พาณิชย์เปิดตัวเลข ดัชนีผู้บริโภคเหนือ

b5 w=9h=7สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ร่วมกับองค์กรสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้าสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดเชียงใหม่เดือนกุมภาพันธ์ 2559 เมื่อเทียบกับ เดือนมกราคม 2559 สูงขึ้นร้อยละ 0.2

นางนิยดา หมื่นอนันต์ พาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า การประมวลผลดัชนีราคาผู้บริโภคของประเทศไทย รายการสินค้าและบริการที่คำนวณมีจำนวน 450 รายการสำหรับจังหวัดเชียงใหม่ มีจำนวน 261 รายการ ครอบคลุมหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า เคหสถาน การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล พาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร การบันเทิงการอ่าน การศึกษาและการศาสนา ยาสูบเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ เพื่อนำมาคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดเชียงใหม่ ได้ผลดังนี้

ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ ปี2554 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเท่ากับ 100 และเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เท่ากับ 105.62 เทียบกับเดือนมกราคม 2559 เท่ากับ 150.46 ขั้นสูงร้อยละ 0.15 และเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ลดลงร้อยละ 0.50 ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคของหวัดเชียงใหม่เดือนกุมภาพันธ์ 2559 ปี 2554 ดัชนีราคาผู้บริโภคของจังหวัดเชียงใหม่เท่ากับ 100 และเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เท่ากับ 109.2 เทียบกับเดือนมกราคม 2559 เท่ากับ 109.0

การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคของหวัดเชียงใหม่เดือนกุมภาพันธ์ 2559 เมื่อเทียบกับ เดือนมกราคม 2559 สูงขึ้นร้อยละ 0.2 เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ลดลงร้อยละ 0.4 เทียบเฉลี่ย 2 เดือน (มกราคม-กุมภาพันธ์) 2559 กับระยะเดียวกันของปี 2558 ดัชนีลดลงร้อยละ 0.5

ดัชนีราคาผู้บริโภคของหวัดเชียงใหม่เดือนกุมภาพันธ์ 2559 เทียบกับเดือนมกราคม 2559 ดัชนีราคาสูงขั้นร้อยละ 0.2 (เดือนมกราคม 2559 เทียบกับเดือนธันวาคม 2558 ดัชนีลดลงร้อยละ 0.1 ) จากการสูงขั้นของดัชนีมีหมวดอาหารเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนีราคาสูงขั้นร้อยละ 0.6 ในขณะเดียวกันที่ดัชนีราคาหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.1

ดัชนีหมวดอาหารแบะเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ดัชนีสูงขึ้นร้อยละ 0.6 (เดือนมกราคม 2559 ดัชนีราคาสูงขั้นร้อยละ 0.3 )ปัจจัยหลักมาขากการสูงขึ้นของดัชนีหมวดข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งสูงขั้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ ข้าวสารเหนียว หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 2.5ได้แก่ ไขไก่ หมวดผักและผลไม้ ดัชนีราคาสูงขั้นร้อยละ 3.6 จากการสูงขั้นของผักสด ดัชนีราคาสูงขั้นร้อยละ 8.5 ได้แก่แตงกว่า ผักกาดขาว ผักคะน้า เห็ด ผักบุ้ง มะเขือ ถั่วฝักยาว บวบ ฟักเขียว ฟักทอง มะนาว พริกสด ต้นหอม ขิง ผลไม้สดและแปรรูปอื่นๆ ดัชนีราคาสูงขั้นร้อยละ 1.6 ได้แก่ กล้วยน้ำว้า ส้มเขียวหวาน ผลไม้แปรรูปและอื่นๆ 0.4 ได้แก่ ผลไม้กระป๋อง หมวดเครื่องประกอบอาหาร ดัชนีราคาสูงขั้นร้อยละ1.1 ได้แก่ เครื่องปรุงอาหาร น้ำมันพืช น้ำทันปลา ขณะที่หมวดสินค้าที่มีดัชนีราคาลดลง ได้แก่ เครื่องดื่มไม่มีเอลกอฮอล์ ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.1 ได้แก่ เครื่องดื่มรสช๊อคโกแลต กาแฟผงสำเร็จรูป
ดัชนีหมวดอื่นๆไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.1(เดือนมกราคม 2559 ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.4 )ปัจจัยหลักมาจากการลดลงของดัชนียานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.7 จากการลดลงของน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉลี่ยในประเทศ ดัชนีราคาลดลงร้อยละ1.8 ได้แก่ น้ำมันดีเซล แก๊ชโซฮอล์ 91 95 และก๊าชยานพาหนะ(LPG) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.2 ไดแก่ ค่าของใช้ส่วนตัว/สบู่ถูตัว ยาสีฟัน แป้งทาผิวกาย และสำหรับสินค้าหมวดอื่นไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ถ้าพิจารณาเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.4 (เดือนมกราคม 2559 เทียบกับเดือนมกราคม 2558 ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.5 ) ปัจจัยสำคัญมาจากดัชนีราคาหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.7 จากการลงลดลงของดัชนีราคาหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 5.8 สาเหตุจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับตัวลดลง ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 16.3 (น้ำมันดีเซล แก๊ชโซฮอล์ 91 95 และก๊าชยานพาหนะ(LPG)ขณะที่ค่าโดยสารรถจักยานยนต์รับจ้างปรับราคาสูงขั้น หมวดเคหสถาน ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.3 ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าชหุงต้ม ขณะที่ปูนซีเมนต์ ค่าแรงช่างไฟฟ้า ค่าแรงช่างประปา ถ่านไม้ ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างห้องน้ำปรับราคาสูงขั้น สำหรับหมวดสินค้าที่มีดัชนีราคาสูงขึ้น ได้แก่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.5 (เสื้อยืดบุรุษ กางเกงขายาวบุรุษ กึ่งบุรุษ เสื้อยืดสตรี เครื่องแบบนักเรียนอนุบาล ถุงเท้านักเรียน ) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.5 (ค่าของใช้ส่วนบุคคล/แชมพู น้ำหอม ผลิตภัณฑ์ ป้องกันและบำรุงผิว ใบมีดโกน ครีมนวดผม ผ้าอนามัย ค่าบริการส่วนบุคคล/ค่าตำแต่งผมสตรี ค่าบัตรประกันสุขภาพและประกันสุขภาพและประกันชีวิต/ค่าเบี้ยประกันชีวิต) หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาและการศาสนา ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.6 (ค่าอุปกรณ์การกีฬาและเครื่องเล่น อาหารสัตว์เลี้ยง การศึกษา/เล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมมัธยมศึกษาสายสามัญภาครัฐบาล ค่าธรรมเนียมศึกษาด้านเทคนิคอาชีวะ ภาครัฐบาลและเอกชน) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 4.9 (บุหรี่ เบียร์ไวน์)

ส่วนหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 1.5 สาเหตุสำคัญมาจากการสูงขึ้นของ ดัชนีหมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ1.3 (เนื้อสุกร กระดูกซี่โครงหมู เนื้อโค เครื่องในหมูเครื่องในวัว ไส้กรอก ไก่ย่าง ปลาทู ปลาหมึกกล้วย ปูม้า กบ ปลาทูหนึ่ง ปลาช่อนแห้ง ปลาอินทรีย์เค็ม กุ้งแห้ง ปลาร้า) หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 5.1 (ไขไก่ นมสด นมเปรี้ยว) หมวดผักและผลไม้ ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 7.3 (แตงกวา ผักกาดขาว เห็ด ผักบุ้ง ผักชี ถั่วฝักยาว บวบ ฟักเขียว ฟักทอง พริกสด ขึ้นฉ่าย ต้นหอม หัวผักกาดขาว ถั่วงอก หัวหอมแดง กระเทียม พริกแห้ง มะม่วง แตงโม ) หมวดเครื่องประกอบอาหาร ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.6 (น้ำตาลทราย ขนมหวาน เครื่องปรุงรส น้ำปลา ซีอิ้ว ซอสหอยนางรม ซอสมะเขือเทศ กะปิ)หมวดอาหารบริโภค-ในบ้าน และนอกบ้าน ดัชนีราคาสูงขึ้นร้อยละ 2.1 และ 1.2 (กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ปลากระป๋อง แฮมเบอร์เกอร์ ข้าวแกง/ข้าวกล่อง อาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง)

ถ้าพิจารณาดัชนีเฉลี่ย 2 เดือน (มกราคม-กุมภาพันธ์) ของปี 2559 เทียบกับ 2558 ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 0.5 สาเหตุสำคัญมาจากหมดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ดัชนีราคาลดลงร้อยละ 1.5 จากการลดลงของหมวดเคหสถานร้อยละ 0.3 หมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสารร้อยละ 5.2 ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง แต่ค่าโดยสารสาธารณะ และค่าซื้อยานพาหนะกลับมีราคาสูงขั้น สำหรับหมวดสินค้าที่มีราคาสูงขั้นได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.9 หมวดรักษาและบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.6 หมวดการบันเทิงการ่าน การศึกษาและการศาสนาร้อยละ 0.6 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 2.9

ร่วมแสดงความคิดเห็น