แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2559

 

วิรไท สันติประภพ
วิรไท สันติประภพ

b.1แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2559 จากการประเมินล่าสุดของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวแต่เป็นการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปและไม่กระจายตัวไปภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างทั่วถึงจึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ประกอบการในบางอุตสาหกรรม เช่น การท่องเที่ยว โทรคมนาคม และการก่อสร้างโครงการภาครัฐ จะรู้สึกว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้นขณะที่หลายภาคธุรกิจยังคงซบเซา โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่ประสบปัญหาจากภาวะราคาสินค้าเกษตรตกต่่ำและภัยแล้งที่ยาวต่อเนื่องในภาพรวม กนง. ประเมินว่าในปี 2559 เศรษฐกิจไทยจะเติบโตที่ร้อยละ 3.1 สูงกว่าปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 แรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยจะมาจากการใช้จ่ายภายในประเทศและการท่องเที่ยว การลงทุนของภาครัฐจะคงเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การลงทุนของบางกลุ่มธุรกิจเริ่มขยายตัว ขณะที่การบริโภคของครัวเรือนโดยรวมทยอยฟื้นตัวตามการขยายตัวของรายได้นอกภาคเกษตร ด้านการท่องเที่ยวได้รับแรงส่งจากนักท่องเที่ยวจีนและเริ่มเห็นการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศอื่นโดยเฉพาะจากยุโรปและเอเชียที่เคยชะลอตัวในช่วงก่อนหน้า

+++++ผู้ว่าฯแบงก์ชาติ ชี้แนวโน้มเศรษฐกิจไทย เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายต่อภาครัฐและภาคเอกชน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องวางกลยุทธ์รับมืออย่างรอบด้านและทันท่วงที เผยระยะข้างหน้า สภาพแวดล้อมของตลาดเงินตลาดทุนโลกยังเปราะบางจากปัจจัยภายนอกประเทศที่ประเมินทิศทางและผลกระทบได้ยาก แบงก์ชาติจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพื่อรักษาภาวะการเงินของประเทศ ให้มีเสถียรภาพและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวแต่เป็นการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปและไม่กระจายตัวไปภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ ส่วนหลายภาคธุรกิจยังคงซบเซา โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่ประสบปัญหาจากภาวะราคาสินค้าเกษตรตกต่่ำและภัยแล้งที่ยาวต่อเนื่อง สำหรับภาคเหนือได้ภาคการท่องเที่ยวมาช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในภูมิภาคได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับหลายความท้าทายสำคัญอีกหลายด้านโดยเฉพาะภาคการส่งออกที่ยังหดตัวสูงและมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการค้าโลก และปัญหาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย ++++

b.4

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “แนวโน้มเศรษฐกิจไทย: โอกาสและความท้าทายของภาครัฐและเอกชน” ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2559 ว่า ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนมุมมองทางเศรษฐกิจกับท่านผู้บริหารในจังหวัดเชียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง ขอขอบคุณส านักงานภาคเหนือที่ได้จัดงานวันนี้ขึ้นและได้เลือกหัวข้อเสวนาที่เหมาะสมยิ่ง เพราะความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ าโขง (Greater MekongSubregion) หรือ GMS มีความหมายต่อศักยภาพและแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในอนาคตผมหวังว่าการสัมมนาวันนี้จะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดและประสบการณ์กับทุกท่าน ซึ่งล้วนแต่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือb.3
ในวันนี้ผมขอเล่าถึงมุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจไทยของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายต่อภาครัฐและภาคเอกชน จำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องวางกลยุทธ์รับมืออย่างรอบด้านและทันท่วงทีช่วงแรกผมจะพูดถึงความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนโลก ต่อจากนั้นจะพูดถึง

แนวโน้มเศรษฐกิจไทย และในช่วงสุดท้ายจะนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับการยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจไทยและแนวทางการเชื่อมโยงกับภูมิภาค

ผมขอเริ่มด้วยความท้าทายจากความผันผวนของตลาดเงินตลาดทุนโลก ซึ่งมีนัยต่อเสถียรภาพของระบบการเงินไทย ตั้งแต่ต้นปีนี้เราเห็นความผันผวนสูงขึ้นมากทั้งในตลาดหลักทรัพย์ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และค่าเงินของหลายประเทศโดยเฉพาะเศรษฐกิจเกิดใหม่

