ขยะยิปซีสุมเชียงใหม่ ชุมชนวอนอย่ามักง่าย

1.jpgกรณีผู้ใช้เส้นทางถนนวงแหวนรอบ 3 ร้อง”ทีมข่าวเชียงใหม่นิวส์” ให้ช่วยตรวจสอบ ปัญหาขยะ ที่บรรจุถุงดำทิ้งกระจัดกระจายตามเส้นทางสายต่างๆในพื้นที่เชียงใหม่  ตรวจสอบปัญหาดังกล่าวได้รับคำชี้แจงจากหมวดการทางฯ ในส่วนควบคุมของแขวงการทางที่ 1 และที่ 2 ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ได้นิ่งนอนใจ มีการประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)ช่วยจัดเก็บ

2.jpgแต่ในกรณีที่พื้นที่รับผิดชอบของหมวดการทางฯจุดที่มีขยะมากๆ ก็จะเร่งดำเนินการ ที่พบเห็นในระยะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการแอบโยนทิ้งข้างทางประเภทจอดรถเสร็จ ก็คว้าถุงดำ หรือขยะโยนลงข้างทาง จนกลายเป็นภาพที่ไม่งาม

หากชาวบ้านพบเห็นก็จดแจ้งทะเบียนรถ ประสานท้องถิ่น (อปท.)หรือหมวดการทางในพื้นที่ดำเนินได้ เพราะมีโทษจับ ปรับ

ด้านฝ่ายจัดการสภาพแวดล้อม วัสดุใช้แล้ว สำนักการช่าง เทศบาลนครเชียงใหม่ กล่าวว่า ขยะในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ถ้าเป็นส่วนขยะอันตรายจะมีการแยก เพื่อนำไปจัดการตามกรรมวิธีที่ถูกต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

7.jpg
ขยะอันรายประเภทหลอดไฟฟ้า มีการคัดแยกรวบรวมก่อนจัดการอย่างมาตรฐานจัดการขยะอันตราย

นอกจากนั้นบรรดาเศษกิ่งไม้ ใบไม้ หรือแม้แต่ วัสดุที่สามารถย่อยสลาย ทำเป็นปุ๋ยได้ เช่น เปลือกมะพร้าว ตามตลาดสด ก็มีการนำไปทำปุ๋ยในศูนย์เรียนรู้ ที่สวนหลวง ล้านนา ร.9 และมีการทำข้อตกลงกับ เอกชนบางรายที่เสนอขอเปลือกมะพร้าวจากการคัดแยกทุกวัน มากกว่า 5 ตันไปจัดการย่อยสลาย ทำเป็นปุ๋ย

นายทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ยอมรับว่า ช่วงสัปดาห์ก่อนมีการสอบถามและร้องเรียนเรื่องลานฝังกลบบริเวณชุมชนข่วงสิงห์มาว่ามีกลิ่นและฝุ่นละออง รบกวนชาวบ้านบริเวณใกล้เคียง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวใช้เป็นลานคัดแยก ลานกลบ กิ่งไม้ ใบไม้ รวมถึงเปลือกมะพร้าวที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติจึงไม่น่าจะทำให้เกิดมลพิษใดๆได้

ส่วนรถขนขยะสีเหลืองที่มีการลำเลียงขยะไปเป็นรถของเทศบาลฯใช้ขนกิ่งไม้ใบไม้และเปลือกมะพร้าวเท่านั้น เทศบาลขอขอบคุณในข้อเสนอแนะจากประชาชน

10.jpg
ขยะในเชียงใหม่ยังมีรูปแบบที่ไม่คัดแยกประเภทขยะก่อนทิ้ง
9.jpg
เกือบทุกชุมชนในเขตนครเชียงใหม่ มีโครงการคัดแยกขยะ

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 เชียงใหม่ ระบุว่า การจัดการขยะ เป็นวาระแห่งชาติ มีโรดแมปที่กำหนดแนวทางจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ได้รับความเห็นชอบจาก คสช. แล้ว  ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1. เร่งจัดการขยะมูลฝอยเก่าในสถานที่กำจัดขยะในพื้นที่วิกฤติ 2. ให้มีรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อจัดการกับขยะที่เข้ามาใหม่ โดยเน้นการลด คัดแยกขยะ มูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง การรวมกลุ่มองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อมุ่งสู่การกำจัดโดยใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสานเน้นการแปรรูปเป็นพลังงาน 3. จัดระเบียบมาตรการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย และ 4. กระตุ้นวินัยของคนในชาติ มุ่งสู่การจัดการที่ยั่งยืนโดยการประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้กับประชาชนและการบังคับใช้กฎหมาย

สำหรับแผนปฏิบัติการในระดับพื้นที่จะให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535 จัดการในพื้นที่มีปัญหา

