เชียงใหม่ผิดหวังอดชมปรากฎการณ์ดาวอังคารใกล้โลก หลังฝนกระหน่ำ ท้องฟ้าปิด

Mars 2016

ช่วงค่ำของวันที่ 31 พ.ค.59 ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ดาวอังคารใกล้โลกในรอบ 11 ปี ที่จังหวัดเชียงใหม่ต้องพบกับความผิดหวัง เนื่องจากมีฝนตกลงมาในช่วงหัวค่ำและตกอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งคืน โดยประชาชนและผู้สนใจที่ใจจดใจจ่อรอชมปรากฎการณ์ในวันนี้ต่างตั้งตารอคอย แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนัก แต่ก็ยังลุ้นให้ฟ้าหลังฝนเป็นใจเปิดโล่งให้ได้เห็นปรากฎการณ์ดังกล่าวนานหลายชั่วโมง จนสุดท้ายต้องถอดใจและผิดหวังไปตามๆ กัน ขณะที่ในส่วนของ สดร. เองได้ทำการตั้งจุดสังเกตการณ์หลัก 3 จุด เชียงใหม่ โคราช และ ฉะเชิงเทรา

สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ จัดบริเวณลานน้ำพุ หน้าศูนย์การค้าเมญ่าเชียงใหม่ มีฝนตกลงมาตั้งแต่ช่วงเย็นจนถึงดึก จึงไม่สามารถจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ได้ รวมถึงที่หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ก็มีฝนเทลงมาตั้งแต่ช่วงกลางวันยาวต่อเนื่องถึงช่วงเย็นอย่างไม่ขาดสาย ประชาชนที่ทราบข่าวและตั้งใจมารอชมต่างผิดหวังไปตาม ๆ กัน แต่สำหรับหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา แม้ฝนตกลงมาในช่วงเย็น แต่หลังจากนั้นเวลาประมาณทุ่มครึ่งฝนหยุดตก ฟ้าเริ่มเปิด ดาวอังคารและดาวเสาร์ โผล่ทะลุเมฆมาให้ประชาชนได้ชมกันอย่างเต็มตา ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณกลุ่มดาวแมงป่อง และในคืนนี้เราได้เปิดกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ไว้บริการประชาชนด้วย สามารถดูดาวอังคารและดาวเสาร์ผ่านช่องมองภาพของกล้องโทรทรรศน์ดังกล่าว ซึ่งจะมองเห็นรายละเอียดพื้นผิวของดาวอังคารและวงแหวนของดาวเสาร์ได้อย่างชัดเจน

04สำหรับเครือข่ายจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ หลายพื้นที่ส่วนใหญ่พบว่ามีฝนตกลงมาทำให้สภาพท้องฟ้าไม่เอื้อต่อการสังเกตการณ์ แต่ก็มีบางจังหวัด เช่น น่าน พะเยา นครพนม สงขลา ที่สภาพท้องฟ้าเปิด ไร้ฝน สามารถจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ดาวอังคารใกล้โลกในคืนดังกล่าวได้ มีประชาชน นักเรียน ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก
ขณะที่ทางด้าน ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า “หลังจากดาวอังคารโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ที่ระยะห่าง 76.31 ล้านกิโลเมตร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา จนกระทั่งจะเข้าใกล้โลกมากที่สุด ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 ที่ระยะห่าง 75.28 ล้านกิโลเมตร เป็นการโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 11 ปี ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา และหลังจากนี้ดาวอังคารจะโคจรห่างออกไปเรื่อย ๆ เรายังคงสามารถสังเกตเห็นดาวอังคารปรากฏอยู่บนท้องฟ้าได้อย่างชัดเจน แต่ความสว่างจะค่อยๆ ลดลง และจะโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดครั้งต่อไปอีกประมาณ 2 ปี ข้างหน้า คือในวันที่ 31 กรกฎาคม 2561 ดาวอังคารจะห่างจากโลกที่ระยะทาง 57.59 ล้านกิโลเมตร ซึ่งเป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 15 ปี ด.ช.ชวกร จรัสด้าน ด.ช.ชวกร จรัส นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หนึ่งในผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ตั้งใจมาดูดาวอังคารโดยเฉพาะ ทราบกิจกรรมจากแฟนเพจ NARIT จึงชักชวนเพื่อนมาร่วมกิจกรรมนี้ เพราะอยากเห็นดาวอังคารชัด ๆ ผ่านกล้องโทรทรรศน์ เสียดายที่วันนี้ฝนตก แต่หาก สดร. จัดกิจกรรมอีก จะมาร่วมอีกแน่นอน

ร่วมแสดงความคิดเห็น