2ความผันผวนดังกล่าวเกิดจากอย่างน้อยสามปัจจัย ปัจจัยแรก คือ การปรับโครงสร้างของเศรษฐกิจจีนซึ่งรัฐบาลมุ่งลดบทบาทของการลงทุนและการส่งออกสินค้า และหันมาเพิ่มสัดส่วนของ

การใช้จ่ายภายในประเทศ ในช่วงที่เศรษฐกิจจีนกำลังปรับโครงสร้าง นักลงทุนย่อมอ่อนไหวต่อสถานการณ์และข้อมูลต่าง ๆ มากกว่าในภาวะปกติเพราะมีความไม่ชัดเจนในหลายด้าน

อย่างไรก็ดีความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มของเศรษฐกิจจีนเริ่มลดลงบ้างหลังการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนในช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งส่งสัญญาณว่าทางการจะดำเนินนโยบายการเงินการคลังแบบผ่อนปรนเพื่อประคับประคองแรงส่งของเศรษฐกิจไปพร้อม ๆ กับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและลดกำลังการผลิตส่วนเกินในหลายอุตสาหกรรม ในระยะต่อไป การปรับโครงสร้างของเศรษฐกิจจีนยังมีโอกาสที่จะสร้างความผันผวนในตลาดการเงินตลาดทุนและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ซึ่งเราต้องติดตามอย่างใกล้ชิดปัจจัยที่สองเกิดจากความผันผวนของราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตั้งแต่ต้นปี2558 เรื่อยมา ราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ปรับลดลงอย่างรวดเร็ว จนกระทบต่อฐานะทางการเงินของประเทศผู้ส่งออกสินค้าดังกล่าว ตลอดจนความสามารถในการทำกำไรและความสามารถ ในการชำระหนี้ของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจกระทบเป็นลูกโซ่ไปยังการจ้างงาน การลงทุน และฐานะของสถาบันการเงินของหลายประเทศ แม้ว่าราคาน้ำมันเริ่มทรงตัวมากขึ้น แต่ทิศทางในระยะข้างหน้า ยังไม่แน่นอนปัจจัยที่สาม คือ การด าเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางใหญ่ ๆ ของโลกที่ทิศทางแตกต่างกัน (Policy Divergence) เศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวชัดเจนขึ้นต่อเนื่องจน

นำไปสู่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ในระยะต่อไป Fed มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างช้า ๆ ในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อกลางเดือนมีนาคม Fedได้ส่งสัญญาณว่าอาจชะลอความเร็วของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก
ขณะที่ Fed จะทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ธนาคารกลางหลักหลายแห่งยังผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแออยู่มาก ธนาคารกลางญี่ปุ่นและธนาคารกลางบางแห่งในยุโรปหันมาใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบและเพิ่มวงเงินในการอัดฉีด

สภาพคล่องโดยตรงเข้าสู่ตลาดทุน (หรือ QE) ธนาคารกลางจีนก็ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสภาพคล่อง
3เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยต่อเนื่อง ในสภาวะที่ระบบการเงินโลกยังมีสภาพคล่องส่วนเกินสูงและธนาคารกลางใหญ่ๆ ดำเนินนโยบายการเงินแบบกลับทิศกันจึงท าให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนผันผวน

มากขึ้น นักลงทุนอ่อนไหวต่อข้อมูลใหม่ๆ และการส่งสัญญาณของธนาคารกลาง โดยเฉพาะเมื่อสัญญาณเหล่านั้นต่างจากที่ตลาดคาดหวังไว้ แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะมีความเชื่อมโยงกับระบบการเงินโลกค่อนข้างสูง แต่ในช่วงที่ผ่านมาภาคการเงินไทยได้รับผลกระทบจากความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนโลกค่อนข้าง จำกัดเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจเกิดใหม่อื่น ๆ เพราะเศรษฐกิจไทยมีกันชนหรือภูมิคุ้มกัน ด้านต่างประเทศที่ดี ผมขอยกตัวอย่างเครื่องชี้สำคัญ 3-4 ด้าน ดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยเกินดุลถึงร้อยละ 9 ของ GDP หรือประมาณ 35 พันล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ ในปี 2558 และคาดว่าจะเกินดุลต่อเนื่องในปี 2559 สาเหตุสำคัญเป็นเพราะต้นทุน การนำเข้าน้ ามันถูกลงมาก เงินส ารองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงถึง 3 เท่าของหนี้ต่างประเทศ ระยะสั้นที่มีอายุคงเหลือน้อยกว่า 1 ปี สะท้อนว่าฐานะด้านต่างประเทศของเศรษฐกิจไทยอยู่ในเกณฑ์เข้มแข็ง และมีกันชนที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศได้

