การเลี้ยงผึ้งเชิงพาณิชย์

B7 ในปัจจุบันประเทศไทยมีการผลิตน้ำเยอะในปริมาณมาก โดยเฉพาะภาคเหนือ จะเห็นได้จาก น้ำผึ้งที่เป็นที่นิยมคือ น้ำผึ้งจากเกสรดอกลำไย การผลิตน้ำผึ้งให้ได้ปริมาณมากนั้น ซึ่งในปัจจุบันสินค้าจากผึ้งยังมีหลาหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นน้ำผึ้ง นมผึ้ง เกสรผึ้ง พิษผึ้ง พรอพเพอริส แม้กระทั้งตัวอ่อนของผึ้งก็กำลังเป็นที่นิยมและยังสร้างรายได้ให้แก่เกษตรผู้เลี้ยงผึ้งอีกด้วย

การคัดเลือกสายพันธุ์ผึ้งก็เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งมีผลผลิตที่ดี การมีแม่รังผึ้งที่แข็งแรงก็จะทำให้มีจำนวนประชาการผึ้งเยอะ ในประเทศไทยส่วนใหญ่เรานำเข้าสายพันธ์ผึ้งจากต่างประเทศ เช่น พันธุ์ผึ้งสำหรับการผลิตนมผึ้งจะมาจากประเทศไต้หวันและจีน ส่วนพันธุ์ผึ้งที่เลียงไว้สำหรับผลิตน้ำผึ้งก็จะมาจากประเทศออสเตรเลีย เพราะต่างประเทศให้ความสำคัญต่อการผลิตพันธุ์ผึ้งมาก และมีการผลิตสายพันธุ์ผึ้งขนาดใหญ่เป็นแบบระบบอุตสาหกรรม ซึ่งประเทศไทยของเรายังไม่ได้ให้ความสำคัญกับส่วนสายพันธุ์ผึ้งมากนัก นอกจากแม่รังผึ้งแล้วสิ่งสำคัญที่ไม่แพ้กัน นั้นก็คือพ่อพันธุ์ผึ้ง จากการศึกษาวิจัยทั้งในและต่างประเทศพบว่า พ่อพันธุ์ผึ้งหรือผึ้งตัวผู้สำคัญมากเพราะ พันธุกรรมของผึ้งนำโดยผึ้งตัวผู้ หากมีพ่อพันธุ์ผึ้งที่ดี แม่รังผึ้งจะสามารถเก็บน้ำเชื่อของผึ้งไว้ได้นาน 3-5 ปีเลยทีเดียวและจะทำให้ผึ้งรังนั้นมีความแข็งแรง มีจำนวนประชากรผึ้งมากและจะส่งผลให้มีผลผลิตมากอีกด้วย นอกจากผึ้งที่ใช้ผลิตน้ำผึ้ง และนมผึ้งแล้วยังมีสายพันธุ์ผึ้งที่ใช้สำหรับผลิตพรอพเพอริส ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ยาและอื่นๆ ซึ่งไม่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยเพราะพรอพเพอริสคือยางต้นไม้ป่าที่มีกลิ่นหอมมีสรรพคุณทางยา จะพบมากในประเทศบราซิล

B8 การดูแลเลี้ยงผึ้งให้ได้ผลผลิตดี ต้องเข้าใจสภาพแวดล้อม แหล่งอาหารของผึ้ง การเลี้ยงผึ้งขึ้นอยู่กับการจัดการ ผู้เลี้ยงควรหมั่นดูแลในเรื่องของสถานที่วางรังผึ้งให้ใกล้แหล่งอหาร เพราะผึ้งนั่นสามารถจัดการการหาอาหารได้ด้วยตัวของมันเอง สถานที่ที่เหมาะสมจะสังเกตได้จากประชากรผึ้ง หากมีมากขึ้นก็แสดงว่าแหล่งอาหารนั้นอุดมสมบูรณ์ดี ส่วนใหญ่มีสองลักษณะคือ การเลี้ยงผึ้งตามฤดูกาลคือการเลี้ยงใกล้กับแหล่งผลไม้ตามฤดูกาล เช่น หน้าลำไย หน้าลิ้นจี่ แปลงปลูกดอกทานตะวัน เป็นต้น สองการเลี้ยงผึ้งแบบธรรมชาติใกล้ชายป่า ซึ่งผึ้งก็จะสามารถหาอาหารตามแนวป่าได้เอง