ทั้งนี้ประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยเกือบ 27 ล้านตัน ขณะที่สถานที่กำจัดขยะแบบถูกสุขอนามัย มีเพียง 466 แห่งจากทั้งหมด 2,490 แห่ง หรือเพียงร้อยละ 19 เท่านั้น ส่วนอีกร้อยละ 81 หรือ 2,024 แห่ง เป็นการกำจัดขยะแบบไม่ถูกสุขอนามัย เช่น กองทิ้งไว้กลางแจ้ง เผาในที่โล่ง รวมถึงลักลอบทิ้งในสถานที่ไม่เหมาะสม การมีจิตสำนึกที่ดี ในการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาชุมชน ในเรื่องขยะจึงเป็นสิ่งที่ทุกๆฝ่ายต้องร่วมมือกัน

5.jpg
ขยะในทุกท้องถิ่น..เป็นภาระ หน้าที่ของทุกฝ่ายต้องร่วมกันจัดเก็บ จัดการ

6.jpg3.jpg1.jpg ด้านนายอดุลย์ ฮวกนิล นายอำเภอสันทราย กล่าวว่า บริเวณพื้นที่ริมถนน ในเส้นทางสัญจรสำคัญๆ จะมีหมวดการทางมีท้องถิ่น ช่วยกันดูแลสอดส่องจัดการขยะ ที่มักง่ายนำมาทิ้งเรี่ยราดตามข้างถนน จุดใดที่พบเห็นก็สามารถแจ้งท้องถิ่นใกล้เคียงได้ เรื่องนี้เป็นความร่วมมือของทุกคนที่ต้องทำให้บ้านเมืองสะอาดตา น่ามอง

อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่า บางส่วนยังมีพฤติกรรมที่มักง่าย ดังนั้นสังคมต้องช่วยกันสอดส่อง และเน้นย้ำให้ทุกท้องที่ ท้องถิ่นเฝ้าระวัง บรรดาขยะยิปซี ขยะเร่ร่อนที่มักง่ายนำไปแอบทิ้งตามที่รกร้างว่างเปล่าอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว

1.jpg

4.jpg
มีป้ายเตือน ห้ามทิ้งขยะก็ยังแอบทิ้งเกลื่อนถนนวงแหวนในเชียงใหม่

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่า กรณีที่อปท.สอบถามความชัดเจนในการจัดตั้ง โรงไฟฟ้าขยะในพื้นที่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการแก้ปัญหาขยะ นั้น มีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2558 เมื่อที่ 19 ส.ค. 2558

รายละเอียดดังกล่าวมีการประสานงานระหว่างกระทรวงฯกับมหาดไทย กับกรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เงื่อนไข หลักเกณฑ์ หลักการนี้เท่านั้น การจะตั้งได้ไม่ได้ ขึ้นอยู่กับประชาชนในพื้นที่ตั้งโรงงานด้วย
นายชาตรี เชื้อมโนชาญ รองนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ยอมรับว่า ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นแต่ละวันกว่า 300 ตัน สามารถจัดการลดจำนวนได้ร้อยละ 15-20 วิธีการที่ใช้จัดการขยะที่เกิดขึ้นในเขตรับผิดชอบ และยังมีขยะจากนอกพื้นที่ นำเข้ามาทิ้งนั้นได้ว่าจ้างเอกชนนำไปฝังกลบ ใช้งบค่อนข้างมากในแต่ละปีงบประมาณ

ดังนั้นแนวคิดการจัดตั้งโรงงานไฟฟ้าพลังงานขยะ เพื่อนำขยะไปเข้ากระบวนการ สร้างพลังงาน ยังติดปัญหาเรื่องสถานที่ตั้ง ในส่วนของอบจ.เชียงใหม่ หรือท้องถิ่นขนาดใหญ่ๆ ระดับเทศบาลเมือง ก็มีแนวคิดที่จะรวมกันเป็นเครือข่ายจัดการขยะ เพื่อการนำไปฝังกลบนั้นเป็นวิธีการที่สิ้นเปลืองงบฯ ถ้าสามารถลดจำนวนขยะ และนำมาใช้เป็นพลังงานได้ ก็จะลดปัญหาขยะ ใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

8.jpg
คลองแม่ข่า..กับปัญหาขยะยังคงทิ้งสุมๆเป็นระยะๆ

ส่วนเรื่องขยะพเนจร หรือแอบนำมาทิ้งตามรายทางในเขตเทศบาลนครฯนั้นค่อนข้างลดน้อยลง เนื่องจากมีการติดตั้งกล้องมีแนวร่วมชุมชนช่วยสอดส่อง อาจจะมีทิ้งตามที่รกร้างบ้าง แต่ไม่มาก ที่น่ากังวลก็จะเป็นเรื่องทิ้งขยะในคูคลอง แม่ข่ามากกว่า

ร่วมแสดงความคิดเห็น