สกู๊ปหน้า 1 สิ่งแวดล้อมเมือง…เราต้องร่วมสร้าง

1.jpg ความเปลี่ยนแปลงของเมือง ก่อเกิดคำถามตามมามากมายของผู้คนที่อยู่อาศัยในถิ่นฐานนั้นๆบ้างอยากให้ย้อนเวลาหวนคืนสู่สภาพเมืองที่เงียบสงบ ไม่วุ่นวาย

หลายๆเมือง แม้กระทั่งเชียงใหม่ ได้พยายามร่วมแรง ร่วมใจกันจุดประกาย แนวคิด รวมพลังกำหนดทิศทางความเป็นไปของเมือง

2.jpg

เชียงใหม่ นครแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง จังหวัดที่กำลังถูกท้าทายด้วยกระแสพลวัฒน์ของทุน 

การพัฒนาของภาคส่วนต่างๆมักจะชูแนวคิด ยัดเยียดใส่ในชุมชนนั้นๆว่าเป็นการกระจายความเจริญอย่างเท่าเทียมกันระหว่างชนบทกับวิถีเมืองที่ควรต้องเจริญไปพร้อมๆกัน

ปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในเชียงใหม่…เพราะความเป็นเมืองแห่งโอกาส ทำให้เมืองกลายเป็นจุดหมายปลายทางของการค้าการลงทุน การอยู่อาศัยการโยกย้ายถิ่นฐาน เป็นอีกภาระที่ทำให้ท้องถิ่น ต้องแบกรับภาระ ในการดูแลคุณภาพชีวิตผู้คนตามอำนาจ หน้าที่ จนนำไปสู่ ปัญหาด้านต่างๆตามมา ไม่ว่าจะปัญหาสิ่งแวดล้อม มลทัศน์ มลพิษ ปัญหาสังคม อาชญากรรม เป็นต้น

5.jpg

การบริหารจัดการ ดูแลรักษาเมืองไม่ให้เสียหายไปกับกระแสความเจริญแบบก้าวกระโดด ซึ่งวันนี้ จังหวัดเชียงใหม่ มีครบถ้วน และกลายเป็นปมปัญหา ท้าทาย นักบริหาร นักจัดการเมือง ว่า รูปแบบ ที่เมืองจะเป็นไปในอนาคต ควรจะเป็นอย่างไรดี

มีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด กับการ เริ่มคิด เริ่มกำหนด เมืองใหม่ รองรับ อาจด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคม เช่นที่กำลังผลักดันถนนวงแหวนรอบ4 รอบ 4 ขยายพื้นที่จากจุดศูนย์กลางออกไปสู่ปริมณฑลใกล้เคียง

การพัฒนาย่อมไม่อาจหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติได้

“การบริหารจัดการเมืองที่ดี ไม่ใช่การจัดการเมืองที่มีประสิทธิภาพแล้วคนที่ได้ประโยชน์จากประสิทธิภาพนั้นมีเพียงแค่ไม่กี่ส่วนของสังคม เพราะการจัดการที่ดีจะต้องย้อนกลับไปดูว่าคนส่วนใหญ่ที่เป็นคนชนชั้นล่างในสังคมได้รับประโยชน์จากการบริหารจัดการนี้มากน้อยเพียงใด”

7.jpg

เป็นแนวคิดของนักจัดการเมืองที่พยายามสื่อสะท้อนผ่านสื่อสู่สาธารณะมาอย่างต่อเนื่อง

หลักการของการบริหารจัดการเมืองไม่ควรจะจำกัดแค่ขอบเขตการปกครอง เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม กายภาพ ที่อยู่อาศัย การเดินทาง โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ หรือในส่วนของทรัพยากรต่างๆ อย่าง น้ำ อากาศ ไม่ได้สิ้นสุดแค่ขอบเขตการปกครองแค่ที่เมืองใหญ่เท่านั้น

การบริหารจัดการเมืองที่ดี ควรต้องมี ประสิทธิภาพ ความเป็นธรรมและความยั่งยืน เพราะบางที่มีการบริหารจัดการเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ปรากฏว่า แผนพัฒนา ความเจริญที่เชื่อกัน กลายเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบกับผู้คนบางกลุ่มในสังคม

