บางกอกชีทเม็ททัล โรดโชว์ขายหุ้นชม.

b.8บางกอกชีทเม็ททัล ขึ้นเหนือจัดโรดโชว์ขายหุ้น(IPO)ให้กับนักลงทุนจังหวัดเชียงใหม่ หวังระดมทุนเปิดโรงงานแห่งที่ 2 พร้อมกับนำเข้าเครื่องจักรเพื่อรับมือการแข่งขันกับคู่แข่งในประเทศเพื่อนบ้านหลังเปิดAEC ตั้งเป้ากระจายหุ้นในตลาด 25% พร้อมเตรียมเสนอขายหุ้นในกลางเดือนพฤษภาคม ราคาอ้างอิงอยู่ในช่วง 3.40-3.70 บาท ของราคาที่เหมาะสม

เมื่้อเร็วๆนี้บริษัท บางกอกชีทเม็ททัล จำกัด( มหาชน )(BM)จัดโรดโชว์เสนอขายหุ้น(IPO)ให้กับนักลงทุนจังหวัดเชียงใหม่ ณ ศูนย์ประชุม โรงแรมเชียงใหม่ แกรนด์วิว โดย นายธานิน สัจจะบริบูรณ์ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางกอกชีทเม็ททัล จำกัด (มหาชน) (BM) ผู้ผลิตแปรรูปผลิตภัณฑ์เหล็ก เช่น รางและท่อร้อยสายไฟฟ้า เปิดเผยว่า บริษัท บางกอกชีทเม็ททัล จำกัด (มหาชน) (BM) เริ่มก่อตั้งบริษัทมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 จากวันนั้นมาถึงวันนี้ก็รวมเป็นระยะเวลามากว่า 21 ปี ที่ยังคงยึดมั่นในอุดมการณ์และผลักดันให้บริษัทเติบโตสู่ระดับโลก บริษัทเตรียมยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อกระจายหุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ทั้งนี้ทางบริษัทยื่นเอกสารไปตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2558 จนถึงปัจจุบันทางสำนักงาน กกต. เรียกว่านับหนึ่งแบบคำขอ คือการที่ได้ข้อมูลครบถ้วนในการพิจารณาอนุญาต โดยขั้นตอนหลังนับหนึ่งคำขอเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2559 โดยขั้นตอนก็ไม่เกิน 30 วันที่จะอนุญาติ ทางบริษัทน่าจะเสนอขายหุ้นในกลางเดือนพฤษภาคมและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งทางบริษัทยังไม่ได้มีการกำหนดราคาหุ้นแต่ได้ให้นักวิเคราะห์สำนักงานฝ่ายวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ 6 แห่งได้วิเคราะห์ เรียกว่าราคาที่เหมาะสมอ้างอิงอยู่ในช่วง 3.40-3.70 บาทของราคาที่เหมาะสมหรือเรียกได้ว่าราคาที่ตราไว้
ด้านนายธีรวัต อมรธาตรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกชีทเม็ททัล จำกัด (มหาชน) (BM) กล่าวเสริมว่า สินค้ากลุ่มแรกที่บริษัทได้ผลิตขึ้นคือรางเดินสายไฟ ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้ก็ตอบสนองกับประเทศเราเพราะในช่วงเวลานั้นการปรับตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์มีความเฟื่องฟูมาก โรงงานสร้างขึ้นมาก รวมถึงอาคารปลูกสร้างด้วย ต่อมาจึงได้มีการผลิตโคมไฟแบบประหยัดพลังงานและระหว่างที่ผลิตสินค้าตัวนี้เราก็ได้สร้างโรงงานของตัวเองขึ้นมาเพราะเดิมทีเราเช่าเขา พอสร้างเสร็จเราก็ก้าวเข้าสู่ยุคต้มยำกุ้งในปี 40 เศรษฐกิจตกต่ำ เราเริ่มมาจับสินค้าตัวที่2 คือ กลุ่มตู้ไฟฟ้า ตู้สื่อสาร สินค้านี้ขายมาจนกระทั่งผ่านพ้นช่วงต้มยำกุ้ง งานรับเหมาก็เริ่มกลับมาอีกครั้ง ลูกค้าแทนที่จะซื้อแค่รางกับตู้เปล่าๆเขาก็อยากให้เรามีอุปกรณ์ไฟฟ้าข้างใน จึงมีการพัฒนาเกิดเป็นสินค้าหมู่ที่3ขึ้นคือตู้สวิซบอร์ด โดยเฉพาะตู้3G- 4G เริ่มขึ้นมา โดยเฉพาะมีเข้ามาในหมู่บ้าน

