ศุลกากรปรับโฉม ใช้ระบบไอทีหนุน

นางรำพินธ์ กำแพงทิพ
นางรำพินธ์ กำแพงทิพ

ศุลกากรจัดระบบพิธีการอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ที่ใช้ในการปฏิบัติพิธีการนำเข้า-ส่งออก เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าของประเทศและส่งเสริมการค้าเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ให้มีการจัดเก็บภาษีอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส มีประสิทธิภาพสูงสุด

เมื่อเร็วนี้ นางรำพินธ์ กำแพงทิพ หัวหน้าฝ่ายบริการศุลกากรที่ 1 ร่วมบรรยาย ในหัวข้อเกี่ยวกับขั้นตอนและเอกสาร สำหรับพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารใช้ในการปฏิบัติพิธีการนำเข้า-ส่งออก ณ ห้องภูมิระพี โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

เมื่อเร็วๆนี้ นางรำพินธ์ กำแพงทิพย์ หัวหน้าฝ่ายบริการศุลกากรที่ 1 เปิดเผยว่า กรมศุลกากรได้นำระบบพิธีการศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสารใช้ในการปฏิบัติพิธีการนำเข้า-ส่งออก ณ ท่าเรือหรือสนามบินทุกแห่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เพื่อลดขั้นตอนการนำเข้า-ส่งออก โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2556 กรมศุลกากรได้ปรับปรุงระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานศุลกากรรองรับการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ซึ่งผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกจะต้องทำตาม โดยจะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออก ณ ฝ่ายบริการศุลกากรทุกแห่ง(เฉพาะครั้งแรก) ทำตามแบบฟอร์มที่กำหนด พร้อมกับเอกสารรับรองนิติบุคคลออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ใบรับรองใช้ตรายาง สำเนาใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน หนังสือมอบอำนาจ และส่งข้อมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ของผู้ที่เป็นสื่อกลางผู้ให้บริการ โดยการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานที่กรมศุลกากรกำหนด ซึ่งการส่งข้อมูลถือเป็นการจัดทำ ยื่น ส่ง รับเอกสาร และการลงลายมือชื่อในกระดาษ วิธีการส่งข้อมูลระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานที่ศุลกากรกำหนด ให้ส่งข้อมูลใบตัวสินค้าด้วยตัวเอง หรือ มอบหมายให้ตัวแทนออกของ ที่ได้รับอนุญาตเป็นผู้ส่งข้อมูลแทน ใช้เคาน์เตอร์บริการ ที่ได้รับอนุญาตในการส่งข้อมูล ณ ฝ่ายบริการศุลกากร โดยกรอกแบบรายละเอียดใบนำคีย์ให้เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลในระบบ ปัจจุบันกรมศุลกากรใช้พระราชบัญญัติศุลกากร ปี 2469 ควบคุมการส่งออกมีมาตรา คือ มาตรา 45 “ก่อนที่จะส่งของใดๆ ออกนอกราชอาณาจักร ผู้ส่งของออกต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามพระราชบัญญัตินี้ และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับกรมศุลกากร และต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้องและเสียภาษีอากรจนครบถ้วน หรือวางเงินไว้เป็นประกัน การขอวางเงินประกันให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด และมาตรา 10 “ที่ว่าด้วยบรรดาค่าภาษีนั้น ให้เก็บตามบทพระราชบัญญัตินี้และตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร การเสียค่าภาษีให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้”

ทั้งนี้ รำพินธ์ กล่าวต่อไปอีกว่า ผู้ส่งของออกต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติศุลกากรและทำตามกฎระเบียบตามที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด โดยเสียค่าภาษีอากร เกิดขึ้นเวลาส่งออก (เมื่อเรือได้ออกจากเขตท่าเพื่อไปจากราชอาณาจักรอันเป็นชั้นที่สุด) และต้องคำนวนค่าเสียภาษีอากรตามสภาพของ ราคาของ พิกัดอัตราศุลกากรในเวลาออกใบขน กรณีที่เป็นของต้องห้าม ต้องกำกัด ควบคุมการส่งของออกนอกราชอาณาจักรและต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนการส่งออก ซึ่งข้อมูลการส่งออก ใบอนุญาต หนังสือรับรอง หนังสืออนุญาตต่างๆต้องเชื่อมโยงเข้ากับกรมศุลกากรในระบบ NSW หากผู้ประกอบการท่านใดสนใจหรือสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ ฝ่ายบริการศุลกากรที่ 1 หรือเบอร์โทรศัพท์ 053-277695 นางรำพินธ์ กล่าว

ร่วมแสดงความคิดเห็น