B9

ในส่วนของโรคผึ้ง อาจจะมีอาการของโรคท้องเสียและโรคหนอนเน่า อาการโรคท้องเสียในผึ้งจะเกิดจากฝนตกเป็นเวลานานติดต่อกันหลาย รังผึ้งอับชื้น ไม้ที่ใช้ทำรังผึ้งไม่ระบายน้ำได้ดี ซึ่งปกติผึ้งขับถ่ายทุกวันในช่วงบ่าย แต่เมื่อฝนตกผึ้งจะไม่ออกไปหาอาหารและขับถ่ายและจะเกิดพฤติกรรมการถ่ายอาหารจากผึ้งสู้ผึ้งเอง ดังนั้นผึ้งก็จะติดเชื้อและตาย อาจจะตาย 50 เปอร์เซนต์ของรังหรือยกรังก็เป็นได้เพราะผึ้งมีพฤติกรรมอีกอย่างหนึ่งคือเวลาตายจะตายยกฝูง ดูแลแก้ไขด้วยการเปลี่ยนรังผึ้งอาจจะปีละครั้ง เพื่อให้สะอาดอยู่เสมอ อาจจะใช้รังผึ้งที่ทำจากไม้สนที่มีความทนทานต่อแดดและฝน ทนต่อความอับชื้นและเชื่อราได้ดี พฤติกรรมอีกอย่างหนึ่งของผึ้งคือเมื่อมีผึ้งบางตัวในฝูงป่วยหรือพิการ ผึ้งตัวที่แข็งแรงดีจะกำจัดผึ้งตัวที่ป่วยออกนอกรังทันทีเพื่อไม่ให้ติดเชื้อไปยังผึ้งตัวอื่นๆในฝูง เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลผึ้งก็คือการดูแลให้ผึ้งแข็งแรงดูได้จากจำนวนประชาการผึ้ง ถ้ามีประชากรจำนวนมาก ผึ้งก็จะจัดการดูแลตัวเองได้ดี แข็งแรงและมีผลผลิตที่ดี

ศัตรูที่สำคัญและอันตรายอีกหนึ่งอย่างของตัวผึ้งก็คือตัวต่อ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมเลี้ยงเพิ่มขึ้น ตัวต่อจะเข้ามาทำลายผึ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยง แนะนำให้หารังต่อแล้วทำลาย ในกรณีของเกษตรกร ผู้เลี้ยงผึ้งชายป่า ปัจจุบันมีการนำกับดักต่อมาใช้โดยพัฒนามาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งใช้ได้ผลในประเทศแต่ก็ไม่ค่อยเป็นนิยมมากนักB10คำแนะนำ สำหรับผู้เลี้ยงผึ้งหรือผู้ที่สนใจ ในช่วงแรกของการเลี้ยงอาจจะต้องทนกับฤทธิ์ของเหล็กในผึ้งอาจจะเจ็บปวด แต่ให้นึกถึงผลผลิตที่ได้คุ้มค่าและถ้าไม่ย่อท้อมีความพยายามศึกาพฤติกรรมผึ้งที่เลี้ยงไว้ก็จะสามารถปรับตัวได้ และผู้เลี้ยงผึ้งยังจะต้องมีความตั้งใจ จริงใจและอกทน หมั่นค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับผึ้งให้มาก ศึกษาเรื่องการตลาด หาตลาดเองพัฒนาคุณภาพของน้ำผึ้งก็จะทำให้ได้รายได้ที่ดี

สุดท้ายนี้มีกิจกรรมดีๆ ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 มีกิจกรรมสัมมนาของสมาคมผู้เลี้ยงผึ้งไทย ในงานจะมีการบรรยายทิศทางของตลาดเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง ปัญหาที่พบ การแก้ไข และเทคนิควิธีการต่างๆมากมาย สามารถติดต่อ ผศ.พิชัย คงพิทักษ์ ได้โดยตรง โทร.081-2877105 หรือ 053-944030 และสมาคมผู้เลี้ยงผึ้งไทย

ศูนย์บริการวิชาการฯ
คณะเกษตรศาสตร์ มช.

ร่วมแสดงความคิดเห็น