ประกวดชุมชนปลอดขยะ แก้วิกฤติขยะภาคเหนือ

นางสาวภาวิณี ปุณณกันต์ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวในระหว่างปฏิบัติราชการที่เชียงใหม่ว่า จากการที่ปัญหาขยะได้รับการยกระดับเป็นวาระแห่งชาตินั้น การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนต้องอยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของครัวเรืน ชุมชน ท้องถิ่น และกลไกสำคัญส่วนหนึ่งในการจัดการขยะชุมชนนั้นคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และสถานศึกษา

2.jpg

0..ภาวิณี ปุณณกันต์ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นกรมฯจึงได้ดำเนินโครงการประกวดชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) เฉลิมพระเกียรติ 89 พรรษา 89 ชุมชน ปี 2559 ขึ้น โดยสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนและภาคส่วนต่างๆ ดำเนินงานการจัดการขยะมูลฝอย โดยใช้หลัก 3Rs ชุมชนมีการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่เป้าหมายการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน
ด้านสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 เชียงใหม่ ระบุว่า หลักการลดการเกิดขยะ (Reduce)การใช้ซ้า (Reuse) การคัดแยกแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ยังคงเป็นแนวทางที่มีประสิทธฺภาพ ช่วยให้จำนวนขยะในชุมชนลดลงอย่างชัดเจน
1.jpg

สำหรับการประกวดโครงการชุมชนปลอดขยะ ปี 2559 นั้นเกณฑ์การพิจารณาตัดสินโครงการประกวดชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) เฉลิมพระเกียรติ 89 พรรษา 89 ชุมชน ปี 2559 ประกอบด้วย การสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น11คะแนน การมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนและภาคส่วนต่างๆ21คะแนน การดำเนินงานการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนปลอดขยะ โดยใช้หลัก 3Rs 45
คะแนน ผลสำเร็จของการดำเนินงานชุมชนปลอดขยะ45คะแนน ชุมชนมีการจัดการขยะมูลฝอยตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง11 คะแนนการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน11คะแนนรวม140 คะแนน
ในเกณฑ์การพิจารณาผลสำเร็จของการดำเนินงานชุมชนปลอดขยะ ที่มี คะแนนสูงพอๆกับหลักการ 3 R เป็นเพราะ 2 ส่วนนี้ เป็นหัวใจสำคัญ ที่องค์ความรู้ ความเข้าใจ ความมีวินัย และจิตสำนึกในการดาเนินกิจกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชน จากการถ่ายทอดของกรรมการชุมชน/คณะทำงาน และคนในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจด้านชุมชนปลอดขยะต้องสอดประสานกัน มีการคัดแยกแต่ละประเภทลงในภาชนะรองรับได้อย่างถูกต้อง มีการดำเนินกิจกรรมโดยยึดเอาข้อตกลงหรือกฎระเบียบในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โครงการฯระบุว่าตั้งแต่ 6 มิถุนายน 2559 ถึง 12 กรกฎาคมนี้ คณะทำงานประกอบด้วยนาวาเอกมนตรี ชูนามชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม (หัวหน้าคณะติดตามประเมินผล)นายปัณชญา พัฒนสุข นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม น.ส.มะลิวัลย์ พวงมณี นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ที่ปรึกษาโครงการ และน.ส. เกษร อินทะนิน ผู้ช่วยนักวิชาการสิ่งแวดล้อม จะลงพื้นที่ ลำพูน เชียงใหม่ ลำปาง พะเยา แพร่ เชียงราย เพื่อติดตามประเมินผลโครงการในแต่ละ อปท.
เช่น ในวันที่ 6 มิ.ย. 59 จะมีการติดตามประเมินผลบ้านดงมะปินหวาน ทต.ศรีเตี้ย ลำพูน วันที่ 7 มิถุนายน 2559ช่วงเช้าที่บ้านใหม่กาดเหนือ หมู่ที่ 20 ทต.บ้านธิ ช่วงบ่ายที่บ้านหนอกเงือก ทต.แม่แรง ลำพูน
วันที่ 9 มิ.ย. 59 ช่วงเช้า ติดตามประเมินผลบ้านห้วยม้าโก้ง หมู่ที่ 8 ทต.ป่าสัก ลำพูน บ่าย ติดตามประเมินผลบ้านป่าตึงงาม หมู่ที่ 3 บ้านทรายทอง หมู่ที่ 16 ทต.ป่าสัก ลำพูน วันที่ 10 มิ.ย. 59 ติดตามประเมินผลบ้านป่าเสร้าหลวง หมู่ที่ 6 ทต.สันปูเลย เชียงใหม่
11 มิ.ย. 59 ติดตามประเมินผลชุมชนบ้านหนองบัว หมู่ที่ 8 อบต.ม่อนปิ่น เชียงใหม่ ชุมชนบ้านหนองยาว หมู่ที่ 7 อบต.แม่สูน เชียงใหม่
3.jpg

0…ขยะในช่วงงานประเพณีเตียวขึ้นดอยสุเทพ..ช่วงวันวิสาขบูชาที่ผ่านมา…..

4.jpg

0…ไม่มีการคัดแยก..เป็นภาระเจ้าหน้าที่เทศบาลฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ปริมาณขยะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ กว่า 1,800 ตันต่อวันนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ยังคงใช้วิธีจ้างเหมาเอกชนนำไปฝังกลบ ในพื้นที่อำเภอฮอด เชียงใหม่ โดยมีงบประมาณบริหารจัดการแตกต่างกันตามพื้นที่รับผิดชอบของอปท.
6.jpg

กองช่างสุขาภิบาล สำนักการช่าง เทศบาลนครเชียงใหม่ ระบุว่า ในช่วงมีงานประเพณีเตียวขึ้นดอยสุเทพฯ ในช่วงวันวิสาขบูชาที่ผ่านมานั้น มีปริมาณขยะรวม 25.53 ตัน ได้รับความร่วมมือจากทต.ป่าแดด,ทต.สุเทพ ,ทต.ช้างเผือก และเทศบาลเมืองแม่เหียะ เข้ามาช่วยรวบรวมขนขยะมายังสถานีพักถ่ายขยะที่สุสานหายยา
5.jpg

0…ชุมชน ร่วมมือกันจัดการขยะในชุมชน

ล่าสุดคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564) มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) กำกับดูแลให้จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดทำแผนการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของจังหวัด และเน้นย้ำในการมีส่วนร่วม จัดการของขยะมูลฝอยในพื้นที่ร่วมกัน

ร่วมแสดงความคิดเห็น