที่ยว โทรคมนาคม และ การก่อสร้างโครงการภาครัฐ จะรู้สึกว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่หลายภาค ธุรกิจยังคงซบเซา โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่ประสบปัญหาจากภาวะราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและ ภัยแล้งที่ยาวต่อเนื่อง

 

ในภาพรวม กนง. ประเมินว่าในปี 2559 เศรษฐกิจไทยจะเติบโตที่ร้อยละ 3.1 สูงกว่า ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 แรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยจะมาจากการใช้จ่าย ภายในประเทศและการท่องเที่ยว การลงทุนของภาครัฐจะคงเป็นกลจักรสาคัญในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจ การลงทุนของบางกลุ่มธุรกิจเริ่มขยายตัว ขณะที่การบริโภคของครัวเรือนโดยรวมทยอย ฟื้นตัวตามการขยายตัวของรายไดน้อกภาคเกษตรดา้นการท่องเที่ยวได้รับแรงส่งจากนักท่องเที่ยวจีน และเริ่มเห็นการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศอื่นโดยเฉพาะจากยุโรปและเอเชียที่เคยชะลอตัวในช่วงก่อนหน้าทั้งปี2559คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาไทยประมาณ32ล้านคนสูงกว่า30 ล้านคนในปีที่แล้ว เป็นที่น่ายินดีว่าสัดส่วนของผู้ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในภาคเหนือก็เพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง ช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในภูมิภาคได้ในระดับหนึ่ง

 

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับหลายความท้าทาย สำคัญ การส่งออกสินค้าซึ่งเคยเป็นแรงขับเคลื่อนสาคัญยังคงซบเซา มูลค่าการส่งออกสินค้ายังหดตัว สูงและมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก การเปลี่ยนแปลง โครงสร้างการค้าโลก และปัญหาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย การส่งออกสินค้า ที่หดตัวทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ระมัดระวังที่จะลงทุนเพิ่มเติม ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนอยู่ในระดับต่ำ

 

อย่างไรก็ดี ผลกระทบต่อการจ้างงานโดยรวมยังไม่รุนแรง อัตราการว่างงาน อยู่ในระดับต่ำแม้จำนวนชั่วโมงการทำงานจะลดลง ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำการดำเนินนโยบายการเงินในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจึงอยู่ในทิศทางผ่อนปรนเพื่อเอื้อให้เศรษฐกิจ ฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง

ร่วมแสดงความคิดเห็น