สกู๊ปหน้า 1…เข้าหน้าฝน เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก

1111 ไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค หลังจากถูกยุงที่มีเชื้อกัด 5 – 8 วัน ผู้ป่วยจะเริ่ม มีอาการไข้สูงลอยประมาณ 2 – 7 วัน บางรายมีจุดเลือดสีแดงขึ้น ตามลำตัว แขน ขา อาจมีเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน และอาจเกิดอาการช็อกได้ ในรายที่ช็อกผู้ป่วยมักมีอาการหลังจากไข้สูง โดยผู้ป่วยจะมีอาการซึมลง ตัวเย็น ชีพจรเบาเร็ว หมดสติ หาก รักษาไม่ทันก็อาจเสียชีวิตได้

ตั้งแต่ ปีพ.ศ. 2549–2558 เขตสุขภาพที่ 1 พบว่าอัตราป่วย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราป่วยตายมีแนวโน้มลดลง สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม 2559 พบป่วยจำนวน 435 ราย อัตราป่วยเท่ากับ 7.63 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10 – 14 ปี อัตราป่วยเท่ากับ 15.17 ต่อประชากรแสนคน รอง ลงกลุ่มอายุ 15 – 24 ปี และ 5 – 9 ปี อัตราป่วยเท่ากับ 14.6 และ 14.5 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ จังหวัด ที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน อัตราป่วยเท่ากับ 15.36 ต่อ ประชากรแสนคน รองลงมาคจังหวัดลำพูน,เชียงใหม่ และ ลำปาง อัตราป่วยเท่ากับ 14.55, 8.43 และ 8.22 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ

จากการการพยากรณ์โรคไข้เลือดออกรวมโดยใช้ข้อมูลจากระบบเฝ้าระวัง R506 ปีพ.ศ.2549 – 2558 (ข้อมูลรายเดือน) ของเขตสุขภาพที่ 1 วิเคราะห์โดยใช้อนุกรมเวลา(Time seriesanalysis) ด้วยวิธีของ Holt และWinters ในปี 2559 อาจจะพบผู้ป่วยไข้เลือดออกรวมทั้งปี จำนวน 49,199 ราย ซึ่งมากกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี เกิน 10 เท่า (รูปที่ 1) คาดการณ์ว่าอัตรา ป่วยในกลุ่มผู้ใหญ่อายุ 15 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มสูงขึ้น กลุ่มเสี่ยงยังคงเป็นกลุ่มเด็กนักเรียน โดยเริ่มพบผู้ป่วยมากกว่าค่ามัธยฐานตั้งแต่ต้นปี และพบมากขึ้นอย่างชัดเจนตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นไป

2222คาดการณ์ว่า!!!……ฤดูฝนปีนี้อาจพบการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยคาดว่าในช่วงเดือนพฤษภาคม จะพบผู้ป่วยจำนวน 9,044 ราย มากกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี ถึง 10 เท่า จากการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง โดยใช้ข้อมูลด้านความรุนแรง ได้แก่ พื้นที่ป่วยซ้ำซาก และข้อมูลอุบัติการณ์โรคไข้เลือดออกและด้านโอกาสที่จะเกิดการระบาด ได้แก่ การเคลื่อนย้าย ประชากร ความหนาแน่น ของประชากร และความร่วมมือของประชาชน ปีพ.ศ.2559 พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงสูง จำนวน 27 อำเภอ พื้นที่เสี่ยงปานกลาง จำนวน 75 อำเภอ และพื้นที่เสี่ยงต่ำ จำนวน 1 อำเภอ
มาตรการและข้อเสนอแนะสำหรับประชาชน
1) ประชาชนทุกคนต้องให้ความร่วมมือในการป้องกันควบคุมโรค โดยการกำจัดลูกน้ำยุงลายในบริเวณบ้านเรือนของตัวเอง ซึ่งควรดำเนินตามมาตรการกรมควบคุมโรค คือ มาตรการ 3 เก็บ (เก็บบ้านให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพัก เก็บขยะภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ เก็บน้ำปิดให้มิดชิดไม่ให้ยุงวางไข่) + 5 ส. (สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย) และต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

2) หากมีไข้สูงลอย (มากกว่า 38 องศาเซลเซียส) ตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป และสงสัยจะป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกควรรีบไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที ไม่ควรปล่อยให้หายเอง เพราะอาจจะทำไห้เสียชีวิต และอาจเป็นแหล่งรังโรคแพร่เชื้อไปสู่ญาติคนอื่นในครอบครัวได้ ทั้งนี้ ต้องระวังตนเองไม่ให้ยุงกัด เช่น การนอนในมุ้ง การใช้ยาทากันยุง และการใช้ไม้ตียุงทำลายยุงตัวแก่

3) ควรให้ความร่วมมือกับ อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่เข้าไปสุ่มสำรวจความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้านทุกครั้ง

สำหรับบุตรหลานที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกผู้ปกครองสามารถดูแลได้ โดยการเช็ดตัว ร่วมกับให้รับประทานยาพาราเซตามอลเท่าที่จำเป็น ไม่ควรรับประทานยาพาราเซตามอลถี่กว่าทุก 4 ชม./ครั้ง และไม่ควรรับประทานยาแอสไพริน หรือยาลดไข้ไอบูโพรเฟน เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงของภาสะเลือดออก ดื่มน้ำเกลือแร่ และรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารสีดำหรือแดง เช่น น้ำแดง แตงโม ช็อคโกแลต เป็นต้น เพื่อเป็นการป้องกันการสับสนว่าลูกอาเจียนเป็นเลือดหรืออาหาร ติดตามอาการ ตามคำแนะนำของแพทย์ โดยเฉพาะช่วง 3-5 วัน หลังจากเริ่มมีไข้

หากมีอาการ มีเลือดออกตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ไข้ลดแต่อาการไม่ดีขึ้น อาเจียนมากและปวดท้องมาก ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ ตัวเย็น เหงื่อออก ตัวลาย กระสับกระส่ายตัวและริมฝีปากเขียวคล้ำ ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ปัสสาวะเลย มีอารมณ์แปรปรวน เช่น ซึมลง โวยวาย พูดจาหยาบคาย หรือก้าวร้า วทั้งที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ควรรีบพบแพทย์ทันที และในเด็กเล็ก (อายุต่ำกว่า 6 ขวบ) ถ้าปล่อยให้ลูกมีไข้สูงเป็นเวลานาน อาจทำให้ลูกเกิดภาวะชักจากไข้สูง (Febrile convulsion)ได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น