เชียงใหม่ชู “แม่แจ่มโมเดล” ร่วมจัดการหมอกควันไฟป่า

7.jpgนายทศพล เผื่อนอุดม นายอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ในการเดินทางมาตรวจเยี่ยมและติดตามความก้าวหน้าในกิจกรรมโครงการต่างๆของรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทน์โอชา นายกรัฐมนตรี ในวันนี้(27 เมษายน 2559)ที่เชียงใหม่นั้น

ทางอำเภอได้รวบรวมข้อมูล ตลอดจนรายละเอียดของการบริหารจัดการหมอกควันไฟป่าในพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม ซึ่งเป็นโครงการที่เรียกว่า”แม่แจ่มโมเดล” ซึ่งจริงๆแล้วแนวทางดังกล่าวทางอำเภอแม่แจ่ม ร่วมกับภาคีเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม สถานศึกษาได้ร่วมกันดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง

โดยแผนงานจะแบ่งออกเป็น 3 มาตราการ ตั้งแต่ก่อนช่วงขอความร่วมมือเผา เพื่อเป็นการป้องกัน และช่วงขอความร่วมมือ (15 กพ.59-15 เม.ย.59 ) เป็นช่วงรับมือกับปัญหาและช่วงหลัง 60 วันห้ามเผา ซึ่งคือช่วงติดตามผล
ด้านนายวิจรณ์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ยืนยันว่า การจัดการปัญหาเชื้อเพลิงจากภาคการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกข้าวโพดราวๆแสนกว่าไร่ ส่วนที่เหลือทิ้งจากภาคการเพาะปลูกนี้ จะมีประมาณ เกือบแสนตัน มีต้น ตอและใบอีกกว่า 6 หมื่นตัน

วิธีการไถฝังกลบช่วยลดการเผาได้มาก ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน แนวทางดังกล่าวภาคเอกชน ผู้ประกอบการที่ร่วมส่งเสริมการเพาะปลูกข้าวโพด รวมถึงเกษตรกรร่วมมือกันดี สามารถจัดการพื้นที่ได้ถึงหมื่นกว่าไร่
ในขณะที่เปลือกและซังข้าวโพด ประมาณ 4 หมื่นตัน นำไปเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ เป็นวิธีการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ที่หน่วยงานราชการกำลังพยายามเร่งขยายผลไปสู่พื้นที่เสี่ยง8-9 จังหวัด

4.jpg
ทศพล เผื่อนอุดม นายอำเภอแม่แจ่ม
1.jpg
วิจารณ์ สิมาฉายา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
3.jpg
ตรวจติดตามวัดค่าอากาศอย่างใกล้ชิด

นายอัฐ สมยศ นายกเทศมนตรีตำบลแม่แจ่ม เชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมมอบหมายนโยบายและการประสานความร่วมมือของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ในอำเภอแม่แจมนั้น นายอำเภอได้เน้นถึง การลดภาพที่แม่แจ่มเป็นจำเลยของสังคมทุกๆปี การเกิดปัญหาหมอกควัน สถิติต่างๆ ต้องมีแม่แจ่ม เป็นตัวอย่าง

ทั้งๆที่การดำเนินการ บริหารจัดการ ปัญหานั้นทุกๆอปท. เฝ้าระวัง ควบคุม ติดตามกวดขันการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอย่างใกล้ชิด แทบจะแบ่งพื้นที่ดูแลกันแบบไม่ปล่อยเลย ความพยายามสร้างจุดจัดการเชื้อเพลิงอัดแท่ง การนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทนหรือการนำมาทำปุ๋ยอินทรีย์ ช่วยลดภาวะหมอกควันในเขตรับผิดชอบได้มาก

จุดความร้อนที่ตรวจพบ อาจเป็นช่วงหลังผ่อนผัน 60 วันห้ามเผา อาจมีการจุดเผา ทำลายเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไปบ้าง เมื่อเกิดวิกฤติปัญหาในปีนี้ ในปีต่อๆไปก็จะกวดขัน คงมาตรการห้ามเผาอย่างเข้มข้นยิ่งขึ้น ซึ่งชาวแม่แจ่ม ร่วมใจกัน พร้อมที่จะขับเคลื่อน แม่แจ่มโมเดลให้เป็นต้นแบบจัดการปัญหาหมอกควันอย่างยั่งยืน เนื่องจากตระหนักถึงผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ที่ติดตามมาอีกมากมาย

2.jpg
อัฐ สมยศ นายกเทศมนตรีตำบลแม่แจ่ม
6.jpg
ร่วมมือจัดการปัญหาหมอกควันไฟป่าในพื้นที่ อำเภอแม่แจ่ม

5.jpg

ร่วมแสดงความคิดเห็น