สำหรับจังหวัดเชียงใหม่นั้น มีการสะท้อนถึงทิศทาง ความเปลี่ยนแปลงของเมือง ไม่มีทิศทางที่ดีพอกับการรองรับอนาคตที่ขยายตัว พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เพราะขาดการยอมรับ การมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง ในการกำหนดผังเมือง การใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างมีประสิทธิ

เขตเมืองอนุรักษ์ มีการผุดขึ้นของอาคารสูง โดยที่กฎหมายเปิดช่อง มิหนำซ้ำสภาพกายภาพเมือง ตามตรอก ซอก ซอย มีการก่อสร้างโครงการที่พักอาศัย อย่างหนาแน่น และไม่คำนึงถึงความเหมาะสม

สภาพที่ชาวเชียงใหม่ กราดเกรี้ยวต่อหน่วยงาน ดูแลบริหารจัดการเมืองว่า ไม่ใส่ใจกับการควบคุมสถาปัตยกรรม การก่อสร้าง ส่งผลให้เกิดรูปทรงอาคารที่ทุเรศทุรัง เป็นทัศนอุจาดตา ประจานถึงความเห็นแก่ได้ของกลุ่มทุน

3.jpg

” บางอาคาร ชายคาแทบจะเกยกันกับเจดีย์ กับแนวอุโบสถ ถ้าชุมชนไม่ลุกฮือ ก็ไม่เปลี่ยนแปลงแก้ไข มิหนำซ้ำบางท้องถิ่น ยึดโยงแค่มิติการบริการที่ดี มีการอนุญาตก่อสร้างอาคารสูงลิบลิ่วในพื้นที่ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ชุมชนจะได้รับ”

แม้ว่าในอนาคตจะมีการประกาศบังคับใช้ผังเมืองเชียงใหม่ ฉบับปรุงปรุงล่าสุด เพื่อกำกับดูแลพื้นที่ 429 ตารางกิโลเมตรใน 7 อำเภอ 49 ตำบล

โดยมีสาระสำคัญๆใน การกำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน 11 ประเภท การควบคุมความสูงในระดับต่างกัน ในบริเวณต่างกัน เพื่อประโยชน์ในการสงวน รักษา คุ้มครอง

กลุ่มที่ ทรงคุณค่าของเมือง อาทิ เมืองโบราณ เมืองเก่า วัดเก่า ทัศนียภาพ ภูมิทัศน์ของเมือง ขนาดความสูงลดหลั่นกันไป ตามลำดับไม่เกิน 6- 9 -12 -15 เมตร และ 23 เมตร การควบคุมขนาดอาคาร ควบคุมอาคารขนาดใหญ่ในบางบริเวณ เพื่อควบคุมความหนานแน่นของอาคารและประชากร

4.jpg

ก็ยังเกิดคำถามว่า เป็นกฎกติกาที่มาช้ากว่าการพัฒนาการของเมืองที่เปลี่ยนไปแล้วหรืออย่างไร ?

เพราะแค่สภาพเขตเมืองชั้นใน นครเชียงใหม่ ในวันนี้ มีสภาพไม่ต่างจากชุมชนเมืองที่เติบโตไปอย่างไร้ทิศทาง
ตามแก้ ตามขุด คิดวางแผนเฉพาะหน้าไปเรื่อยๆกับระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับเมือง

ประเทศไทยมีการใช้ระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 46

ปัจจุบันได้ออกประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กำหนดประเภทและขนาดของโครงการจำนวน 22 ประเภท ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่หรือมีลักษณะที่อาจก่อปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง

6.jpg

ต้องเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อพิจารณาประกอบการอนุญาตหรืออนุมัติโครงการของหน่วยงานผู้อนุญาตหรือคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้รายงานฯ จะต้องจัดทำโดยผู้มีสิทธิทำรายงานฯ ซึ่งจดทะเบียนกับสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม

บทสรุปในการดำเนินการของทุกท้องถิ่นก็ไม่อาจต้านทานกระแสทุน อำนาจ และการปัดภาระความรับผิดชอบ ในแนวทางการบริหารจัดการที่ดีได้

สิ่งแวดล้อมเมืองที่ดี ไม่มีขาย อยากได้ ชาวเชียงใหม่ต้องร่วมกัน..สร้างสรรค์

ร่วมแสดงความคิดเห็น