ส่องอนาคตเชียงใหม่ เสน่ห์เมืองที่ยังคงอยู่

1.jpg (1)“เมืองเชียงใหม่นี้เหมือนหนึ่งเป็นเพชรซึ่งประดับมงกุฎของเมืองไทย ถ้ามงกุฎปราศจากเพชรประดับก็จะไม่ผ่องใสงดงามได้…” พระราชดำรัสความตอนหนึ่ง ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ รัชกาลที่ 5

เชียงใหม่ มีองค์ประกอบสำคัญที่เป็นจุดขายในการตลาดท่องเที่ยวโดยผลศึกษา คณะเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สรุปข้อมูลตรงกันว่า “ความคุ้มค่า ในการเดินทางมาพักผ่อน และครบถ้วนทุกความต้องของ..เสน่ห์ของเชียงใหม่”

2.jpg (1)สอดรับกับตัวของที่กรมการท่องเที่ยวรวบรวมไว้ ในช่วงปี 57-58 พบว่า อัตราการท่องเที่ยวของเชียงใหม่ เป็นไปแบบก้าวกระโดดจากปี 2554 เฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน ซึ่ง น่าจะเป็นตลาดหลักของเชียงใหม่ไปแล้ว พุ่งทยานจากตัวเลข 4 หมื่นกว่าคน เป็น 480,000 ในปี 57 และเพิ่มอีกเท่าตัวในปีที่ผ่านมา ตัวเลขล่าสุดในเดือนที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มตลาด เติบโตขยายตัวเกินเป้าหมายเฉพาะกลุ่มจีนอยู่ที่ 29 % ทั้งยังมีแนวโน้มว่า จำนวนนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ จะเข้ามาเที่ยวเชียงใหม่ ในไตรมาสที่ 3-4 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

3.jpg (1)นอกจากนั้น ในมุมมองของ “วิสูตร บัวชุม”ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ ประเมินแนวโน้มการตลาดโดยรวมที่มีแผนบูรณาการตลาดของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1กิจกรรม การท่องเที่ยวในปีหน้า คาดว่าจะส่งผลให้ เชียงใหม่มีรายได้เพิ่มราวๆ 3 พันล้านบาท
ทั้งนี้กระทรวงการท่องเที่ยวฯประเมินว่า จากตัวเลขรายได้ภาคการท่องเที่ยวและบริการ ในรอบปีที่ผ่านมา ตัวเลขสูงถึง 2.5 ล้านล้านบาท

จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มากกว่า 29 ล้านคน คาดว่า ในปี 2560 นั้นจะมีรายได้เพิ่มเป็น 2.6 ล้านล้านบาท นักท่องเที่ยวเกิน 30 ล้านคนแน่นอน เพราะถ้าตัวเลขในช่วงต้นปีถึงพฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่านักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวไทยมากที่สุด คือจีนสูงถึง 3.67 ล้านคน เพิ่มขึ้น 25.7% เกาหลีใต้ 5.54 แสนคน เพิ่มขึ้น 14.03% ญี่ปุ่น 5.25 แสนคนเพิ่มขึ้น 3.88% รัสเซีย 4.67 แสนคน เพิ่มขึ้น 17.14% และอินเดีย 3.9 แสนคน เพิ่มขึ้น 10.71%

10.jpg จังหวัดเชียงใหม่ รายได้จากภาคการท่องเที่ยวในปีนี้น่าจะขยับมาถึงแสนล้านบาทได้ไม่ยาก เนื่องจากยังเป็นเป้าหมายในการเดินทางมาพักผ่อน ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ

8.jpg (1)

หากเจาะลึก ความโดดเด่นที่เป็น”เสน่ห์เมือง”ของเชียงใหม่ ผลวิจัยเชิงเศรษฐศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี 57 ระบุสาระบางส่วนว่า ปัจจัยดึงดูด มาจาก การประกอบกันของ ทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว
ภูมิประเทศ ทำเลที่ตั้ง สิ่งอำนวยความสดวกสบาย และประเพณี วัฒนธรรม ที่มีน่าสนใจ น่าสัมผัส รวมถึงค่าครองชีพ ความคุ้มค่าในการใช้จ่าย สามารถเลือกได้ตามความต้องการ

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรตระหนักให้มากกว่านี้ ในอนาคตคือ “การพัฒนา ปรับเปลี่ยน เพื่อรองรับความสดวกสบายของกลุ่มตลาดอาจจะกลายเป็นความผิดพลาด ที่นำไปสู่ผลกระทบ ในชุมชน เพื่อการท่องเที่ยวได้” อย่าลืมว่า จังหวัดเชียงใหม่ มีสถานฑูต และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ เพื่อพิทักษ์ คุ้มครอง อำนวยความสดวก และประสานงานร่วมกับหน่วยงานราชการในท้องถิ่น
จนสร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เป็นอย่างมาก มีจำนวนมากกว่าจังหวัดใดๆในภูมิภาค