นอกจากนี้ ในปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติมีบทบาทไม่สูงนักในตลาดทุนไทย การถือครองพันธบัตรรัฐบาลและพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทยของนักลงทุนต่างชาติอยู่เพียงประมาณร้อยละ9 ของยอดคงค้างทั้งหมด หนี้ต่างประเทศของธุรกิจเอกชนก็อยู่ในระดับต่่ำและส่วนใหญ่เป็นหนี้ของ

ธุรกิจขนาดใหญ่และมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้น ความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์เงินทุนไหลออกฉับพลันจนกระทบต่อฐานะการเงินของธุรกิจรุนแรงเหมือนช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 จึงมีไม่มากนัก ผมคิดว่าเราวางใจได้

อย่างไรก็ดี ในระยะข้างหน้า สภาพแวดล้อมของตลาดเงินตลาดทุนโลกยังเปราะบางจากปัจจัยภายนอกประเทศที่ประเมินทิศทางและผลกระทบได้ยาก ธปท. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพื่อรักษาภาวะการเงินของประเทศ ให้มีเสถียรภาพและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ ท่านผู้บริหารพึงตระหนักว่าความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนและอัตราแลกเปลี่ยนสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งสองทิศทาง
4จึงไม่ควรชะล่าใจเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเท่านั้น เพราะจะทำให้การบริหารความเสี่ยงขาดความรอบคอบและเสียหายได้ท่านผู้มีเกียรติครับในช่วงต่อไป

ผมขอเล่าถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2559 จากการประเมินล่าสุดของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวแต่เป็นการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปและไม่กระจายตัวไปภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ อย่างทั่วถึงจึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ประกอบการในบางอุตสาหกรรม เช่น การท่องเที่ยว โทรคมนาคม และการก่อสร้างโครงการภาครัฐ จะรู้สึกว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจค่อย ๆ ปรับตัวดีขึ้น

ขณะที่หลายภาคธุรกิจยังคงซบเซา โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่ประสบปัญหาจากภาวะราคาสินค้าเกษตรตกต่่ำและภัยแล้งที่ยาวต่อเนื่องในภาพรวม กนง. ประเมินว่าในปี 2559 เศรษฐกิจไทยจะเติบโตที่ร้อยละ 3.1 สูงกว่าปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 แรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยจะมาจากการใช้จ่ายภายในประเทศและการท่องเที่ยว การลงทุนของภาครัฐจะคงเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การลงทุนของบางกลุ่มธุรกิจเริ่มขยายตัว ขณะที่การบริโภคของครัวเรือนโดยรวมทยอยฟื้นตัวตามการขยายตัวของรายได้นอกภาคเกษตร ด้านการท่องเที่ยวได้รับแรงส่งจากนักท่องเที่ยวจีนและเริ่มเห็นการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวจากกลุ่มประเทศอื่นโดยเฉพาะจากยุโรปและเอเชียที่เคยชะลอตัวในช่วงก่อนหน้า

ทั้งปี2559 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาไทยประมาณ 32 ล้านคน สูงกว่า 30ล้านคนในปีที่แล้ว เป็นที่น่ายินดีว่าสัดส่วนของผู้ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในภาคเหนือก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ช่วยกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในภูมิภาคได้ในระดับหนึ่งอย่างไรก็ตาม แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับหลายความท้าทายสำคัญ การส่งออกสินค้าซึ่งเคยเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญยังคงซบเซา มูลค่าการส่งออกสินค้ายังหดตัวสูงและมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลัก การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการค้าโลก และปัญหาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย การส่งออกสินค้าที่หดตัวทำให้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ระมัดระวังที่จะลงทุนเพิ่มเติม ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชน

