แบงก์ชาติชี้ เศรษฐกิจไทยกำลังปรับฐาน

b4 w=12h=9เศรษฐกิจไทยกำลังปรับโครงสร้าง ในหลายมิติและจะต้องเผชิญกับความผันผวนสูงขึ้นจากการฟื้นตัวอย่างเปราะบางของเศรษฐกิจและความอ่อนไหวในตลาดเงินและตลาดทุนโลก เพื่อเติมเต็มและยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจไทยในอนาคต

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ จัดงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2559 หัวข้อ ศักยภาพเชียงใหม่ Hub ทางธุรกิจและการเงินของ GMS ซึ่งภาคเหนือมีการเติบโตด้านการค้าและการลงทุนในกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Sub-region หรือGMS) เพิ่มขึ้นตามลำดับ ขณะที่กลุ่มประเทศ GMS ยังมีความต้องการเงินทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาด้าน Sotfware อีกมาก ทำให้ภาคเหนือโดยเฉพาะเชียงใหม่ ซึ่งได้เปรียบทางภูมิรัฐศาสตร์และมีความพร้อมในโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการเงิน สามารถยกระดับเป็นจุดเชื่อมโยง (Connector) ด้านการเงินและตลาดทุนให้กับประเทศเพื่อนบ้านได้ นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กล่าวว่า แผนยุทธศาสตร์เชี่อมโยงตลาดทุนใน GMS ซึ่งอยู่ในรูปแบบในการซื้อขายจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยปกติชาวต่างชาติเข้ามาในไทย ประมาณ 15 % (40,000-50,000 ล้านบาท) ในปีที่ผ่านมามีชาวต่างชาติเข้ามาซื้อขายในไทย สัดส่วนของคนต่างชาติที่ต้องการกู้เงินในประเทศไทยประมาณ 30% ของมาลดีแคป ซึ่งมาลดีแคปของไทยเท่ากับ 100% ของGDP อยู่ในความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในไทย ธุรกิจหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ในการลงทุนของธุรกิจต่างประเทศที่ลงทุนในไทยที่สูงสูงคือ บริษัทหลักทรัพย์สิงคโปร์
ส่วนด้านการลงทุนของนักธุรกิจไทยในต่างประเทศ เช่น กองทุนเกาหลี กองทุนอินเดีย กองทุนบราซิล กองทุนธิเบต เป็นต้น ตลาดหลักทรัพย์ต้องมุมมองที่ชัดเจน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งประโยชน์จากภูมิภาคตกอยู่กับแต่ประเทศไม่เท่ากัน เพราะประเทศที่มีระดับการพัฒนามากกว่า เปิดกว้างกว่า ก็อาจจะกลายเป็นHub โดยที่ตลาดหลักทรัพย์ต้องสร้างจุดเด่นและรายละเอียดของต่างประเทศเพื่อเพิ่มความคุ้มค่า ซึ่งมีแต่ผลิตภัณฑ์ในประเทศจะขาดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว ทั้งนี้ตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ของตลาดทุนไทยในระดับภูมิภาคเป็นจุดเชื่องโยงระหว่างกิจการใน GMS ที่ต้องการทุนกับผู้ลงทุนทั่วโลกที่ต้องการลงทุนในภูมิภาคนี้ ส่งผลทำให้กิจการไทยเข้าถึงแหล่งทุนที่หลากหลายขึ้น เพิ่มโอกาสการลงทุนให้ผู้ลงทุนไทย ประเทศเพื่อนบ้านสามารถใช้ตลาดทุนไทยเป็นจุดเริ่มต้นทางความคิดในการเติบโต มีช่องทางระดมทุนรูปแบบต่างๆรองรับ เช่น หุ้นทุน หุนกู้ เป็นต้น ในขณะที่ตลาดทุนประเทศเพื่อนบ้านยังพัฒนาไม่มาก จึงเป็นโอกาสของตลาดทุนไทยที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างกิจการใน GMS กับผู้ลงทุนทั่วโลก หากตลาดทุนไทยเป็นจุดเชื่อมต่อGMS ได้สำเร็จ จะนำความมั่งคั่งสู่เศรษฐกิจและสังคมไทย จากการเติบโตของเพื่อนบ้านอย่างยั่งยืน

ด้านดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ประธานกรรมการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย กล่าวว่า การพัฒนาตลาดตราสารหนี้และแนวทางในการพัฒนาบุคลากรด้านการเงินเพื่อรองรับ HUB ธุรกิจการเงิน ซึ่งเชียงใหม่เป็น Hub ทางการศึกษาของกลุ่มประเทศ GMS จะเห็นได้จากนักศึกษาจากประเทศต่างๆ เข้าศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในเชียงใหม่ที่มีจำนวนเพื่อขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น คณะเศรษฐศาสตร์ มช.ได้ยกระดับนักศึกษาไทย พร้อมขยายหลักสูตรระดับนานาชาติ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษาและบุคคลทั่วไป ทั้งนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็น Hub การศึกษาของGMS โดยเฉพาะแก่นักศึกษาจีนและเมียนมาร์ จากสัดส่วนจำนวนนักศึกษาต่างชาติ ระดับปริญญาตรี (International Undergraduate Program) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แยกตามสัญชาติ สถานะปัจจุบัน ปี พ.ศ.2555-2558 ประกอบด้วยจีน 71% เมียนมาร์ 21% โดยจำนวนนักศึกษาต่างชาติของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จำแนกตามหลักสูตรดังนี้ ป.ตรี239 คน ป.ตรี-ป.โท 19 คน ป.โท 221 คน ป.เอก 45 คน รวมทุกหลักสูตร 524 คน กระตุ้นการเพิ่มจำนวนบุคลากรทางด้านธุรกิจให้มีคุณภาพ เพื่อที่จะพัฒนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจร่วมกันในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้นักลงทุนจะต้องลงทุนและพัฒนาในฐานเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนไปพร้อมกับอาเซียน

ร่วมแสดงความคิดเห็น