สพป.ชม.เขต 2 ระดมพลังประชารัฐร่วมคิดให้เด็กไทยอ่านออกเขียนได้

B-9.jpg เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมาดร.รตนภูมิ โนสุ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 2 (สพป.เชียงใหม่เขต 2) เปิดการประชุมประชารัฐคิดแก้ไข ให้เด็กไทยอ่านออกเขียนได้ โดยได้กล่าวถึงเจตนารมณ์ของรัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการที่ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาต่อการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งปัจจัยที่จะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ของเด็กคือการอ่าน และการเขียน โดยนโยบายสำคัญปีการศึกษา 2558 เด็กนักเรียนจบชั้น ป.1 ต้องอ่านออกเขียนได้และมีมาตรการประเมินผลให้เป็นรูปธรรม ทุกคน โดยในครั้งนี้สพฐ.ก็ได้มาร่วมกันระดมพลังจากชุมชน ผู้ปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สาธารณสุข รวมทั้งผู้บริหารโรงเรียน ครู รวม 35 คนเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

B-10.jpg หลังจากกล่าวเปิดได้มอบให้นางสาวดารณี ประยูรวงษ์ ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้นำเสนอข้อมูลพื้นฐานจากการประเมินการอ่านออกเขียนได้จากกลุ่มตัวอย่าง 10 โรงเรียน พบว่า ป.1 นักเรียน ทั้งหมด 323 คน อ่านไม่ออก อ่านไม่ออกร้อยละ 23.21 เขียนไม่ได้ร้อยละ 29.41 ป.3 อ่านไม่ออก ร้อยละ 1.22 เขียนไม่ได้ 13.42 ป.6 อ่านไม่ออก ร้อยละ 3.74 เขียนไม่ได้ ร้อยละ 11.96 ต่อจากนั้น นายนริศว์ปรารมย์ จาก สำนักติดตามและประเมินสพฐ. ได้เชิญผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันแสดงความคิดถึง วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ปัญหา การอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ของโรงเรียน รวมทั้งมุมมองของผู้นำชุมชน ผู้ปกครองที่เข้าร่วม จำนวน 50 คน ซึ่งส่วนใหญ่ได้สะท้อนปัญหาที่พบ จากประสบการณ์

B-11.jpg โดยภาพรวมปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ว่ามีสาเหตุ นักเรียนเป็นชนเผ่า มีความหลากหลายต่างชาติพันธุ์ ผู้ปกครองย้ายถิ่นฐาน ครูไม่ครบชั้น ปัญหาครอบครัวการคงอยู่ของผู้บริหารโรงเรียนและปัญหาด้านครูที่ไม่ตรงสาขา ความเสียสละ มีการย้ายบ่อย ครูมีภาระงานมากไม่ได้อยู่โรงเรียนเนื่องจากต้องเดินทางไปประชุม อบรม ตามนโยบายมากกมาย นอกจากนี้ คือหลักสูตร และความบกพร่องทางตัวเด็ก ดังเช่น ผบ.ปางห้วยตาดได้แสดงความเห็นว่า การทำให้ปลอดเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ เลยนั้นต้องอาศัยเวลา และการทำงานของครูต้องมีความสุข เพราะครูก็ต้องสนองนโยบายมากมายส่วนนายธนิต อินทานุวัฒน์ผอ.โรงเรียนบ้านแม่ปาคี ได้กล่าวว่า ตนมีความเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนที่เกิดมาสามารถเรียนรู้ได้ ปัจจัยที่ส่งผลอยู่ที่ตัวครู

B-12.jpgซึ่งครูในโรงเรียนบ้านแม่ปาคี กล่าวถึงวิธีการสอนของครูว่า เริ่มต้นจากการสอนโดยสื่อ ของ สพฐ.และสื่อมัลติพอยท์ การเขียนตามคำบอก ส่งการบ้าน กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันด้วยการเสริมแรง ภาษาสื่อสารในห้องเรียน ต้องภาษากลาง เราต้องวางพื้นฐานในห้องเรียน เริ่มต้นอาจยาก แต่ต่อไปก็จะดีขึ้น ที่อ่านไม่ออกมาจากเด็กทางด้านนายสิทธิศักดิ์สุวรรณโชติ ผอรร ได้กล่าวถึงหลักสูตรการเรียน เริ่มตามลำดับได้ไม่ต้องใช้หนังสือมากมาย ราคาแพง บางทีก็สอนไม่ครบ ครูที่ภาษาไทยสามารถสอนทั้งวันได้ ทุกวิชา ทุกชั่วโมง .ในขณะที่ ผอ.แม่ตะมาน กล่าวว่า นักเรียน.เด็กที่ผ่านการเตรียมความพร้อม สามารถอ่านออก เขียนได้ดีกว่า อย่างไรก็ตาม ในส่วนของครูนิตยา มุสิกดิลก ผู้สอน โรงเรียนสันทรายหลวงได้กล่าวถึงเทคนิคการจัดกิจกรรมการสอนต้อง สร้างแรงจูงใจ ไม่ดุด่า นำผู้ปกครองมามีส่วนร่วม ก็คืออีกหนึ่งวิธีการสอนที่ใช้ได้ผล

กรศิริ กรองสุดยอด
นักประชาสัมพันธ์ สพป.เชียงใหม่เขต 2: รายงาน

ร่วมแสดงความคิดเห็น