ชลประทานนำทัพสื่อ ลุยฝ่าวิกฤติภัยแล้ง

6.jpgวิกฤติภัยแล้งแต่ละลุ่มน้ำเดือดร้อน ชลประทานนำทัพสื่อมวลชนเกาะติดสถานการณ์พื้นที่ภาคเหนือตอนบน มั่นใจเมืองไทยมีคนเก่ง รอบรู้ระบบน้ำ หวังช่วยแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนในอนาคต ด้านผู้เชี่ยวชาญน้ำเตือนระวังฝนตกปลายพฤษภาคมนี้  แต่อาจทิ้งช่วงกย.-ตค.ก่อนฝนกระหน่ำอีกชุดใหญ่ อาจท่วมในบางพื้นที่เสี่ยง เตรียมรับมือ

4.jpg นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวในระหว่างนำคณะสื่อมวลชนติดตามดูแนวทางการพัฒนาและบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำยม-น่าน ( ช่วง10.00 น.วันนี้ -2พค.59)ว่าอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำกักเก็บรวม 32,728 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 47% ของความจุ และเป็นน้ำใช้การได้จริงเพียง 9,225 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2553 ที่เป็นปีแล้งเข้าขั้นวิกฤติ

ทั้งนี้อ่างเก็บน้ำเกือบทุกภาคของประเทศมีน้ำใช้การต่ำกว่า 30 % ภาคเหนือ เฉพาะเขื่อนหลักๆ เช่น เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำใช้การได้จริง ร้อยละ 3 เขื่อนแม่งัด3%,เขื่อนแม่กวง4% เป็นต้น ต้องบริหารจัดการน้ำอย่างรอบคอบ ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำ และแหล่งน้ำต้นทุนที่มีอยู่

5.jpgสำหรับศักยภาพพื้นที่ตอนบนของแต่ละลุ่มน้ำมีพื้นที่เหมาะสมในการสร้างแหล่งน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำ ฝาย ซึ่งในลุ่มน้ำน่าน  มีเขื่อนสิริกิติ์เป็นแหล่งน้ำต้นทุนมาเติมให้ระบบชลประทานด้านล่าง ส่วนลุ่มน้ำยมไม่มีแหล่งน้ำต้นทุนมีเพียวการพัฒนาสร้างฝาย ประตูระบายน้ำในลำน้ำก็สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ได้ประมาณ 2-3 เดือน การบริหารจัดการพื้นที่แก้มลิงลุ่มต่ำ เพื่อหน่วงน้ำไว้หรือถ่ายเทไป-มาระหว่างลำน้ำยม-น่าน โดยมีโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษายม-น่าน ดูแลจัดการแก้ไขและบรรเทาปัญหาน้ำ

ในส่วนของคณะทำงานทีมคอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด ให้ความคิดเห็นว่าปรากฏการณ์เอลนิโญซึ่งเริ่มเมื่อเดือน เม.ย. 2558 อ่อนกำลังลงตั้งแต่กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาแล้ว ภาวะภัยแล้งปีนี้ลากยาวมาตั้งแต่ปี 58 ภาคเหนือ-อีสานตอนบนคงค่อนข้างหนัก หลังจากปลายเดือนพฤษภาคมนี้ไป ฝนน่าจะเขามาปริมาณฝนที่จะตกเหนือเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย เขื่อนแม่กวง เขื่อนแม่งัดช่วงกันยายนไปถึงตุลาคม อาจเกิดปัญหาฝนทิ้งช่วงได้ พอใกล้ช่วงพฤศจิกายน อาจจะเป็นภาวะลานิญามีปัญหาฝนตกหนัก น้ำมากอีก ต้องบริหารจัดการน้ำในแต่ละลุ่มน้ำอย่างระมัดระวัง

1.jpg
สมเกียรติ ประจำวงศ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน

อย่างไรก็ตาม รองอธิบดีกรมชลประทานยืนยันว่า แม้ภาวะธรรมชาติจะแปรปรวนไปมาก ยังเชื่อมั่นในศักยภาพบุคลากร ผู็เชี่ยวชาญ ด้านบริหารจัดการน้ำทั้งของหน่วยงานราชการและภาคเอกชน จะระดมความคิด ความร่วมมือในการเฝ้าระวัง แก้ไข บริหารจัดการเรื่องน้ำอย่างเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทางด้านกลุ่มงานก่อสร้าง 2 สำนักงานก่อสร้างที่ 1เชียงใหม่ ให้ข้อมูลว่าการก่อสร้างฝายดอยน้อยต.ดอยหล่อ อ.ดอยหล่อ เชียงใหม่ งบประมาณ 308 ล้านบาท ซึ่งมีนายดวงพลฤทธิ์ สิทธิอาตม์หาญ เป็นผู้ควบคุมงานนั้น ตั้งแต่เริ่มสัญญาก่อสร้างเมื่อ 9 กันยาน ปี 57 และสิ้นสุดสัญญา 23 สิงหาคม 2560 นั้นการก่อสร้างเป็นไปตามแผนงาน หลังเปิดใช้งานคาดว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้ง และปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่อำเภอดอยหล่อและพื้นที่ใกล้เคียงได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้แน่นอน
2.jpg

3.jpg
โครงการก่อสร้างฝายดอยน้อย อ.ดอยหล่อ เชียงใหม่
7.jpg
สุดารัตน์ วัชรคุปต์ เหล่าวิชยา ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 15 และ 16 ตรวจติดตามความก้าวหน้าการแก้ปัญหาภัยแล้ง ณ ฝายสมุน ต.สะเนียน อำเภอเมืองน่าน

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในช่วง 09.00-12.00 น.วันนี้ (2 พฤษภาคม 2559 )นางสุดารัตน์ วัชรคปต์ เหล่าวิชยา ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 15 และ 16 ได้เดินทางมาตรวจติดตามความก้าวหน้าการแก้ปัญหาภัยแล้ง พร้อม ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำจังหวัดน่าน ณ ฝายสมุน ตำบลสะเนียน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โดยมี นายชัยประเสริฐ เนตรอนงค์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานน่าน พร้อมผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมและรายงานสรุปสถานการณ์จัดการน้ำในลุ่มน้ำน่าน

ร่วมแสดงความคิดเห็น