กลุ่มเครือข่ายประชารัฐน่าน จับมือกับชาวบ้าน ร่วมกันสร้างฝาย

B8

เมื่อเร็วๆนี้ ที่บ้านพี้เหนือ หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านพี้ อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน นายสุวัฒน์ พรมสุวรรณ พร้อมด้วย นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ นายกเหล่ากาชาด จังหวัดน่าน และ รศ.ดร.สมบัติ ชิณะวงศ์ ร่วมกับชาวบ้านพี้เหนือหมู่ที่ 4 ตำบลบ้านพี้ อำเภอบ้านหลวง และชาวบ้านนาก้า หมู่ 1 ตำบลยาบหัวนา อำเภอเวียงสา และกลุ่มเครือข่ายประชารัฐน่าน กว่า 100 คน ร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำ ในลำน้ำห้วยพริกน้อย ในพื้นที่บ้านเหนือ จำนวน 3 ฝาย ซึ่งเป็นฝายขนาดใหญ่ 1 ฝายและฝายขนาดเล็ก จำนวน 2 ฝาย โดยมีเป้าหมายสร้างฝายชลอน้ำให้ครบ 100 ฝาย ตลอดลำห้วย เพื่อเป็นการสร้างความชุ่มชื้นให้กับผิวดินก่อนทำการส่งเสริมอาชีพปลูกพืชผักสวนครัว ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง พอกิน พอใช้ส่วนที่เหลือนำไปจำหน่าย สร้างรายได้ให้ครอบครัว และค่อยๆลดพื้นที่การเพาะปลูกข้าวโพด ร่วมการสร้างฝาย โดยที่ไม่ได้ใช้งบประมาณของหน่วยงานราชการ

ทั้งนี้จากการประชาคมชาวบ้านในพื้นที่พบว่า ประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นและยอมรับการทำงานของภาครัฐ ซึ่งมีความรู้สึกว่าถูกหลอก เมื่อเข้าไปขอความร่วมมือทุกคนเพิกเฉยไม่ตอบสนองเชิงบวก ด้วยเหตุการณ์บังคับการใช้กฎหมายที่ผ่านมาเป็นผลให้ต้องปรับกระบวนการทำงานใหม่โดยให้ภาคประชาชนเป็นฝ่ายนำรัฐหนุนที่เรียกว่า “ประชารัฐ” มีเป้าหมายใช้วัดเป็นศูนย์กลางประสานงานเครือข่าย โดยมีวัดมิ่งเมืองเป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชารัฐหลัก และวัดประจำหมู่บ้านเป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายประจำหมู่บ้านตามกรอบแนวคิดร้อยปราชญ์ ร้อยวัด ร้อยโรงเรียน (ร้อย หมายถึงการเกี่ยวร้อยหรือเชื่อมเข้าด้วยกันในลักษณะเครือข่าย) การทำงานของคณะทีมงานเครือข่ายประชารัฐเป็นการดำเนินงานในรูปแบบเอกชน ซึ่งมีทั้งประชาชนและข้าราชการที่มาร่วมกันทำงานเป็นจิตอาสาโดยไม่มีหัวโขน ไม่ใช้งบประมาณจากภาคส่วนราชการเว้นการขอรับการสนับสนุนเติมสิ่งขาดที่เกิน ความสามารถของทีมงานไปยังภาคส่วนหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ให้ลุล่วงด้วยดีโดยยึดคำขวัญ “ททท.(ทำทันที) ขับเคลื่อนให้เกิดผลเชิงประจัก เป้าหมายพัฒนาสู่องค์กรในรูปแบบมูลนิธิ นอกจากนี้เงินทุกบาททุกสตางค์ ที่ทางกลุ่มประชารัฐน่าน ได้สนับสนุนมาจากภาคเอกชนจะมีการควบคุมและรายงานการใช้จ่ายอย่างโปร่งใสต่อสาธารณะในรูปของคณะทำงานเครือข่ายประชารัฐน่าน ผู้มีอำนาจเบิกจ่ายเงินกองทุน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามมติคณะทำงาน”ประชารัฐ” มีเป้าหมายใช้วัดเป็นศูนย์กลางประสานงานเครือข่าย พร้อมทั้งเดินหน้าในการสร้างความดี ควบคู่กับการส่งเสริมอาชีพการปลูกพืชผักสวนครัว ตามแนวทางหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพอกินพอใช้เหลือขาย และค่อยๆลดพื้นที่ การปลูกพืชเชิงเดี่ยว การปลูกข้าวโพด ลดลงและหมดไปในที่สุด

ร่วมแสดงความคิดเห็น