ข่วงหลวงเชียงใหม่ ไปถึงไหนกันแล้ว…วันนี้

คุ้มหลวงเวียงแก้ว เคยเป็นคุ้มเจ้าหลวง แห่งนครเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 1 เปรียบเสมือนวังแห่งราชอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ในอดีต

ในสมัยพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 บริเวณนี้ถูกแปรสภาพเป็นคุก ตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ขณะนั้นนครเชียงใหม่มีข้าราชการจากส่วนกลางคือ พระยานริศราชกิจ มากำกับดูแล ได้ทำการรื้อหอคำหลวง สร้างเป็นเรือนจำกลางเมืองจนกระทั่งกลายเป็นทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ในเวลาต่อมา จนกระทั่งธันวาคม พศ.2555 ทัณฑสถานหญิงฯย้ายไปอยู่ที่เรือนจำกลางแม่หยวก หลังจากนั้น เรือนจำแห่งนี้ได้ถูกจัดวางให้ทำหน้าที่ “พื้นที่สาธารณะประโยชน์”ใจกลางเมืองบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

1.jpgตั้งแต่มกราคม พศ.2556-57 ความเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคม ในเชียงใหม่ กับแนวคิด” ข่วงคิดข่วงหลวง“ช่วยกันทำ มีการขับเคลื่อนเวที เสวนา ระดมความคิดเห็น ควบคู่ไปกับ กิจกรรม โครงการต่างๆอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีหลากความคิดเห็นมุมมองที่พรั่งพรู สู่การปรับเปลี่ยน พื้นที่ราวๆ22 ไร่

หากมองจากมุมสูง จะพบว่าบริเวณรายรอบพื้นที่ “คุ้มหลวง -เรือนจำหญิง-” มีการพัฒนา ใช้พื้นที่ตามยุคสมัย ด้านทิศใต้ซึ่งมีถนนคั่นกลางด้านหน้าทัณฑสถานฯ เป็นอาคารที่ว่าการอำเภอเมือง ซึ่งขณะนี้กำลังก่อสร้างอาคารหลังใหม่บริเวณศูนย์ราชการ

2.jpg
ด้านทิศตะวันตก มีอาคารบ้านเรือน และวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ ด้านทิศเหนือ ด้านทิศตะวันออก เป็นชุมชน อาคารบ้านเรือน และสำนักงานยาสูบและวิทยาลัยอาชีวศึกษา เชียงใหม่

ถ้ามองในผังรวม อาณาบริเวณ คุ้มหลวงเดิม จะเห็นเป็นพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล จรดเชียงมั่นวัดแห่งแรกในเวียงเชียงใหม่

วัดหัวข่วง ที่มีคติความเชื่อในการประกอบพิธีสำคัญ หรือ บริเวณด้านหลังลานราชานุสาวรีย์ 3 กษัตริย์ที่เคยเป็นศาลากลาง มณฑลพายัพ ที่ปัจจุบันกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เชียงใหม่ไปแล้ว

9.jpg
เปิดเวทีเสวนากันมาหลายยก ท้ายที่สุดก็มุ่งไปที่ สืบค้นหาอดีตแล้วสงวนรักษาเพื่อการท่องเที่ยว

การเชื่อมโยง พื้นที่ เรือนจำหญิงเดิมให้ เป็นพื้นที่ มีความเหมาะสมกับยุคสมัย โดยเวที เสวนา แลกเปลี่ยนมุมมองของการ พัฒนาพื้นที่แห่งนี้ บางมุมตั้งธงไปที่ การชำระประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ด้วยการขุดค้น หาร่องรอยหลักฐานทางโบราณคดี แล้วสงวนรักษา จัดแสดง พื้นที่บางส่วน ในพื้นที่สาธารณะ เพื่อย้ำเตือนถึงรอยอดีตที่ผ่านมา