อยู่ในระดับต่ำ
อย่างไรก็ดีผลกระทบต่อการจ้างงานโดยรวมยังไม่รุนแรง อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำแม้จำนวนชั่วโมงการทำงานจะลดลงท่ามกลางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ การดำเนินนโยบายการเงินในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจึงอยู่ในทิศทางผ่อนปรนเพื่อเอื้อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการป้องกันความเปราะบางที่อาจสะสมในระบบการเงินจากภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับ
ต่ำมานาน ที่ผ่านมาเราเริ่มเห็นพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทน(search for yield) ที่สูงขึ้น เช่น การลงทุนในตราสารทางการเงินบางประเภทโดยไม่คำนึงถึง ความเสี่ยง (underpricing of risks) ตลอดจน ความร้อนแรงของภาคอสังหาริมทรัพย์ในบางพื้นที่พฤติกรรมเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นแม้ว่าขณะนี้จะยังไม่เป็นความเสี่ยงของระบบการเงินโดยรวมก็ตามในการประชุมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปีเพราะเห็นว่านโยบายการเงินในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่ผ่อนปรน สะท้อนจากหลายตัวแปร เช่น สินเชื่อรวมหุ้นกู้ภาคเอกชนยังขยายตัวได้ที่ประมาณร้อยละ 7 สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยขยายตัวได้ร้อยละ 9 ตลอดจนต้นทุนการระดมทุนในตลาดเงินตลาดทุนอยู่ในระดับต่ำ

นอกจากนี้ กนง. มองว่าควรรักษาขีดความสามารถในการด าเนินนโยบายการเงิน (policy space)ซึ่งมีจำกัดไว้ใช้ในกรณีที่เกิดความเสี่ยงเพิ่มเติมจากภายนอกในอนาคตท่านผู้มีเกียรติครับนอกจากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยและปัจจัยเสี่ยงที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินธุรกิจแล้ว อีกมิติหนึ่งซึ่งมีความ

สำคัญไม่น้อยไปกว่าแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะสั้น ๆ คือ การยกระดับศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว ซึ่งรวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้แน่นแฟ้นมากขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นกลุ่มเศรษฐกิจศักยภาพสูงในส่วนของภาครัฐ บทบาทสำคัญ คือ การสร้าง “บรรยากาศ” “แรงจูงใจ” และ“โครงสร้างพื้นฐาน” ที่จะสนับสนุนการยกระดับศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยโดยต้องทำงานเชิงรุกและสอดประสานกันอย่างเป็นระบบ ทั้งระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกันเองและระหว่างภาครัฐกับเอกชน
ผมขอยกตัวอย่างที่สำคัญในสามมิติ

6ในมิติแรก เป็นที่น่ายินดีที่การแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจหลายเรื่องมีความคืบหน้าไปมาก ตัวอย่างเช่น พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนและเวลาในการขออนุญาตจากหน่วยงานราชการ ให้มีกรอบเวลาการพิจารณาที่ชัดเจน และลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ลดโอกาสของการเรียกร้องผลตอบแทนที่ไม่ควรพระราชกฤษฎีกาทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายที่กำหนดให้ทุกหน่วยงานราชการต้องทบทวนกฎหมายและกฎเกณฑ์ทุก 5 ปี รวมทั้งมีกลไกที่หน่วยงานราชการจะต้องทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่ถูกร้องเรียนจากประชาชนบ่อยครั้งด้วย พ.ร.บ. หลักประกันทางธุรกิจ ที่ขยายประเภทของหลักประกันที่ธุรกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) สามารถใช้เป็นหลักประกันเพื่อเพิ่มโอกาสที่ SMEs จะเข้าถึงสินเชื่อของสถาบันการเงินได้สะดวกขึ้น พ.ร.บ. ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2กรกฎาคมที่จะถึงนี้ในส่วนของ SMEs ยังมีการเสนอแก้ไข พ.ร.บ. บรรษัทประกันสินเชื่อขนาดย่อม (บสย.) ซึ่งทำให้ บสย. สามารถช่วยเหลือ SMEs ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบการเงินได้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
สำหรับ ธปท. ได้ผลักดันการออก พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน เพื่อให้การกำกับดูแลระบบการช าระเงินด าเนินการได้อย่างเป็นเอกภาพ รวมทั้งยกระดับการกำกับดูแลมาตรฐานของระบบการชำระเงินไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ซึ่งจะรวมถึงระบบการชำระเงินของทั้งสถาบันการเงินและผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงินรวมทั้งผู้ให้บริการใหม่ ๆ เช่น บริษัท FinTech เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ธุรกิจไทยอีกหนึ่งความคืบหน้าที่ส าคัญ ได้แก่การปฏิรูปโครงสร้างและระบบธรรมาภิบาลของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจมีความสำคัญยิ่งต่อต้นทุนการทำธุรกิจและการใช้ชีวิตของ
7คนไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอร่าง พ.ร.บ. การพัฒนาการก ากับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจต่อคณะรัฐมนตรี ร่าง