สินค้า 3 ตัวนี้เราได้สนับสนุนให้กับผู้รับเหมาจนกระทั่งวันหนึ่งเราเริ่มมีรถไฟฟ้าบนดิน ใต้ดิน สนามบินสุวรรณภูมิก็จะเริ่มมีการทำชิ้นส่วนภายในประเทศไทยเรา เริ่มมีชาวต่างชาติเข้ามาจับมือกับบริษัทคนไทยเพื่อทำโลโก้คอนเทนต์จุดนี้จึงทำให้บริษัทมีสินค้าตัวที่4 เกิดขึ้นคือ งานเชื่อมประกอบ เป็นงานเชื่อมที่มีชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลเพราะทางบริษัทได้รับงานการสร้างเครื่องที่ใช้ในการปรับปรุงเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิ พอสินค้าเพิ่มมากขึ้นบริษัทก็ต้องการความละเอียดของชิ้นงานจึงสร้างแม่แบบแม่พิมพ์ขึ้น ทำให้เกิดสินค้าหมู่ที่5ขึ้นมาคือหมวดเครื่องจักรกล สินค้าที่เราผลิตขายคือ เครื่องปั่นไฟ พอทำสินค้าได้ในระดับที่เป็นที่ยอมรับได้เราก็หันมาทำพวกชิ้นส่วนจนเกิดสินค้าหมู่ที่6 และปัจจุบันเราได้เป็นฐานผลิตชิ้นส่วนให้กับสยามคูโบต้าให้กับ บริษัท แอมแอร์ จำกัด หรือ แอร์เทรน และบริษัท พานาโซนิค และอื่นๆ จากสินค้า 6 หมู่ ของทางบริษัทได้กระจายความเสี่ยงออกเป็น 2 มิติ มิติแรกเรียกว่า มิติของกลุ่มบริษัทผู้รับเหมา มิติที่ 2 คือ มิติของงานผู้ประกอบการด้วยกัน

“การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC เราต้องระดมทุนเพื่อขยายพื้นที่การผลิต เพื่อเอาเครื่องจักรใหม่ๆเข้ามา ต้องอย่าลืมว่าคนงานทำงาน 1 วัน 8 ชั่วโมง โอทีอีก 2-3 ชั่วโมง เราจึงต้องหาวิธีการให้เขาด้วยเวลาเท่าเดิมได้งานมากขึ้นแต่เหนื่อยน้อยลงในที่สุดต้นทุนเราแข่งขันได้ เพราะปัจจุบันเราไม่ได้แข่งขันกับบริษัทคนไทยด้วยกันแต่เราแข่งขันกับบริษัทเพื่อนบ้านเพราะสินค้าเราหลายตัวมากที่คู่ค้าเราเอาไปส่งออกและนี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้มาระดมทุนกัน การตั้งเป้าของเราคือต้องการจะขยายโรงงานหลังที่ 2 และตั้งเป้าว่าจะขยายเครื่องจักรใหม่ เครื่องจักรมี 2 ลักษณะ คือ 1. หาเครื่องจักรใหม่เข้ามา 2. รีเพลสเมนต์ และที่สำคัญคือการสร้างคนทั้งหมดตั้งเป้าไว้ว่าเราเอาหุ้นมากระจายในตลาด 25% ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกชีทเม็ททัล จำกัด (มหาชน)กล่าว.

ขณะที่ นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) บริษัทแอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด (APM) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัท บางกอกชีทเม็ททัล จำกัด (มหาชน) หรือ BM เปิดเผยว่าในวันที่ 20 เมษายน 2559 ผู้บริหารของบริษัทฯ และที่ปรึกษาทางการเงิน ได้ให้ข้อมูลแก่นักลงทุน (โรดโชว์) ในจังหวัดเชียงใหม่ โดย BM ดำเนินธุรกิจเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าแปรรูปผลิตภัณฑ์เหล็ก ได้แก่ รางเดินสายไฟฟ้า ตู้สื่อสาร ตู้ไฟฟ้า ตู้โลหะและตู้ควบคุมไฟฟ้าที่ใช้ตามอาคาร คอนโดมิเนียม สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม สถานีไฟฟ้า เป็นต้น ภายใต้ตราสินค้า “BSM” , “BM”, “BS” และ “BEST” และผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปอื่นๆ จากโลหะ ตามความต้องการของลูกค้า และเป็นผู้จำหน่ายท่อร้อยสายไฟฟ้า

สำหรับ การเดินสายโรดโชว์ในครั้งนี้ก็เพื่อให้นักลงทุนในจังหวัดเชียงใหม่มีความเข้าใจในธุรกิจของบางกอกชีทเม็ททัล รวมถึงรับทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบริษัทฯ เพื่อให้นักลงทุนได้ทำความเข้าใจในธุรกิจของ BM

ร่วมแสดงความคิดเห็น