เปิดโครงการ พัฒนาโรงสีข้าว แบบครบวงจร

b2 w=9h=6กระทรวงวิทย์ฯ ร่วมมือ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ประกาศความสำเร็จโครงการพัฒนาสร้างโรงสีข้าวแบบครบวงจรขนาดชุมชนโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ด้านผู้ช่วยปลัดกระทรวงวิทย์ชี้ โครงการดัวกล่าวจะเป็นแนวทางที่ทั้งทุกภาคส่วนได้ให้ความสำคัญกับพลังงาน และสามารถนำมาใช้งานได้อย่างไม่จำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาคเกษตรของประเทศ

เมื่อวันที่ผ่านมา นายอลงกรณ์ เหล่างาม ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย นายสมศักดิ์ ถนอมวรสิน ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมเครื่องจักรไทย อาจารย์รชฏ เชื้อวิโรจน์ รออธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ดุษฎี วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกันแถลงข่าวความสำเร็จโครงการพัฒนาสร้างโรงสีข้าวแบบครบวงจรขนาดชุมชนโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ณ วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
โดยนายอลงกรณ์ เหล่างาม ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า ถึงแม้ประเทศไทยจะก้าวไปสู่การเปิดตลาดเสรีทางการค้า แต่ประเด็นเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหารโดยเฉพาะสินค้าข้าว ซึ่งเป็นอาหารจานหลักของคนในประเทศ ทำให้นโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีในการสนับสนุนในประเด็นของการพึ่งพาตนเอง (Self Sufficiency) ยังคงความสำคัญกับสภาพวิถีชีวิตของเกษตรกรไทยในภูมิภาคต่างๆ จึงได้เกิดการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบในกระบวนการสีข้าวแบบครบวงจร ขนาดชุมชนโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อให้เกษตรกรสามารถลดการใช้พลังงานสิ้นเปลือง เพิ่มการใช้พลังงานสะอาด โดยนำมาใช้ในสีข้าวเพื่อผลิตข้าวได้อย่างมีคุณภาพ เกษตรสามาพึ่งพาตนเอง ทั้งยังเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวของชุมชนได้มากยิ่งขึ้น

นายอลงกรณ์ กล่าวอีกว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมเครื่องจักรกลไทย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และบริษัทไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด ด้วยเห็นถึงประโยชน์จากการใช้พลังงานทดแทนต่อกระบวนการผลิตข้าวของเกษตรไทย ซึ่งเป็นแนวทางที่ทั้งทุกภาคส่วนได้ให้ความสำคัญกับขุมพลังงานสามารถนำมาใช้งานได้อย่างไม่จำกัดนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาคเกษตรของประเทศ

โรงสีข้าวแบบครบวงจรขนาดชุมชนโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ขนาดกิโลวัตต์ 8 กิโลวัตต์ (kW) กำลังผลิต 20 กิโลกรัมต่อชั่โมง สามารถทำงานได้วันละ 5 ชั่วโมง ประกอบด้วย โรงสีข้าว เครื่องสูบน้ำ โดมอบข้าว ไซโลเก็บข้าว และเครื่องบรรจุข้าวใส่ถุงพลังงานแสงอาทิตย์ เกษตรกรสามารถตาก สี และบรรจุข้าวในถุงที่สวยงามแบบเบ็ดเสร็จพร้อมที่จะนำผลผลิตออกจำหน่ายหรือบริโภคในครัวเรือนได้ทันที ทั้งนี้ บริษัทไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด มีแผนที่จะผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ในราคาชุดละประมาณ 933,000 บาท (ไม่รวมค่าโรงเรือนและที่ดิน) หรือเฉพาะโดมอบข้าวพลังงานแสงอาทิตย์ราคาประมาณ 195,000 บาท ซึ่งหากหน่วยงาน หรือเกษตรชุมชนใดสนใจ สามารถเข้าชมเครื่องต้นแบบได้ที่วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวส่งท้าย

ร่วมแสดงความคิดเห็น