กฎหมายฉบับนี้จะปฏิรูปการ

กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจในภาพรวม อาทิการแบ่งแยกบทบาทให้ชัดเจนระหว่างผู้กำหนดนโยบาย ผู้กำกับดูแล และตัวรัฐวิสาหกิจ ปรับปรุงกระบวนการ

แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อลดการแทรกแซงทางการเมือง การประเมินผล การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสของรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนเตรียมพร้อมจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นเจ้าของดูแลรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทแทนประชาชนทั้งประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพ

ของรัฐวิสาหกิจโดยต่อเนื่อง เกิดความยั่งยืนในระยะยาวการปฏิรูปดังกล่าวไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มความโปร่งใสและผลการดำเนินงานของตัวรัฐวิสาหกิจเอง แต่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่มีความสำคัญต่อยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศ ช่วยให้การแข่งขันระหว่างรัฐวิสาหกิจและธุรกิจเอกชนเท่าเทียมกันมากขึ้น
ซึ่งในที่สุดจะช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทยโดยรวมมิติที่สอง ภาครัฐได้สร้างแรงจูงใจให้ธุรกิจลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและจะช่วยเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจไทยในอนาคต คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI ได้กำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มสูงออกเป็น 12 กลุ่มหรือ cluster รวมทั้งให้แรงจูงใจส่งเสริมการลงทุนตามประเภทของกิจกรรมทางธุรกิจจากเดิมที่มุ่งส่งเสริมการลงทุนตามโซนพื้นที่ นอกจากนี้ รัฐบาลได้สนับสนุนให้ปี 2559 เป็นปีแห่งการลงทุนโดยได้เพิ่มแรงจูงใจด้านภาษีเป็นการทั่วไปด้วย โดยให้ผู้ประกอบการหักรายจ่ายเพื่อการลงทุนในสินทรัพย์ใหม่ได้เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริงมิติที่สาม คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยยกระดับหรือ “modernize”เศรษฐกิจไทย ปัจจุบัน กระทรวงการคลังร่วมกับ ธปท. และระบบสถาบันการเงินกำลังด าเนินโครงการ National E-payment เพื่อวางโครงสร้างพื้นฐานของระบบการช าระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด โครงการ National E-paymentจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการชำระเงินและลดต้นทุนของการดำเนินธุรกิจ ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารเงินสด ตลอดจนเป็นกลไกการจ่ายเงินสวัสดิการของภาครัฐให้ตรงกลุ่มประชาชนเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 3 (พ.ศ. 2559 – 2563) ที่ ธปท. และกระทรวงการคลังเสนอ วิสัยทัศน์ของแผนดังกล่าวมุ่งให้ระบบสถาบันการเงินไทยแข่งขันได้ สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและธุรกิจที่หลากหลาย

ขึ้นด้วยราคาที่เป็นธรรม และสนับสนุนการเชื่อมโยงการค้าการลงทุนในภูมิภาค ภายใต้การก ากับดูแลเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน แนวคิด “แข่งได้ เข้าถึง เชื่อมโยง ยั่งยืน” นี้จะเป็นทิศทางหลักของการพัฒนาระบบสถาบันการเงินไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า

