สภาวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ นักวิชาการ 7 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ทำโครงการ “ประเทศไทยไร้หมอกควัน”

สภาวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับ นักวิชาการ 7 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ ทำโครงการ “ประเทศไทยไร้หมอกควัน”
เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 26 เมษายน 2559 ที่ห้องประชุมสำนักงานบริหารวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้มีการจัดแถลงข่าวโครงการประเทศไทยไร้หมอกควัน ( Haza Free Thailand ) โดยเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย กลุ่มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการบริหารจัดการภัยพิบัติ Rsearch University Network for Climate Change & Disaster Management (RUN-CCDM) ที่เป็นเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย กลุ่มการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการบริหารจัดการภัยพิบัติ ( RUM-CCMD ) จาก 7 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย

 

89866 89867

ผู้ร่วมเปิดการประชุมเสวนาและเปิดโครงการมี ดร.วิจารย์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ, ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ, ศาสตราจารย์ ดร.ไพโรจน์ วิริยจารี รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคล มช. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อำนาจ อยู่สุข รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร พัฒนาสังคม ศิลปวัฒนธรรม และกิจการพิเศษ มช. และ นางสาวสุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกันเปิดโครงการประเทศไทยไร้หมอกควันรองศาสตราจารย์ นายแพทย์อำนาจ อยู่สุข รองอธิการบดีฝ่ายบริการ พัฒนาสังคม

https://www.youtube.com/watch?v=AI1vgIhi1Wc89868 ศิลปวัฒนธรรม และกิจการพิเศษ กล่าวว่า ปัญหาหมอกควันต้องหากลไกแก้ปัญหาให้ลดลงและทำทุกวิธีทางเพื่อให้ดีขึ้นตามลำดับ มช.ยินดีให้การสนับสนุนและลงพื้นที่ทำงานมาแล้วร่วมกับทุกภาคส่วนรวมทั้งเข้าหาชาวบ้านรวมทั้งเข้าถึงผู้ที่ให้การส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดียว คือผู้ให้เกษตรกรปลูกข้าวโพดในพื้นที่ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และ จังหวัดน่านมาแล้วให้ยังให้เกษตรกรเข้ามาเป็นคณะกรรมการทำงานร่วมกันแก้ไขปัญหา เพราะปัญหานี้นอกจากนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆแล้ว หน่วยงานของ ภาครัฐหรือแม้แต่ตำรวจทหารและภาคเอกชนต้องลงมาทำงานร่วมกัน เพราะปัญหาหมอกควันส่งผลกระทบไปถึงภัยแล้งด้วยเมื่อป่าต้นน้ำทางภาคเหนือไม่มีน้ำภาคกลางก็ไม่มีน้ำไหลลงแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยเช่นกัน

“เมื่อชาวบ้านต้องกินต้องใช้ ต้องปลูกพืช ทุกภาคส่วนต้องมาคิดว่าจะทำอย่างไร จัดโซนนิ่งการปลูก การเผา พร้อมบังคับใช้กฏหมายต้องขยายระยะเวลาออกกฏหมายบังคับใช้ห้ามเผา หรือหาวิธีการอื่น ต้องมาหาข้อสรุปรวมกัน การทำวิจัยของโครงการประเทศไทยไร้หมอกควันตามโครงการตั้งไว้ 3 ปี ก็ต้องให้รู้ผลได้ใน 1 ปีก่อนเลยว่าผลวิจัยออกมาอย่างไรจากนั้นต่อยอดไปอีก เพราะเท่าที่ผ่านมานักวิชาการลงพื้นที่ช่วยเกษตกรนำซากพืชมาแปรรูปทำปุ๋ยหรือทำถ่าน ก็ทำมาแล้ว วันนี้จากที่ 7 สถาบันการศึกษามาร่วมกันทำงานวิจัยก็เชื่อว่าแนวโน้มการลดลงของหมอกควันจะลดลงและหมดไปในอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ตามในความเห็นตนไม่ถูกต้อง 100% แต่ก็ขอให้เป็นข้อมูลที่ต่อยอดไปถึงงานวิจัยของทีมงานต่อไปได้บ้างก็ยังดี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อำนาจ กล่าว

ด้านนางสาวสุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึงการทำโครงการประเทศไทยไร้หมอกควันว่า ในช่วง 8 ปีที่ฝ่านมาประเทศไทยได้รับผลกระทบจากหมอกควันในพื้นที่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนของทุกปี หมอกควันจากไฟป่าและการเผาวัสดุเหลือใช้ ทางการเกษตรจึงเกิดหมอกควันส่งผลกระทบต่อคุณภาพทางอากาศทัศนวิสัยไม่ดีส่งผลต่อสุขภาพของคนเราด้วย จากการวิเคราะห์มาตั้งแต่ พ.ศ.2555 เป็นต้นมา ปัญหาหมอกควันกระทบต่อสุขภาพคนเราเกิดโรคระบบทางเดินหายได้คิดเป็นร้อยละ 7.72 ของค่า GDP ของจังหวัดเชียงใหม่ หรือประมาณ 6,000 ล้านบาท ยังสร้างความเสียหายต่อมูลค่าการท่องเที่ยวจากรายได้หลัก 2,000 ล้านบาทต่อปี ยังส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศรวมกว่า 8,000 ล้านบาทต่อปีอีกด้วย ดังนั้นกลุ่ม RUN-CCDM จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นจึงทำโครงการประเทศไทยไร้หมอกควันขึ้นเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบมีการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานของการเกิดหมอกควัน การฟื้นฟูป่าและอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำ การป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชน รวมทั้งมีการติดตามคุณภาพของอากาศเพื่อการเฝ้าระวังให้กับประชาชนและเสริมสร้างศักยภาพให้กับประชาชน นักเรียน นักวิจัย เพื่อสร้างความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาหมอกควันอย่างเป็นระบบ รองเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าว
ในงานมีการสาธิตวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศชนิดแสดงผลทันทีให้ผู้เข้าประชุมชม มีทั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ นักวิชาการและภาคเอกชน รวมทั้งมีประชาชนรวมงานฟังการเสวนาจำนวนมาก

ร่วมแสดงความคิดเห็น