สรรสร้างอาคารที่พัก ในย่านเขตเมืองเก่ามากไป จนเริ่มแยกไม่ออกว่า..ตรงไหนวัด..ที่ไหนโรงแรม..แล้ว
สรรสร้างอาคารที่พัก ในย่านเขตเมืองเก่ามากไป จนเริ่มแยกไม่ออกว่า..ตรงไหนวัด..ที่ไหนโรงแรม..แล้ว

โดยความหมายของการเดินทางมาพักผ่อน ท่องเที่ยวนั้น เริ่มมีรูปแบบที่ขยายตัวไปถึงภาคบริการ ทั้งในด้านสุขภาพ ด้านสังคม เช่น การจัดการประชุม สัมมนา การแต่งงาน หรือกิจกรรม ระหว่างประเทศด้วย จังหวัดเชียงใหม่มีโรงแรมที่พัก สถานที่จัดประชุมขนาดใหญ่เพียงพอในทุกกิจกรรม และการพัฒนาด้านคมนาคม ขนส่ง ระบบโลจิสติกส์ รวมถึง ทรัพยากรบุคคลที่รองรับ การสื่อสาร ติดต่อระหว่าง กลุ่มตลาด นักท่องเที่ยวที่หลากหลาย ทำให้เชียงใหม่ มีสถานศึกษาจำนวนมาก ที่เปิดการเรียน การสอนในสาขา วิชาการด้านนี้ เพื่อรองรับธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจการบิน

แต่อุปสรรคปัญหา ที่ภาคธุรกิจ นำเสนอ ให้เกิดความยั่งยืน ด้านการท่องเที่ยวเชียงใหม่นั้น คือ มาตรฐานการบริการ และความรับผิดชอบร่วมกันในการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวที่กลายเป็น”อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” และกลายเป็นรายได้หลักของประเทศ ของเชียงใหม่ไปแล้วด้วย

แบบนี้ก็มีให้เลือกมากไป..แค่ซอยเดียว..กัน
แบบนี้ก็มีให้เลือกมากไป..แค่ซอยเดียว..กัน

การท่องเที่ยวในชุมชน เป็นจำนวนมาก ยังไม่พร้อมรองรับ ภาคการท่องเที่ยว อุปสรรคสำคัญคือ วัฒนธรรม วิถีถิ่นที่เปลี่ยนแปลงไปมีชุมชนเป็นจำนวนมาก ยังมีความอึกทึก ครึกโครม ในแบบงานบุญงานประเพณีที่เรียกกันว่า ชุมชนคาราโอเกะ ,ชุมชนบันเทิง

ปรากฎการณ์เหล่านี้ ทำให้วัฒนธรรมประเพณีที่งดงาม เป็นเพียงงานเทศกาลรื่นเริง ประจำถิ่นไป เพราะขาดความใส่ใจ ร่วมกัน ดูแล รักษา ประเพณี ของดีชุมชนให้คงอยู่ สิ่งอำนวยความสดวก ที่เพียบพร้อมมากเกินไปในกิจกรรมเสริม เพียงเพื่อดึงดูด ให้นักท่องเที่ยว เกิดการใช้จ่าย ทั้ง ร้านค้า จำหน่ายสินค้า เครื่องดื่ม อาหาร การก่อสร้าง อาคาร สถานที่พักรูปแบบต่างๆ

ตลอดจนกิจกรรมอื่นๆที่บุกเบิก สร้างสรรค์ในแหล่งธรรมชาติ จนลืมเลือนไปว่า นั่นคือ สิ่งทำร้ายความงดงาม ความทรงคุณค่าของท้องถิ่นไป โดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มิหนำซ้ำ การเดินทาง ในเขตเมืองที่แออัดไปด้วยยวดยาน พาหนะ ที่นับวันจะเป็นปัญหา หากไม่เร่งรีบ วางแผนจัดการ ขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ และต้องเลือกพัฒนา ให้เด่นชัดว่า เป็นไปเพื่อรองรับสังคมเมือง ตามปกติ หรือเพื่อการท่องเที่ยว เพราะไม่เช่นนั้น แทนที่จะกลายเป็นการนเพิ่มสิ่งอำนวยความสดวกให้นักท่องเที่ยวอาจกลายเป็นว่า เพิ่มจำนวนยานพาหนะบนเส้นทางสัญจร ที่มีน้อยอยู่แลวให้รถติดเพิ่มมากขึ้น

12.jpg

เสน่ห์เมือง…เชียงใหม่ ไม่สูญหาย ถ้าไม่ทำลายความงามของเมืองที่ทรงคุณค่าชาวเชียงใหม่ ร่วมกัน ดูแล รักษา สืบสานปกป้อง และสร้างสรรค์เมืองในวิถีที่สอดรับกับ…ภูมิสังคม

ศิริ อันทรินทร์ รายงาน

ร่วมแสดงความคิดเห็น