11.jpg

ท่ามกลาง การค้นหาความเป็นไป ในการรื้อคุ้มหลวง สร้างเรือนจำ มีเหตุผลใดแอบแฝง แต่บางส่วนกลับมองว่า อดีตที่ผ่านมาเพียงร้อยปีเศษ กับวันเวลาของเมืองเก่าแก่ ที่มีประวัติศาสตร์ ถึงวันนี้กว่า 720 ปีนั้น การรังสรรค์ สร้างให้เป็น สวนสาธารณะ มีพื้นที่ ใช้สอย ร่วมกัน โดยรองรับ ความเป็น ปอดกลางเมือง เป็นลานกิจกรรมขนาดใหญ่ เพื่อการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม น่าจะมีความลงตัวมากกว่า อนุรักษ์อดีตแบบ หนามยอก..อก…

เพราะจากการสืบค้น คุ้มเจ้าหลวงในเวียงเชียงใหม่ ที่ปรากฎหลักฐาน 25 แห่งนั้น คุ้มเวียงแก้ว มีภาพฉายชัดถึง การรื้อถอนแล้วสร้างเป็นทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ เด่นชัดที่สุด

หากตั้งคำถาม กับชาวเชียงใหม่..คนเมืองนี้..ย่อมไม่ตกหลุมรักอดีต…แต่คงต้องการให้อดีตคุ้มเจ้าหลวง…บริเวณศูนย์กลางแห่งอำนาจ บริเวณที่เชื่อว่า เป็นชัยมงคลดีที่สุด สำหรับผู้ครองนครแปรเปลี่ยนเป็นพื้นที่มงคลแห่งชีวิต ของทุกๆคน ทีมีโอกาส ก้าวเข้าไป ยังพื้นที่ตรงนี้ ในอนาคต กับรูปแบบ ที่มีการจัดประกวด รูปแบบ โครงการ

โดยแบบแปลน “เผยแผ่นดิน..สู่ถิ่นเวียงแก้ว” ชนะใจ ผู้คนที่ร่วมคัดเลือก แบบร่างโครงการที่จะเกิดการพัฒนาในอนาคต

3.jpg

4.jpg
แบบร่าง..ที่ต้องใจชาวเชียงใหม่ส่วนใหญ่

5.jpg

7.jpg

8.jpg
แบบร่างที่เข้าร่วมประกวด

จังหวัดเชียงใหม่ได้รับจัดสรรงบประมาณ 150 ล้าน บาท เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาข่วงหลวงเวียงแก้ว
โดยขอใช้พื้นที่ราชพัสดุ แปลงที่ ชม.1612 ซึ่งเป็นทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ (เดิม) ความล่าช้าของ โครงการ “ข่วงหลวงเวียงแก้ว” สะดุด หยุดชลอไป เพราะขาดความต่อเนื่อง หรือมีอุปสรรคปัญหาใดนั้น มีคำตอบชัดเจนแล้วว่า เพราะเหตุใด…ต่างฝ่าย ต่างมีแบบร่างที่ต้องการ สร้างสรรค์

แตกต่างจาก ชาวเชียงใหม่ ที่ตั้งธงกันชัดๆว่า ” อดีต ปัจจุบันต้องอยู่ร่วมกัน ในอนาคต ” เป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ที่ทุกๆคนมีสิทธิ์ใช้ร่วมกันได้ ไม่ใช่พื้นที่เฉพาะ เพื่อหน่วยงาน องค์กรใดๆ ในเป้าหมายเพียงเพื่อ สร้างมูลค่าเพิ่มจากต้นทุนที่ ทรงคุณค่า บนแผ่นดิน…ตรงนี้…ข่วงหลวง เวียงแก้วเชียงใหม่

ขอบคุณ ข้อมูล – ภาพ : สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ ,เครือข่ายพิพิธภัณฑ์กลางเวียงเชียงใหม่ , สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,สำนักวัฒนธรรม เชียงใหม่ และเทศบาลนครเชียงใหม่ 

ร่วมแสดงความคิดเห็น