ท่านผู้มีเกียรติครับนอกจากการยกระดับกรอบกฎเกณฑ์กติกาและโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศแล้วความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภูมิภาคเป็นอีกมิติหนึ่งที่จะมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่เราส่งออกสินค้าไปยังเศรษฐกิจหลัก ๆ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และจีน ได้น้อยลง แต่การส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศในภูมิภาค (CLMV) เติบโตได้ดีต่อเนื่อง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาขยายตัวได้เฉลี่ยประมาณร้อยละ 13 และมีสัดส่วนต่อการส่งออกทั้งหมดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6 เมื่อ 5 ปีที่แล้วมาอยู่ที่ร้อยละ 10ในปี 2558โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong
Subregion) หรือ GMS ครอบคลุมพื้นที่กว่า 2.4 ล้านตารางกิโลเมตร GMS เป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูง เศรษฐกิจขยายตัวได้ถึงร้อยละ 7 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาขณะที่เศรษฐกิจโลกเติบโตได้เพียงร้อยละ 3.5 ผนวกกับประชากรที่รวมกันมากถึง 300 ล้านคนและเป็นชนชั้นกลางวัยหนุ่มสาวที่มีกำลังซื้อสูงขึ้นเรื่อย ๆ GMS จะเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้นเพราะโครงสร้างของเศรษฐกิจ GMS กับเศรษฐกิจไทยเติมเต็มซึ่งกันและกัน (Complementarities)หลายประเทศในกลุ่ม GMS เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบสำคัญ มีโครงสร้างประชากรวัยแรงงานและค่าแรงต่่ำซึ่งธุรกิจไทยสามารถใช้เป็นโอกาสในการขยายธุรกิจได้และเป็นตลาดที่สำคัญของสินค้าไทย
ขณะที่ไทยมีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะระบบการเงิน โลจิสติกส์ ธุรกิจบริการ กรอบกฎหมายและความสามารถเชิงเทคนิคและนวัตกรรม ซึ่งจะช่วยให้ไทยสามารถเป็นฐานเชื่อมโยงทางธุรกิจในอนุภูมิภาค GMS เพื่อกระตุ้นการค้าการลงทุน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับห่วงโซ่การผลิต และเป็นศูนย์กระจายสินค้าและเป็นศูนย์กลางด้านการเงินให้แก่อนุภูมิภาค GMS ได้เป็นอย่างดี
ท่านผู้มีเกียรติครับกลุ่มประเทศ GMS อาจจะมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย มากกว่าที่ไทยสำคัญต่อกลุ่ม GMSด้วยซ้ าไป ธปท. จึงมีนโยบายสนับสนุนความเชื่อมโยงด้านการเงินทั้งในภาคธนาคารพาณิชย์ตลาดการเงิน และระบบการช าระเงิน ในช่วงที่ผ่านมา เงินสกุลท้องถิ่นได้รับความนิยมสูงขึ้นในการชำระค่าสินค้าและบริการโดยเฉพาะตามแนวชายแดน ช่วยลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะในภาวะที่อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลหลัก ๆ ผันผวนสูง ซึ่ง ธปท. มีแผนที่จะขยายกลไกการช าระเงินสกุลท้องถิ่นเพิ่มเติมกับประเทศในอนุภูมิภาคคล้ายกับกลไกที่ ธปท. และธนาคารกลางมาเลเซียจัดตั้งขึ้นเมื่อต้นเดือนนี้
นอกจากนี้ ธปท. ร่วมกับกระทรวงการคลังยังได้ส่งเสริมให้ธุรกิจตั้งศูนย์บริหารเงิน(Treasury Centers) และ International Headquarters เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยให้ธุรกิจที่จะเข้าไปลงทุนในกลุ่ม GMS สามารถบริหารเงินจากการประกอบธุรกิจในหลายประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปัจจุบันได้ให้ใบอนุญาตไปแล้วจำนวนหนึ่งกับบริษัทจากหลากหลายประเทศสำหรับภาคธนาคาร ธปท. มีแผนส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์ไทยขยายธุรกิจในภูมิภาคได้
มากยิ่งขึ้น และจะเปิดโอกาสให้ธนาคารพาณิชย์ขยายการปล่อยกู้ในสกุลเงินบาทให้แก่ธุรกิจที่จัดตั้งในอนุภูมิภาค GMS ได้โดยตรง นอกจากนี้ ธปท. ยังสนับสนุนบทบาทของธนาคารพาณิชย์ต่างชาติที่ใช้ประเทศไทยเป็นฐานเพื่อขยายธุรกิจไปยังประเทศในกลุ่ม GMS ด้วย

เมื่อต้นปีนี้ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ใหญ่ของญี่ปุ่นได้ใช้ธนาคารพาณิชย์ไทยในเครือเข้าซื้อกิจการของธุรกิจ Microfinanceในกัมพูชา เป็นต้นธปท. หวังว่าในอนาคตความเชื่อมโยงทางการเงินในภูมิภาคจะช่วยลดอุปสรรคการทำธุรกิจเพิ่มโอกาสและศักยภาพของกลุ่มประเทศ GMS ซึ่งจะช่วยเติมเต็มและยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจไทยในอนาคตอีกด้วย

ร่วมแสดงความคิดเห็น